17 ธ.ค. 2019 เวลา 14:01 • การศึกษา
"ลาออกแล้วขอใบผ่านงาน นายจ้างมีสิทธิไม่ให้ได้หรือไม่?"
เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว อาจมีลูกจ้างบางคนที่ต้องการใบรับรองการผ่านงานจากนายจ้างเดิม เพื่อนำไปสมัครงานที่ใหม่ หรือนำไปใช้สมัครเรียนต่อ หรืออื่น ๆ ก็ตาม
ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในขณะที่ร่วมงานกันเป็นไปด้วยดี การออกใบรับรองการผ่านงานให้แก่ลูกจ้างก็คงไม่ใช่เรื่องลำบากอะไร
pixabay
ดีไม่ดี ใบรับรองการผ่านงานนั้นอาจเขียนบรรยายถึงข้อดีของลูกจ้างคนดังกล่าว ถือซะว่าเป็นการตอบแทนที่ร่วมงานกันด้วยดีเสมอมา
แต่ในทางตรงกันข้าม หากความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่ค่อยจะสู้ดีเท่าไหร่ หรือที่เรียกกันว่าจบไม่สวย...
อาจเพราะลูกจ้างบางคนอาจมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมระหว่างการทำงาน เช่น ขาดงานเป็นบ่อย หรือมาสายเป็นประจำ
หรือที่หนักกว่านั้นก็อาจถึงขั้นทุจริตและถูกเลิกจ้างหรือไล่ออกไปเลยก็มี
pixabay
ลูกจ้างประเภทนี้คงไม่มีนายจ้างคนไหนที่อยากจะออกใบรับรองการผ่านงานให้ซักเท่าไหร่
แต่ช้าก่อน!! นายจ้างโปรดฟังทางนี้
เรื่องการออกใบรับรองการทำงานนั้น มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า...
เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร
พูดง่าย ๆ ก็คือ หากลูกจ้างขอใบผ่านงาน นายจ้างจะต้องออกให้ทุกกรณี ไม่ว่าการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเกิดจากการลาออกของลูกจ้างเอง หรือถูกเลิกจ้าง
และถึงแม้ว่าจะไม่ชอบหน้ากันขนาดไหนก็ตาม 😅
pixabay
ที่สำคัญข้อความในใบรับรองการทำงานนั้น กฎหมายบอกให้เขียนเพียงแค่ระยะเวลาการทำงาน และตำแหน่งที่ทำเท่านั้น
นายจ้างไม่มีสิทธิใส่ข้อความอื่นที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เช่น เขียนว่าลูกจ้างมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือทุจริตต่อหน้าที่ เพราะจะไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ครับ
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา