12 ธ.ค. 2019 เวลา 08:52
ความเข้าใจ การใช้คลื่นความถี่สำหรับ 5G ของประเทศไทย
(Disruptive Technology EP9)
คนไทยทุกคนอยากจะมี 5G ใช้โดยเร็ว
แต่หลายท่านยังไม่เข้าใจดีนัก เกี่ยวกับการนำคลื่นความถี่มาใช้สำหรับ 5G
ตารางประมูลคลื่น
ตามข่าวของประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562
ที่ กสทช. กำลังจะเปิดประมูลคลื่น 5G ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
ขอให้เครดิต ประชาชาติธุรกิจ ที่มีตารางอธิบายคลื่นความถี่สำหรับ 5G
แต่เนื้อข่าว ไม่ได้อธิบายการนำคลื่นความถี่มาใช้อย่างไร
ผมเห็นสมาชิก Blockdit บางท่านอยากรู้เรื่องนี้ แต่ยังไม่มีแหล่งข้อมูลที่อธิบายเรื่องยากให้้เข้าใจได้ง่ายเท่าไร
ผมจึงขอลองอธิบายในแนวของผม อ่านแล้วอาจจะงงกว่าเดิม ...555
1. Operators เช่น AIS, True, DTAC, TOT และ CAT มีคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการ 2G, 3G และ 4G อยู่แล้ว ในขณะนี้ คือ
( 700MHz, 850MHz, 900Mz, 1800MHz, 2100MHz และ 2300MHz )
2. โทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็น 3G, 4G, 2G และ 5G
(เรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย) ในประเทศไทย นะครับ
- 3G เยอะที่สุด ส่วนใหญ่จะแบตเสื่อมก่อน พอเปลี่ยนเครื่อง ก็จะกลายเป็นเครื่องรุ่นใหม่รองรับ 4G ได้แล้ว
- 4G กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะมากที่สุด แทนที่ 3G
- 2G กำลังจะหมดไป ตอนนี้เหลืออยู่แค่หลักแสนเครื่อง
- 5G คือ รุ่น Top ของโทรศัพท์แต่ละ Brand และมีขายในไทยไม่กี่รุ่น แต่เดี๋ยวก่อน เครื่องนั้นรองรับคลื่นที่ตรงกับ กสทช.จัดสรรฯ หรือเปล่า
The forecast for 2,3,4 and 5G
ภาพรวมทั่วโลกจาก Blog ใน IEEE Web สิ่งที่กราฟบอก จะเห็นว่า
- 4G สับตะไคร้ ยังแรงต่อไป.. (4G Subscribers)
- 2G และ 3G จะลดลงมาเรื่อย และจะปิดบริการไป
- 5G สถานการณ์จริง จะแรงกว่าในกราฟ เพราะเป็นการพยากรณ์ เมื่อปีกว่าๆ แต่ Huawei และ Vendors ต่างๆ ผลักดัน 5G ให้เกิดเร็วกว่าฝากฝั่งอเมริกาอยากให้เป็น
ส่วนของประเทศก็ใกล้เคียง ต่างกันที่จุดตัดต่างๆ คนละเวลากับทั่วโลก
3. กสทช. ได้มีการจัดสรรคลื่นย่าน 700MHz สำหรับ 5G ให้กับ AIS, True, DTAC ทั้ง 3 รายไปแล้ว ทำรายได้เข้ารัฐไป 5.6 หมื่นล้านบาท เมื่อต้นปีนี้
ปัจจุบัน ยังไม่มีโทรศัพท์ 5G ที่รองรับคลื่น 700MHz ขายในไทย แต่อีกไม่นาน เดี๋ยวก็มี (ซื้อโทรศัพท์ Check คลื่นที่รองรับด้วยก็ดีครับ)
4. ทุกคลื่นความถี่เดิมที่ Operators มีอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ทำ 5G ได้ ถ้าเป็นที่นิยมของประเทศส่วนใหญ่ในโลก ตรงนี้ขึ้นกับการผลิตโทรศัพท์มือถือรองรับ 5G ด้วย โรงงานเขาก็อยากผลิต Spec เดียวขายได้หลายประเทศ
5. พัฒนาการการใช้คลื่นความถี่สำหรับ 5G
- ตามข้อที่ 1 อีกไม่กี่ปี Operators ก็จะทยอยปิดบริการ 2G และ 3G ตามลำดับ แล้วนำคลื่นความถี่นั้น มาใช้สำหรับ 5G ได้
- หากได้คลื่นมาจากการประมูล หรือจากการปิดบริการ 2G และ 3G จะถูกแบ่งมาใช้สำหรับ 4G ด้วย (เพราะลูกค้า 4G เติบโตเรื่อยๆ)
- มีเทคโนโลยี สามารถมาปรับโครงข่ายให้บริการได้ทั้ง 4G และ 5G ในคลื่นความถี่เดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการ รองรับ 4G หรือ 5G มากกว่ากัน (4G & 5G Dynamic Service)
ปัจจุบัน ถ้าติดตั้งโครงข่าย 3G ก็ให้บริการ 3G อย่างเดียว ถ้าติดตั้งโครงข่าย 4G ก็ให้บริการ 4G อย่างเดียว แต่เทคโนโลยีใหม่สามารถติดตั้ง 4G และ 5G พร้อมกันได้ เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ และลดการลงทุนซ้ำซ้อน
1
6. การเริ่มต้นให้บริการ 5G จึงเป็นเรื่อง Branding ของ Operator
เป็นภาพพจน์ เป็นเรื่องของการตลาด เป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาล เป็นเรื่อง Capital Gain ในตลาดหลักทรัพย์
แม้จะมีการให้บริการ 5G ไปแล้ว ลงทุนอย่างมหาสารไปแล้ว จ่ายทั้งค่าคลื่นและค่าติดตั้งโครงข่ายไปแล้ว
แต่ว่า โทรศัพท์มือถือรองรับ 5G และอุปกรณ์ IoT ยังน้อยมากๆ ในช่วงแรก
Use case ต่างๆ AR, VR, 8K, hologram, IoT, Smart City, Smart โน้นนี่นั้น ยังมาไม่ทัน 5G จึงต้องเป็นเรื่องของ Branding ไปก่อน
1
ที่จะบอกคือ ยังไม่ได้มีความต้องการ แถบความถี่ (Bandwidth) สำหรับ 5G แบบกว้างๆในช่วงแรก หรือในปีหน้า (ปีต่อไป จึงจะต้องการมากขึ้น)
สิ่งที่คิด กับชีวิตจริงนั้นต่างกันเสมอ
เราทุกคนอยากให้ 5G ช่วยผลักดันความก้าวหน้าเทคโนโลยีภายในประเทศ
แต่ถ้าผู้ใช้บริการ 4G ยังโตไม่หยุด Operators ก็ต้องใช้คลื่นความถี่ย่านต่างๆที่มี ใช้รองรับลูกค้า 4G กลุ่มใหญ่ที่สุดก่อน (ตามที่กราฟพยากรณ์)
5G ของจริงแบบสมบูรณ์ ต้องใช้เวลานานพอสมควร
7. คุณสมบัติของคลื่นความถี่ในแต่ละกลุ่ม
- กลุ่มความถี่ต่ำ เช่น 700MHz, 850MHz และ 900MHz ส่งได้ไกล คลื่นเลี้ยวหลบได้ ทะลุทะลวงดี ประโยชน์เพื่อไม่ให้ขาดการติดต่อ เหมาะกับภูมิประเทศที่กว้างๆอย่างสหรัฐอเมริกา
ข้อเสีย คือ โทรศัพท์มือถือต้องใช้กำลังเยอะ กินแบตเตอรี่ ไม่เป็นที่นิยมของประเทศทั่วไปที่มีโครงข่ายโทรศัพท์แน่นแล้ว (> 98% pop. cov.)
ลองนึกภาพ 2G แต่ก่อน มีมือถือ GSM 2Watt กำลังส่งอย่างแรง แล้วตั้งเสาต้นสูงๆ 30-45m ตั้งเสาต้นเดียวก็ส่งไปได้ไกลเป็นสิบกิโลเมตร
เราผ่านจุดนั้น จนมาถึงยุค 3G, 4G แล้ว เสาสูงเกิน 30m หายากแล้ว ถ้าตั้งเสาสูงเกิน ความถี่ก็กวนกันอีก นี่คือเหตุผลที่ กลุ่มความถี่ต่ำ ราคาถูกไม่เป็นที่นิยม สำหรับ 5G
- กลุ่มความถี่กลาง เช่น 1800MHz, 1900MHz, 2100MHz ย่านนี้เหมาะมาก ที่จะนำมาทำแบบ 4G & 5G Dynamic Service
Operators แก้ปัญหาช่องสัญญาณ 4G เต็มได้ด้วย และค่าคลื่นความถี่ไม่แพงเหมือนตอนประมูล 3G & 4G
- กลุ่มความถี่สูง และสูงมาก เช่น 2600MHz และ 26GHz เมื่อเป็นความถี่สูงจึงมีแถบความถี่ (Bandwidth) กว้างมาก มีให้ใช้หลายชุดๆละ 100MHz เพื่อรองรับบริการ Enhance Mobile Internet สำหรับ 5G โดยเฉพาะ ให้ทำ Speed ถึง 2Gbps ต่อ user
1
แต่เดี๋ยงก่อน ชีวิตไม่ได้ง่ายอย่างนั้น การออกแบบโครงข่ายเพื่อให้บริการแบบนี้ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องอยู่ในรัศมี 200m ปัจจุบัน 3G, 4G ไม่ได้มีเสาแบบนั้น ถี่สุดๆก็ 500m
ดังนั้น แม้ได้คลื่นกลุ่มความถี่สูง และสูงมากมา ใช้ว่าจะให้บริการได้ง่ายๆ การตั้งเสาถี่ๆ ติดตั้งเพิ่มที่ใหม่หลายๆจุด อาจจะบน Smart Pole และตามขอบอาคาร ต้องใช้เวลานานพอสมควร
เทคโนโลยี 4G สามารถใช้หลายๆ คลื่นความถี่พร้อมๆกันได้ ที่เรียกว่า CA: Carrier Aggregation รับหลายๆคลื่นความถี่จากสถานีเดียว
คือการรับส่งหลายๆท่อสัญญาณที่มาจากหลายๆคลื่นความถี่แบบพร้อมกัน
เพื่อ Double หรือ Triple Speed ของการรับส่งข้อมูล
แถมยังมี Inter-Site CA รับหลายๆคลื่นจาก 2 สถานี (หลายคลื่น และจากหลายสถานี)
ยิ่งทำให้ Speed โดยรวมสูงขึ้นไปอีก หรือเพิ่ม User Experience ให้ดีขึ้น
เทคโนโลยี 5G ทำได้มากกว่า 4G (Inter-Site CA) โดยเปลี่ยนวิธีการรับส่งจากเดิม FDD เป็น TDD ที่ใช้แถบความถี่ที่กว้างเท่ากันเลย แต่ 5G เพิ่ม Speed ได้สูงกว่า 4G ด้วย
อีกทั้ง 5G เติมคลื่นความถี่ใหม่ๆเข้าไปอีกหลายๆช่อง และแถบความถี่กว้างแบบสุดๆ ตามที่ กสทช.เปิดประมูล
ในวันที่เปิดบริการ 5G แบบครบทุกกลุ่มคลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้บริการ 5G
จะได้รับประสบการณ์ Extra Speed & Low Latency แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
สนใจเทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนโลก
โปรดติดตาม Disruptive Technology EP ต่อไป
ได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา