18 ธ.ค. 2019 เวลา 11:28 • ความคิดเห็น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อัญเชิญพระแก้วมรกตจากธนบุรี มาประดิษฐานยังกรุงรัตนโกสินทร์ ได้นำพระบาง(พระพุทธลาวัณ) ซึ่งทรงอัญเชิญจากเมืองเวียงจันทร์ตามมาด้วย พระเจ้านันทเสน ราชบุตรพระเจ้าล้านช้าง ที่อยู่พระนครทราบเรื่องก็กราบทูลว่า
เดิมพระแก้วมรกตอยู่เชียงใหม่ พระบางอยู่เมืองหลวงพระบาง ครั้นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชอัญเชิญพระแก้วมรกตมางานศพบิดา แล้วไม่กลับเชียงใหม่3ปี ทางเชียงใหม่จึงตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ขึ้นแทน พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงยกกำลังจากหลวงพระบางมาตีเชียงใหม่ รบกันเป็นปีก็เอาชนะเมืองเชียงใหม่ไม่ได้ แต่กองทัพเชียงใหม่ กลับตีรุกได้ดินแดนจนเข้ามาใกล้ ฝั่งหลวงพระบางกลัวเสียเมือง จึงเข้าทรงผีที่รักษาเมือง ผีที่รักษาพระบางบอกว่าตนไม่ถูกกับผีที่รักษาพระแก้วมรกต ขอให้ไล่พระแก้วมรกตออกจากเมือง แล้วจะช่วยให้ชนะศึก จึงนำพระแก้วมรกตไปฝากไว้ที่เวียงจันทร์ บ้านพี่เมืองน้องกัน จากนั้นหลวงพระบางก็มีกำลังกล้าแข็งขึ้น ตีชิงเอาดินแดนคืนได้ทั้งหมด ฝ่ายเชียงใหม่จึงถอยไม่มารุกรานอีก บ้านเมืองจึงสงบสุข
200ปีต่อมา เจ้าเมืองเวียงจันทน์เกิดรบชนะเจ้าเมืองหลวงพระบาง จึงนำพระบางมาไว้ร่วมกับพระแก้วอีก จากนั้นเมืองเวียงจันทร์เกิดความวุ่นวาย พี่น้องรบกันเอง รบแพ้ญวนจนเสียเมืองไป ภายหลังจึงเสียเมืองให้สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่เสด็จไปปราบช่วงปีกุน
พระแก้วมรกต&พระบางอยู่ที่กรุงธนบุรี 2ปีก็เกิดความวุ่นวาย สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงพระราชทานพระบางแก่เจ้านันทเสน ซึ่งกลับไปครองเมืองแทนบิดา นำไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทร์ตามเดิม
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์กบฎ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รับพระราชโองการให้ยกทัพไปตีเวียงจันทร์ จึงนำพระบางมา พระแทรกคำ พระฉันสมอ พระพุทธศิลาเขียว กลับมาถวายร.3
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเชิญ พระบาง พระแทรกคำ พระฉันสมอ ไว้ที่หอนาควัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่พอทราบเรื่องสมัยพระพุทธยอดฟ้า. จึงพระราชทานพระบางให้เจ้าพระยาบดินเดชา อัญเชิญไปไว้ที่วัดจักรวรรดิราชาวาส พระราชทานพระฉันสมอ ให้พระยาพลเทพ อัญเชิญไปไว้ที่วัดอัปสรสวรรค์ พระราชทานพระแทรกคำ ให้พระยาราชมนตรี อัญเชิญไปไว้ที่วัดคฤหบดี
พศ.2407
เกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง เหล่าเสนาบดี จึงทำเรื่องกราบทูล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.4) ที่ทรงอัญเชิญพระพุทธรูปจากลาวอีก3องค์ คือ พระเสิม พระไสย พระแสน จากหนองคายมาไว้ที่กทม.
เพราะได้ยินราษฎรซุบซิบกัน ตั้งแต่นำพระเสิมเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งเคยอัญเชิญมาไว้ที่หนองคาย มาอยู่กทม.เมื่อปลายปีมะเส็ง นพศก พระไสยมาอยู่กับพระเสิมที่เมืองหนองคาย พระแสนเมืองมหาไชย ที่อัญเชิญไว้ที่ วัดปทุมวนารามช่วงปลายปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก
ฝนในกทม.แล้ง ข้าวยากหมากแพง ทางลาวเรียกพระพุทธรูปบ้านร้างเมืองเสีย เรียกพระพุทธยักษ์ ไม่นิยมนำเข้าบ้านเมือง
เมื่อครั้งร.1เข้าตีเวียงจันทร์ พ.ศ 2322&กรมพระราชวังบวรในร.3เข้าตีเวียงจันทร์ พศ.2370 ก็ไม่อัญเชิญ พระเสิม พระไสย พระแสนมาด้วย ทั้งๆที่เป็นพระพุทธรูป ที่มีชื่อเสียงของเวียงจันทร์ ซึ่งฝนแล้งคราใดราษฎรก็โทษแต่พระเสิม พระไสย จึงทูลขอให้คืนแก่เจ้าเมืองลาวตามเดิม หรือพระราชทานแก่อารามหลวงเมืองสระบุรี(วัดพระพุทธบาท) ซึ่งมีคนลาวอยู่มาก
พระราชพงศาวดาร ร.4ฉบับเจ้าทิพากรวงศ์(ขำบุนนาค)กล่าวว่า
"พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นด้วย ณ ปีขาล อัฐศก เจ้าอุปราชเมืองหลวงพระบางเข้าเฝ้า จึงโปรดเกล้าให้รับพระบาง ประดิษฐาน ณ หลวงพระบางตามเดิม เจ้าอุปฮาดราชวงศ์ ได้เชิญเสด็จพระบาง ออกจากวิหารวัดจักรวรรดิ เมื่อ 31มี.ค พศ.2408 เวลาเพล โปรดให้ประทับตำหนักริมน้ำ ทำการสมโภชอยู่3วัน แล้วบอกบุญพระราชาคณะ เปรียญฐานานุกรม สัตบุรุษ แห่ขึ้นส่งเพียงปากเกร็ด"
พระเสิม พระไสย พระแสน โปรดให้ประดิษฐานในอุโบสถวิหารวัดปทุมวนาราม ทั้ง3องค์ พระเสิมหน้าตักกว้าง 2ศอก1นิ้ว พระไสยหน้าตักกว้าง1ศอก1นิ้ว พระแสนหน้าตักกว้าง1ศอก6นิ้ว
ปัจจุบัน พระบางประดิษฐานอยู่ที่วิหารคำ เมืองหลวงพระบาง พระฉันสมอองค์จำลองอยู่บนมณฑปวัดอัปสรสวรรค์ ส่วนองค์จริงเก็บไว้บนอุโบสถ พระแทรกคำอยู่ในอุโบสถวัดคฤหบดี พระไสย&พระเสิม&พระแสนอยู่ในพระอุโบสถวัดปทุมวนาราม
โฆษณา