18 ธ.ค. 2019 เวลา 03:25 • ความคิดเห็น
มีตำนานที่เขียนเป็นภาษามคธ เรียกพระแก้วมรกตว่า"รัตนพิมพวงศ์" กล่าวว่าเทวดาเป็นผู้สร้างถวายพระอรหันต์นามว่า "พระนาคเสนเถระ" แห่งเมืองปาฎลีบุตร พระนาคเสนเป็นพระอรหันต์ ที่มีฤทธิ์สำเร็จด้วยอภิญญา ได้อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เข้าสถิตย์ยัง พระแก้วมรกตถึง7พระองค์ ในพระโมฬี1พระองค์ พระนลาฏ1พระองค์ พระอุระ1พระองค์ พระอังสาข้างละ1องค์ พระชานุข้างละ1พระองค์ รวม7พระองค์ เนื้อแก้วปิดสนิทไร้รอยต่อ
1
พระแก้วมรกตอยู่เมืองปาฏลีบุตรแล้วไปอยู่ ลังกาทวีป เมืองกัมโพชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพรช เมืองเชียงราย เจ้าเมืองเชียงรายต้องการซ่อนจากศัตรู ทาปูนลงรักปิดทองแล้วซ่อนไว้ในเจดีย์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ "ตำนานพระแก้วมรกต"ไว้ตอนหนึ่งว่า
"อนึ่งจะเทียบเคียงว่าเป็นฝีมือของช่างชาวอินเดีย มอญ พม่า เขมร ไทยเหนือ จีนก็มิใช่คงเป็นฝีมือช่างลาวเชียงแสน เป็นแน่แท้"
พ.ศ 1977
ฟ้าได้ผ่าสถูปเก่าแก่ที่เมืองเชียงรายพังลงมา เห็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทองซ่อนอยู่ภายใน จึงอัญเชิญไปไว้ที่วิหารวัดเมืองเชียงราย(วัดพระแก้วในปัจจุบัน) 2-3เดือนต่อมาปูนตรงปลายนาสิกได้กะเทาะออกมา เจ้าอธิการเห็นแก้วสีเขียวภายใน จึงแกะต่อไปจนเห็นเป็นหยกเนื้อดีงามดุจมรกต ทั้งองค์ไม่บุบสลาย หน้าตักกว้าง48.3ซม. สูงทั้งฐาน66ซม.
ข่าวแพร่สะพัดออกไปว่าพระปูนปั้นปิดทองนั้น แท้จริงคือพระแก้วมรกต ชาวเมืองเชียงราย&ใกล้เคียงต่างแตกตื่นไปนมัสการกันแน่นขนัด ท้าวเฟี้ยผู้รักษาเมือง จึงทำใบบอกไปยังเจ้าเมืองเชียงใหม่ผู้ปกครองเชียงราย เจ้าสามฝั่งแถน(เจ้าเมืองเชียงใหม่) จึงจัดขบวนช้างแห่ไปอัญเชิญไว้ที่เชียงใหม่ แต่ช้างที่อัญเชิญพระแก้วมรกต วิ่งตื่นเข้าเมืองลำปางถึง3ครั้ง พระเจ้าสามฝั่งแถนจึงให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองลำปาง ชาวบ้านศรัทธาจึงสร้างวัดถวายคือ"วัดพระแก้วดอนเต้า"ในปัจจุบัน
พระแก้วมรกตประดิษฐานที่วัดพระแก้วนานถึง32ปี พศ.2011พระเจ้าติโลกราช(เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ใหม่) ต้องการให้พระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เชียงใหม่แทน จึงสร้างวัด&วิหารถวาย โดยวิหารที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตนั้นมียอดสูง แต่สร้างไม่สำเร็จ ถูกฟ้าผ่าหลายครั้งจนล้มเลิกความตั้งใจ จึงอัญเชิญพระแก้วมรกต ไปไว้ในวิหารที่มีซุ้มจรเข้นำอยู่ในผนังด้านหลัง ที่สร้างขึ้นเป็นที่ตั้งพระแก้วมรกต พร้อมเครื่องประดับอาภรณ์บูชาต่างๆมากมาย มีบ้านประตูเป็นตู้เก็บรักษา และเปิดออกให้คนนมัสการเป็นครั้งคราว
พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่เมืองเชียงใหม่85ปี พศ.2094เจ้าไชยเชษฐา ผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นบุตรของพระเจ้าโพธิสาร พระเจ้ากรุงล้านช้าง ได้อัญเชิญไปเมืองหลวงพระบาง ก่อนหน้านั้น เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ยกพระธิดาชื่อยอดคำ ให้เป็นมเหสีของพระเจ้าโพธิสาร จึงมีราชบุตรคือเจ้าไชยเชษฐา เมื่ออายุได้15ปี เจ้าเมืองเชียงใหม่ผู้เป็นอัยกาสิ้นพระชนม์ ท้าวแสนพระยา&บรรดาสงฆ์จึงขอเจ้าไชยเชษฐา มาเป็นเจ้านครเชียงใหม่
ครองเชียงใหม่ได้ไม่นาน พระเจ้าโพธิสารก็สิ้นชีพ พระอนุชาของเจ้าไชยเชษฐาแย่งชิงราชสมบัติจนเกิดจราจล เหล่าขุนนางจึงทูลเชิญเจ้าไชยเชษฐามาระงับเหตุ พระองค์ไม่แน่ใจว่าจะได้กลับเชียงใหม่อีก จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตไปหลวงพระบางด้วย พระแก้วมรกตออกจากเมืองเชียงใหม่ พศ.2095
เมื่อเจ้าไชยเชษฐาถึงหลวงพระบาง จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานในปราสาท จัดงานฉลองกุศลให้บิดา และขึ้นครองกรุงล้านช้าง ณ เมืองหลวงพระบาง นามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช 3ปีผ่านไปก็ไม่ได้กลับเชียงใหม่
ท้าวเฟี้ยผู้รักษาเมืองเชียงใหม่ เห็นว่าเจ้าไชยเชษฐาไม่มีทีท่าว่าจะกลับ จึงเลือกพระภิกษุชื่อ"เมกุฏิ"แห่งเมืองนาย เป็นเชื้อพระวงศ์เจ้าเชียงใหม่องค์ก่อน ให้ลาสิกขามาครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชไม่พอใจ จึงรบกันแต่ทัพหลวงพระบางปรามทัพเมื่องเชียงใหม่ไม่ได้
พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่เมืองหลวงพระบาง12ปี ถึงสมัยที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองทรงมีอิทธิพลมาก พระเจ้าไชยเชษฐาเห็นว่าไม่ปลอดภัย จึงย้ายราชธานีมาเมืองเวียงจันทร์ พศ.2107 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ที่เวียงจันทร์ด้วย
พระแก้วมรกตประดิษฐานที่เวียงจันทร์ถึง215ปี พศ.2321พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ในสมัยกรุงธนบุรีได้เป็นแม่ทัพ ไปตีเมืองล้านช้าง หลวงพระบาง เวียงจันทร์เข้าเป็นขอบขัณฑสีมา ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต&พระบาง มาไว้ที่กรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินโปรดเกล้าให้สร้างโรงพระแก้วขึ้น ที่หลังพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามในพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระแก้ว&พระบาง
1
เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เข้าพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 10 มิ.ย พศ.2325 จึงย้ายพระนครมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โปรดให้สร้างวัดเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระอารามแล้วเสร็จ จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตด้วยขบวนเรือข้ามฟากมายังอารามใหม่ ในวันที่ 7 กพ. พศ.2327 และผูกพันธสีมาในวันนั้น พระราชทานนามว่า"พระศรีรัตนศาสดาราม" ให้ประชุมถือน้ำพิพัฒน์สัตยาปีละ2ครั้ง คือเดือน5ขึ้น3ค่ำ&เดือน10แรม11ค่ำ ทรงพระราชดำริสร้างเครื่องทรง ฤดูร้อน&ฤดูฝนถวายพระแก้วมรกต สมัยร.3ทรงสร้างเครื่องทรงฤดูหนาวถวายด้วย
เมื่อสงครามโลกครั้งที่2ยุติ ฝร้งเศส1ใน5ชาติมหาอำนาจที่ชนะสงคราม ได้เรียกร้องขอคืนดินแดน ที่เซ็นสัญญายกให้ไทย ตอนขอสงบศึกในสงครามอินโดจีนไทย-ฝรั่งเศส คือนครจำปาศักดิ์ เสียมราฐ ศรีโสภณ พระตะบอง ซึ่งเป็นมณฑลบูรพาของไทย ทั้งนี้ฝรั่งเศสยังขอคืนพระเเก้วมรกตที่ไทยเอาไปจากเวียงจันทร์ ที่ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสอีกด้วย ผู้แทนไทยพร้อมใจลุกพรึบไม่เจรจาด้วย ทำให้ฝรั่งเศสต้องถอนข้อเรียกร้อง นี้ไปจึงเจรจากันใหม่ได้
พระแก้วมรกตประดิษฐานคู่กรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่เริ่มสร้าง&จะอยู่คู่เมืองไทยตราบนานเท่านาน
โฆษณา