Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Work Life Win Win
•
ติดตาม
8 ม.ค. 2020 เวลา 00:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Starlink ดาวรุ่ง หรือดาวร่วง ตอน4 (Disruptive Technology EP10)
** ดาวเทียม หรือจะสู้ 5G ภาคพื้นดินได้ ไม่มีทางเป็นไปได้เลย **
ไม่ใช่แค่ Iridium โครงการโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม LEO
ยังมี ACeS โครงการโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม GEO เมื่อ 20 ปีก่อน
1
Starlink & Space X
Iridium & ACeS ทั้ง 2 โครงการนี้ ได้เปิดบริการแล้ว และขาดทุนยับไปแล้ว
(ผมเคยทำงานกับทั้ง 2 บริษัทนี้)
ยังมี Odyssey โครงการโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม MEO: Medium Earth Orbit วงโคจรระดับกลาง ในยุคเดียวกับ Iridium
และ
Internet.org
โครงการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมของ Mark Zuckerberg เจ้าของ Facebook
Odyssey &
Internet.org
เป็น 2 โครงการที่ แท้ง ก่อนที่จะเปิดบริการ
หรือพูดอีกอย่าง
ยังไม่มีโครงการใด ที่ให้บริการโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ที่ให้บริการตรงกับผู้บริโภค (Consumer) หรือ B-to-C แบบครอบคลุมทั้วโลก
แล้วประสบความสำเร็จทางธุรกิจเลย
ทำไมโครงการโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม จึงไม่ประสบความสำเร็จ แล้วสิ่งที่ Starlink ต้องเผชิญ แล้วต้องแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า คืออะไร
ผมสรุปปัญหาหรืออุปสรรคสำคัญ มีดังต่อไปนี้
1. ระยะทาง ผู้ใช้และโครงข่าย (User & Network) ห่างไกลเกินไป
2. ผู้คนส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในอาคาร
3. ใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ในหลายๆประเทศ
4. ดาวเทียมมีจำนวนมาก และการซ่อมหรือ Upgrade Hardware ทำไม่ได้
5. ดาวเทียม LEO สร้างมลภาวะทางดาราศาสตร์
เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาหรืออุปสรรคนี้ ผมขออธิบายในรายละเอียดเพิ่มเติม
1. ระยะทาง ผู้ใช้และโครงข่าย (User & Network) ห่างไกลเกินไป
ที่บอกว่าเกินไป ผมเปรียบเทียบกับโครงข่าย 5G ภาคพื้นดิน ที่ทุกคนกำลังจะได้ใช้
พัฒนาการของ 5G มาจากโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ Mobile Network ธุรกิจที่ทำให้เกิดมหาเศรษฐีมาแล้วหลายคน
เปรียบเทียบยุคโทรศัพท์มือถือ ด้วยข้อมูล ระยะทางระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์และโครงข่าย (หรือรัศมีเสาส่งสัญญาณ) กับความเร็วการรับส่งข้อมูล Speed
- 2G ต้องห่างไม่เกิน 5km, Max Speed = 64 Kbps (850-900MHz)
- 3G ต้องห่างไม่เกิน 1km, Max Speed = 21 Mbps
- 4G ต้องห่างไม่เกิน 500m, Max Speed = 280 Mbps
- 5G ต้องห่างไม่เกิน 200m, Max Speed = 2 Gbps
1
แน่นอน การเพิ่มความเร็วการรับส่งข้อมูล ต้องมีคลื่นความถี่เยอะขึ้นด้วย ทั้ง
- จำนวนคลื่นความถี่ ต่ำ(700MHz) กลาง(1800-2300MHz) สูง(26 GHz)
- และเพิ่มแถบความถี่ (Bandwidth) เดิมกว้าง 10MHz เพิ่มเป็น 100MHz
แต่ระยะทาง ยังเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ กับความเร็วการรับส่งข้อมูล
เปรียบเทียบโครงการดาวเทียมต่าง ด้วยข้อมูล ระยะทางระหว่างผู้ใช้และโครงข่ายซึ่งเป็นดาวเทียม ที่อยู่ในวงโคจรสูงจากพื้นโลกในระดับต่างๆ
เรียงลำดับระยะทาง จากน้อยไปมาก
- Starlink (SpaceX by Elon Musk) สูงจากพื้นโลก 550km +/-
- Kuiper (Amazon by Jeff Bezos) สูงจากพื้นโลก 590 ,610 & 630km
- Iridium (By Motorola) สูงจากพื้นโลก 800km (หรือ 781km)
- OneWeb (By SoftBank) สูงจากพื้นโลก 1,200km
ทั้งหมดเป็น วงโคจรต่ำ LEO: Low Earth Orbit
2
จากข้อมูลข้างบน พบว่า Starlink มีวงโคจรของดาวเทียมอยู่ ต่ำที่สุด
หรือมีระยะทาง ระหว่างผู้ใช้และโครงข่าย สั้นที่สุด (แค่ 550km)
ขอยกตัวอย่าง โครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม
Kepler Communications ของประเทศแคนนาดา
เมื่อ 14 November 2019 (ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา) ประสบความสำเร็จ เป็นครั้งแรก ด้วยการส่งสัญญาอินเทอร์เน็ตมายังพื้นโลกด้วยความเร็ว 120 Mbps
http://www.adslthailand.com/post/6161?fbclid=IwAR0KHnRG1CSqN07NVG7raKF88p0WqH6-JALZrqaEPiKqleUkevhTnbQ6U24#.XdPbo5v-PpA.twitter
1
แต่เดียวก่อน อย่าพึ่งหลงเข้าใจว่า ธุรกิจดาวเทียมจะรุ่ง เพื่อรับส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมให้ได้ Speed = 120Mbps (ซึ่งยังต่ำกว่า 4G ในปัจจุบัน)
ต้องใช้เครื่องรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต ที่ติดตั้งบนเรือปฏิบัติงานของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ มากถึง 19 ประเทศ อยู่รวมกันเป็นร้อยคน อยู่แถบมหาสมุทรอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ
1
- Kepler (By private, Canada) สูงจากพื้นโลก 570km (เกือบเท่า Starlink)
ใช้คลื่นความถี่ย่าน Ku-Band (12-18GHz) ใช้จานดาวเทียมขนาด 2.4 เมตร
จานดาวเทียมขนาด 2.4 เมตร นั่นนะใหญ่กว่าจานดาวเทียม C-Band (จานดำ) ที่ใช้รับสัญญาณทีวีเลยนะครับ
หมู่บ้านไหนที่อินเทอร์เน็ตบ้านเข้าถึงแล้ว แถมผู้ให้บริการยังเพิ่ม Speed ให้ ด้วยราคาเดิมอีก ไม่มีใครเขานิยมใช้จานดำ แล้วล่ะครับ
ปัจจุบัน เราใช้มือถือเครื่องเล็กนิดเดียว จะใหญ่ก็เพราะ จอ นี่เหละครับ
ระบบ 4G LTE-A ได้ Speed เกิน 120Mbps สบายๆ (Max = 280Mbps)
ถ้าเทียบกันที่ Speed ระหว่างดาวเทียมกับ 5G ยิ่งห่างกันไกลไปอีกหลายขุม เพราะ 5G ออกแบบให้มี speed สูงกว่า 4G อยู่ 10 เท่า
ถึงแม้ Starlink จะมีเทคโนโลยีสุดล้ำ แต่ระยะทาง 550km เทียบกับ 200m มันต่างกันมากเหลือเกิน
2. ผู้คนส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในอาคาร
จากข้อที่ 1 วัดกันที่ความเร็วการรับส่งข้อมูล Speed ดาวเทียมสู้ไม่ได้
ในความเห็นผม ตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุด คือ "ผู้คนส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในอาคาร"
มันสำคัญอย่างไร โปรดนึกภาพตามผม
ตอนผมอยู่ Iridium เราเปิดบริการมาเป็นปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีลูกค้า
แม้ผมทำงานอยู่ฝ่ายโครงข่าย เพื่อช่วยบริษัท ผมจึงออกมาช่วย Sale ขาย โดยเป็นผู้สาธิตการใช้งาน และคอยตอบข้อสงสัยทางเทคนิค
การใช้โทรศัพท์ Iridium คุณต้องใช้ในที่โล่งแจ้ง เท่านั้น
ภาษาอังกฤษคือ Open Sky มันหมายความว่าอย่างไร
หลังจาก Presentation บริการ Iridium เสร็จแล้ว ในห้องประชุม ซึ่งมันมักจะเป็นห้องแอร์ในอาคาร (นั่นมันเรื่องปรกติมาก)
แต่สิ่งที่ผมต้องหา คือ สนามฟุตบอล ลานกว้าง อะไรประมาณนี้ เพื่อทดสอบการใช้งาน ในกรุงเทพ ที่ๆมีตึกบังข้างเดียวก็ไม่ได้ มีต้นไม้บังก็ไม่ได้อีก ที่เปิดโล่งๆ มันหายากมาก ...ถึงหามันเจอ ณ จุดๆนั้น แดดมันร้อนมากๆ
Lone Survivor with Iridium phone
มีหนังสงครามชื่อ Lone Survivor ทหารอเมริกัน ออกรบในอัฟกานิสถาน
ทหารอเมริกัน 4-5 คนถูกปิดล้อมโดยผู้ก่อการร้าย เพื่อโทรติดต่อขอการช่วยเหลือจากกองหนุน ทหารนายหนึ่ง ต้องเสี่ยงตาย หิ้วโทรศัพท์ Iridium ออกไปหาพื้นที่ Open Sky ที่กลางแจ้ง ไม่มีต้นไม้บัง
ตรงนั้นนะ เป็นหน้าผา และมีห่ากระสุนจากผู้ก่อการร้ายยิงผ่าน ทำไมต้องเสี่ยงตายขนาดนั้น ก็เพื่อหาสัญญาณดาวเทียม งัยครับ มีต้นไม้บังไม่ได้
โครงข่ายโทรศัพท์ภาคพื้นดิน นอกจากการตั้งเสาส่งสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ๆมีผู้คนอาศัย และที่สัญจรไปมา เช่น หมู่บ้าน ถนนสายหลัก สายรอง
อีกพื้นที่ๆสำคัญมากคือ บริการภายในอาคาร เราเรียกว่า IBC: In Building Coverage ผู้คนส่วนใหญ่ กระจุกตัวอยู่ภายในอาคาร เช่น
- อาคารสำนักงาน ที่ทำการต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
- ห้างสรรพสินค้า Shopping Mall, Big Store, Community Mall
- โรงแรม คอนโด ที่อยู่อาศัยที่เป็นอาคาร
การทำ IBC แทนที่จะตั้งเสาสูงๆ แต่เป็นการตั้งสายอากาศขนาดเล็กตาม ลิฟท์ ทางเดินในอาคาร และบนฝ้าเพดาน ของทุกๆชั้น ภายในอาคาร
ระยะทาง ผู้ใช้และโครงข่าย ของ 4G หรือ 5G ที่เป็น IBC ไม่ใช่แค่ 200m
แต่มันแค่ 2-3 เมตร มีสายอากาศบนหัวเราเลย (มีการติดตั้งตามฝ้าเพดาน)
การทำ IBC ลงทุนสูงมาก ไม่ใช่แค่ค่าอุปกรณ์โครงข่าย แต่ต้องรวมถึงการตบแต่งภายใน การขออนุญาตเข้าแต่ละอาคาร ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
จากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นการยากที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม จะสามารถ Disrupt ผู้ให้บริการมือถือในปัจจุบันได้ (หรือเป็นไปไม่ได้)
เทคนิคการแก้ปัญหา ทั้ง 2 ข้อที่กล่าวนี้
1. ระยะทาง ผู้ใช้และโครงข่าย (User & Network) ห่างไกลเกินไป
2. ผู้คนส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในอาคาร
เพื่ออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม จะพอให้บริการได้ เปิดตลาดได้
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม หรือ Starlink จำเป็นต้องมี
"อุปกรณ์ทวนสัญญาณ" ผมยังไม่เคยเห็น แต่ขอพยากรณ์หรือเดาล่วงหน้า
อุปกรณ์ทวนสัญญาณ มีหน้าที่รับส่งสัญญาณโดยตรงกับดาวเทียม Starlink
พูดง่ายๆ เป็นอุปกรณ์ตากแดดตากฝนแทนเรา
เพราะต้องติดตั้งอุปกรณ์นี้ไว้พื้นที่โล่งแจ้ง ต้องจ่ายไฟให้ หรือมีแบตเตอรี่
แล้วกระจาย WiFi ให้มือถือเรา เหมือน AP ธรรมดาของอินเทอร์เน็ตบ้านเลย
อะไรที่ต้องมาดูกันว่า Business Model นี้ มันจะเวิร์คมั้ย
1. อุปกรณ์ทวนสัญญาณ ถ้าจานสายอากศขนาดเล็ก จะได้ Speed สักเท่าไรกัน (น่าจะต่ำกว่า 4G)
2. ผู้คนจะนิยมติดตั้งหรือพกพา อุปกรณ์ทวนสัญญาณ นี้หรือ
Starlink ยังมีอุปสรรคอีก 3 ข้อ อยากให้ผู้อ่านติดตาม
Disruptive Technology EP ต่อไป
ได้ที่ Blockdit:
www.blockdit.com/worklifewinwin
12 บันทึก
49
9
19
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Disruptive Technology
12
49
9
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย