19 ธ.ค. 2019 เวลา 00:00 • เกม
Nintendo
“บริษัทเกมจากญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกหลงรัก” ตอนที่ 2
3. สงครามจบ แต่ต้องเดินหน้าต่อไป
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงในปี 1945 (พ.ศ. 2488) ประเทศญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม
การยอมจำนนของจักวรรดิญี่ปุ่นต่อกองกำลังสัมพันธมิตร (1945)
ผลพวงจากสงครามทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ในสภาวะย่ำแย่มาก
นอกจากนี้ คุณ Fujisaro มีอายุมากแล้ว สุขภาพเริ่มไม่ดี ก็ต้องหาคนเพื่อมาดูแลกิจการต่อจากเขา
คนที่เข้ามารับช่วงต่อหลังจากคุณ Fujisaro เสียชีวิต ก็คือคุณ Hiroshi Yamauchi มีศักดิ์เป็นหลานชายของคุณ Fujisaro Yamauchi ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บริหาร Nintendo Playing Card Co.,Ltd ต่อจากปู่ของเขา
Hiroshi Yamauchi (1927 - 2013)
ไพ่ Hanafuda ก็ยังเป็นที่นิยมกันในญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คุณ Yamauchi พยายามหาวิธีที่จะผลิตไพ่ให้ได้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
คุณ Hiroshi เปลี่ยนจากการผลิตไพ่จากเดิมที่เคยพิมพ์ลงบนเปลือกไม้ เป็นผลิตเป็นไพ่พลาสติก เป็นบริษัทแรกในญี่ปุ่น ทำให้ไพ่มีสีสดใส ใช้งานได้นาน ยอดขายก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ไพ่พลาสติกของ Nintendo
ในปี 1956 (พ.ศ. 2499) คุณ Hiroshi ได้มีโอกาสไปพูดคุยธุรกิจกับ United States Playing Card Company ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตไพ่ที่มีศักยภาพสูงกว่า Nintendo ในตอนนั้นแน่นอน
เมื่อเขาได้ไปสำรวจก็ถึงกับช็อค เพราะขนาดบริษัทผู้ผลิตไพ่รายใหญ่ที่สุดที่เขาเคยเจอ ก็ยังมีขนาดโรงงานที่เล็กพอ ๆ กับตึกออฟฟิศตึกหนึ่งเท่านั้น
อาคารของ Unite States Playing Card Company
ตรงนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนของคุณ Hiroshi เลยก็ว่าได้ เพราะเขาตระหนักทันทีว่า อุตสาหกรรมผลิตไพ่นี้มันช่างเติบโตยากและมีข้อจำกัดหลายอย่างเลยทีเดียว ทำให้เขาพยายามคิดหาธุรกิจอื่น เพื่อเป็นการสำรองไว้บ้างแล้ว
4. คว้าลิขสิทธิ์จาก Disney และทะยานสู่บริษัทมหาชน
ในปี 1959 (พ.ศ. 2502) Nintendo ทำข้อตกลงกับทาง Disney เพื่อนำตัวละครของ Disney มาพิมพ์ลงบนไพ่ของ Nintendo เพื่อเพิ่มยอดขายและเจาะตลาดกลุ่มเด็ก
Nintendo Mickey Mouse Playing Cards
ด้วยความที่โลกตะวันตก และญี่ปุ่นนั้น ใช้ไพ่ในการเล่นการพนันเหมือนกัน ทำให้ Nintendo ผลิตหนังสือที่ว่าด้วยการเล่นเกมใหม่ ๆ จากไพ่ชุด Disney ที่ผลิตไป
ผลปรากฏว่าการ Tie-in นี้สร้างรายได้ให้กับ Nintendo เป็นอย่างมาก ตามรายงานว่าขายได้อย่างต่ำก็ประมาณ 600,000 สำรับภายในเวลาปีเดียวเท่านั้น
Nintendo Mickey Mouse Playing Cards
ความสำเร็จในครั้งนี้ ทำให้คุณ Hiroshi ตัดสินใจจดทะเบียน Nintendo ให้เป็นบริษัทมหาชนทันที โดยชื่อของ Nintendo อยู่ใน Osaka Stock Exchange Second division
5. แผ่กระจายความเสี่ยงด้วยการลองธุรกิจอื่น
จากความสำเร็จในการขายไพ่ลาย Disney ข้างต้น ทำให้คุณ Hiroshi ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Nintendo Playing Card Co.,Ltd เป็น “Nintendo” ในปัจจุบัน
หลังจากที่ Nintendo ได้เป็นบริษัทมหาชน ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามามากมาย จึงเป็นโอกาสที่ของ Nintendo ที่จะกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
เพราะคุณ Hiroshi มีความกังวลอยู่ในใจลึก ๆ อยู่แล้วว่า ธุรกิจผลิตไพ่นั้น สักวันน่าจะไปต่อไม่ได้จริง ๆ
Nintendo จึงลองทำธุรกิจของตัวเองที่ไม่เกี่ยวกับไพ่มากมาย ระหว่างปี 1963 - 1968 (พ.ศ. 2506 - 2511)
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรถแท็กซี่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจขายข้าวสารแห้ง และอื่น ๆ อีกมากมาย แม้กระทั่งเครื่องดูดฝุ่น
บรรดารถแท็กซี่ขณะที่ญี่ปุ่นจัดงาน Tokyo Olympics ในปี 1964
แต่ธุรกิจทั้งหมดนั้น ล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะไม่มี Know-How ในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างออกไป
แต่มีเพียงหนึ่งธุรกิจที่ไปได้สวย นั่นก็คือ ธุรกิจของเล่น โดย Nintendo ใช้ประสบการณ์จากการขายไพ่ Hanafuda นั่นเอง
6. Nintendo เผชิญวิกฤตอีกครั้ง
ระหว่างในปี 1964 (พ.ศ. 2507) มีการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นที่กรุงโตเกียว (Tokyo Olympics 1964)
Tokyo Olympics 1964
ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเจริญถึงขีดสุด และการเล่นไพ่เริ่มเป็นสิ่งที่ตกยุค คนรุ่นนี้เริ่มไม่เล่นไพ่กันอีกต่อไปแล้ว
ทำให้ราคาหุ้นของ Nintendo ดิ่งลงเหว จากหุ้นละ 900 เยน (~300 บาท) เหลือเพียง 60 เยน (~20 บาท)
ในขณะนั้น Nintendo อยู่ในสถานการณ์ลำบากในฐานะธุรกิจของเล่น ซึ่งในขณะนั้น Nintendo ยังเป็นบริษัทผลิตของเล่นเล็ก ๆ เท่านั้น
แถมยังต้องต่อสู้บริษัทอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านของเล่นในตลาด เช่น Bandai และ Takara Tomy อีกด้วย
ของเล่นของบริษัท Takara Tomy คู่แข่งของ Nintendo ในสมัยนั้น
เรียกได้ว่าคราวนี้ Nintendo ต้องละทิ้งธุรกิจขายไพ่ และเดินหน้าลุยธุรกิจของเล่นอย่างเต็มตัว
Nintendo จะทำอย่างไรต่อไป ?
ติดตามอ่านได้ในตอนต่อไปนะครับ
ติดตามเกมจริงจังได้เลยทั้ง 2 ช่องทาง
โฆษณา