Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
T
The life of monk
•
ติดตาม
12 ธ.ค. 2019 เวลา 23:32 • การศึกษา
ชีวิตพระ
ตอนที่ ๑๓ อนันตริยกรรม
แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ” หลายท่านอ่านแล้วก็คง “งง” อีกตามเคย มันคืออะไรหรือพระอาจารย์ ??
ความหมายก็คือ เมื่อผู้ใดทำอนันตริยกรรม ตายไปแล้ว ก็ต้องไปตกนรกขุม ๘ ที่มีชื่อว่า “อเวจี” ในนรกขุมนั้นสัตว์นรกจะไม่เว้นว่างจากความทนทุกข์ทรมานเลย
จะอธิบายให้เข้าใจอีกนิด ในนรกขุมอื่นพอมีช่วงทุกข์น้อยกับทุกข์มาก เช่น เมื่อสัตว์นรกถูกทัณฑ์ทรมานด้วยวิธีถูกมีดสับเป็นชิ้นๆ ขณะที่นายนิรยบาล (ชื่อเรียกของผู้ที่ลงโทษสัตว์นรก) กำลังเงื้อมือยกมีด นั่นคือช่วงที่สัตว์นรกมีทุกข์น้อย เมื่อมีดสับถึงร่างกายจนขาดเป็นท่อน นั่นคือช่วงที่ทุกข์มาก
ส่วนในอเวจีมหานรกนั้น มีไม่มีช่วงทุกข์น้อยทุกข์มาก มีแต่ทุกข์มากๆๆๆๆ อย่างต่อเนื่อง นี่คือความหมายของคำว่า “กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ”
เอ... แล้ว นรกเอย นายนิรยบาลเอย ที่พระอาจารย์บอกมาน่ะ มันมีจริงเหรอ ...
ถ้าจะให้ผู้เขียนตอบ ก็จะตอบว่า “จริง” ด้วยเหตุผลเดียวกับเนื้อหาในตอนที่ ๕ นั่นแหละ แต่ถ้าอยากรู้เรื่องนรกให้มากกว่านี้ ก็บอกมาก็แล้วกัน หากมีคนอยากรู้มากพอ ก็จะเขียนอธิบายให้ในโอกาสต่อไป
อนันตริยกรรมที่ทำให้เมื่อตายแล้วต้องไปตกนรกขุมอเวจีนั้นมี ๕ อย่าง คือ
๑ มาตุฆาต คือ ฆ่ามารดา
๒ ปิตุฆาต คือ ฆ่าบิดา
๓ อรหันตฆาต คือ ฆ่าพระอรหันต์
๔ โลหิตุปบาท ทำให้กายของพระพุทธเจ้าห้อเลือด
๕ สังฆเภท หมายถึง ทำสงฆ์ให้แตกกัน
พระเทวทัต ยุยงให้เจ้าชายอชาตศัตรูทำอนันตริยกรรมข้อที่ ๒ ส่วนพระเทวทัตเองจะทำอนันตริยกรรมข้อที่ ๔ และ ต่อมาอีกภายหลังก็ได้ทำข้อที่ ๕ ด้วย ... จบตอนที่ ๑๓
บันทึก
32
10
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชีวิตพระ ภาค ๑ ตอนที่ ๑ - ๕๐
32
10
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย