Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เกมจริงจัง
•
ติดตาม
20 ธ.ค. 2019 เวลา 00:30 • เกม
Nintendo
“บริษัทเกมจากญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกหลงรัก” (ตอนจบ)
7. ก้าวสู่ธุรกิจของเล่นอย่างเต็มตัว
ในปี 1965 (พ.ศ. 2508) Nintendo ต้องการที่จะต่อสู้กับบริษัทของเล่นอื่น ๆ ในตลาดให้ได้ จึงได้จ้างคุณ Gunpei Yokoi เข้ามาสู่บริษัท ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลการผลิตของเล่น
Gunpei Yokoi
ปีต่อมา คุณ Hiroshi ประธานบริษัทได้ลงมาสำรวจโรงงานผลิตไพ่ Hanafuda อยู่นั้น เขาเหลือบไปเห็นของเล่นแปลก ๆ ชิ้นหนึ่งวางอยู่
รูปร่างมันเป็นเหมือนแขนที่เอาไว้หยิบของ และสามารถยืดหดได้ ของเล่นนี้ประดิษฐ์โดยคุณ Gunpei นี่เอง เขาผลิตไว้เล่นเองในเวลาพัก
คุณ Hiroshi เห็นแล้วรู้สึกชอบมาก จึงขอร้องให้คุณ Gunpei พัฒนาเจ้าแขนยืดหดนี้ ออกมาวางขายจริง ๆ ให้ได้ก่อนสิ้นปี
หลังจากนั้น Nintendo ก็ได้วางขายเจ้าแขนยืดหดได้นี้ ในชื่อว่า อัลตร้าแฮนด์ (Ultra Hand)
Nintendo's Ultra Hand
นับเป็นของเล่นชิ้นแรก ๆ ของ Nintendo ที่สามารถทำยอดขายได้เทียบเคียงกับบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ ได้อย่างไม่อายเลยทีเดียว
ด้วยความที่คุณ Hiroshi เห็นศักยภาพของคุณ Gunpei จึงย้ายตำแหน่งเขาจากหน้าที่ควบคุมการผลิต ไปเป็นหน้าที่คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่แทน
ด้วยความที่คุณ Gunpei มีความรู้ทางด้านวิศวกรไฟฟ้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้เขามีแรงบันดาลใจในการผลิตของเล่นที่ใช้ไฟฟ้าเป็นชีวิตจิตใจ
Nintedo ให้ความสำคัญในการสร้างเนื้อเรื่อง และสร้างคุณค่าให้กับของเล่นอิเล็กทรอนิกส์พวกนี้มาก
เครื่องยิงลูกเบสบอลจิ๋ว Ultra Machine
ทำให้ Nintendo สามารถดันราคาของเล่นต่อชิ้นได้มากขึ้นไปอีก
Nintendo ผลิตของเล่นอิเล็กทรอนิกส์พวกนี้ออกมาวางขายอีกหลายสิบชิ้น
ของเล่นที่ Nintendo ตัดสินใจที่จะเริ่มต้นพัฒนาวีดีโอเกมนั้นก็คือ Nintendo Beam Gun
เจ้าปืนลำแสงนี้ เป็นของเล่นที่ใช้แผงโซล่าร์เซลล์ในการยิงแสงออกมา และยังใช้เล่นกับเกม Duck Hunt ใน NES Zapper ได้อีกด้วย
Nintendo Beam Gun
Nintendo Beam Gun นี้เป็นความร่วมมือผลิตระหว่าง Nintendo และ Sharp
นับเป็นจุดที่ตอกย้ำความสนใจในการทำวีดีโอเกมของ Nintendo เลยทีเดียว
8. เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของคนอื่น
หลังจากปี 1972 (พ.ศ. 2515) Nintendo เห็นทางสว่างว่า ตลาดวีดีโอเกมนี่แหละ มันจะต้องเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต
จึงพยายามผลิตเครื่องเล่นเกม ทั้ง Home-console และแบบพกพา แข่งขันกับเจ้าอื่น ๆ ในตลาด เช่น Sega และ Atari
จนกระทั่ง Nintendo ได้ออกเครื่องคอนโซลใหม่ที่เราอาจจะเคยได้ยินมาบ้างในชื่อ ‘Famicom’ และเป็นเครื่องคอนโซลแรกของ Nintendo ที่ต้องเล่นเกมจาก ‘ตลับเกม’ นั่นเอง
Nintendo Famicom
เจ้า Famicom นี้วางขายในญี่ปุ่นเท่านั้น และขายดิบขายดีถึง 500,000 เครื่องภายในเวลา 2 เดือน ในราคา 100USD (3,000 บาทในสมัยนั้น)
แต่ทว่าไม่นาน Nintendo ก็ได้รับเสียงร้องเรียนจากผู้เล่นเยอะมาก ว่าเล่นเกมไม่ได้ มีปัญหาเยอะมาก
ทำให้ Nintendo ต้องเรียกคืนเครื่อง Famicom ทั้งหมดในญี่ปุ่น ทั้งผู้เล่น และหน้าร้านที่ขายอยู่ ทำให้สูญเสียรายได้ไปมาก
เรื่องนี้ทำให้แผนที่ Nintendo วางไว้ว่าจะเปิดตัวขายในสหรัฐอเมริกานั้น ต้องหยุดชะงักลง
Nintendo คิดว่าเมื่อนำไปขายนอกประเทศแล้วก็อยากให้เป็นเครื่องเล่นที่ดีของทุกคน ไม่ใช่ซื้อไปแล้วพังแบบนี้
จากนั้นในปี 1983 (พ.ศ.2526) ก็เกิดวิกฤตการณ์ The Video Game Crash of 1983
เป็นเหตุที่ว่าตลาดเกมคอนโซลขายไม่ออกถึง 97% เพราะในร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็มีแต่เครื่องเล่นเกมคอนโซลราคาถูกขายเยอะแยะไปหมด ไม่มีการควบคุมใด ๆ จากหน่วยงานใดเลย
ใครจะตั้งบริษัทผลิตเครื่องเล่นเกมก็ได้ ใครจะผลิตเกมลงมาขายก็ได้
บ้างก็เป็นเครื่องดี บ้างก็ซื้อมาแล้วเล่นไม่ได้ ใช้ไม่ได้ ไม่รับประกันบ้าง
ซึ่งส่วนหนึ่งของเครื่องคอนโซลที่มีปัญหาก็คือ คอนโซลของ Atari ที่วางขายในสหรัฐอยู่ก่อนหน้าแล้ว
วิกฤตการณ์ครั้งนี้ เป็นเครื่องย้ำเตือนใจ Nintendo ว่าต้องไม่ทำผิดพลาดแบบเดียวกับ Atari
เกมของ Atari ที่เสียเกลื่อน
Nintendo จึงตั้งมาตรฐานการคัดเลือกเกมที่จะลงในเครื่อง Famicom นั้นจะต้องเป็นเกมที่ผ่าน “Seal of Quality ของ Nintendo เท่านั้น
9. การกลับมาสู่ตลาดอย่างยิ่งใหญ่ของ Famicom
สองปีต่อมา ในปี 1985 (พ.ศ. 2528) Famicom ได้กลับมาลงสู่ตลาดอีกครั้ง ด้วยการปรับดีไซน์เครื่องใหม่หมด ในชื่อใหม่ ให้ดูเป็นสากล “Nintendo Entertainment System (NES)”
Nintendo Entertainment System (NES)
Nintendo ได้ทำการจำกัดนักพัฒนาเกมลงเครื่อง NES นี้ได้เพียง 5 บริษัทในหนึ่งปี เพื่อทำการจำกัดเกมไม่ให้ล้นตลาดจนเกินไป
หนึ่งในนักพัฒนาเกมให้กับเครื่อง NES นี้ก็คือ Konami นี้เอง ผู้ซึ่งภายหลังเป็นเจ้าของไอพีเกมดัง ๆ เช่น Metal Gear, Castlevenia, Contra และ Silent Hill
Konami ในปี 2005
นอกจากนี้ Nintendo ก็ยังออกจำหน่ายเกมชื่อดังของโลก “Super Mario Bros.” ในปีเดียวกันนี้เอง
ภาพนี้น่าจะทำให้ใครหลาย ๆ คนแอบคิดถึงบ้าง
10. ทะยานสู่ผู้นำด้านวีดีโอเกม
Nintendo นั้นจับทางถูกแล้วว่า วีดีโอเกมเป็นสิ่งที่มูลค่า ไม่ควรทำเกมแบบขอไปที หรือขาย ๆ ไปให้ได้เงิน
ต้องทำเกมให้มีคุณภาพ ซื่อสัตย์ต่อผู้เล่นของตัวเอง ถึงจะอยู่ได้ในอุตสาหกรรม
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ก็เป็นยุครุ่งเรืองของ Nintendo เลยก็ว่าได้
จนได้ผลิตเครื่องเล่นเกมออกมาอีกมากมาย เช่น Nintendo 64, Game Boy, Nintendo DS, Wii
และเครื่องเล่นยอดฮิตน้องใหม่สุด ‘Nintendo Switch’ นั่นเอง
Nintendo Switch
===========
สรุป
===========
จากที่ Nintendo ได้ประสบพบเจอมากว่า 130 ปีนั้น สอนอะไรเราบ้าง ?
1. อย่าหยุดที่จะเรียนรู้
หาก Nintendo ยอมแพ้เมื่อรู้ว่า ไพ่ของตัวเอง จะขายไม่ออก และไม่เรียนรู้ที่จะทำธุรกิจใหม่ ๆ ก็คงไม่มีบริษัท Nintendo ในวันนี้
หากคุณแพ้เพราะคุณรู้ไม่พอ จงอย่าหยุดเรียนรู้ คนอื่นสามารถทำได้ คุณก็ต้องทำได้เช่นกัน
2. ซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเสมอ
หากวันที่ Nintendo รู้ว่า Famicom ของตัวเองมีปัญหา แต่ไม่ยอมเรียกคืน ไม่คิดจะพัฒนาต่อ อยากขายให้ได้เงินเร็ว ๆ
ในวันนี้ก็คงไม่มีเครื่อง NES และเครื่องเล่นเกมสนุก ๆ ของ Nintendo รุ่นหลัง ๆ มาให้เราเล่น
เพราะ Nintendo รู้ว่า แฟนเกมของตัวเองนั้นมีค่าขนาดไหน ยังไงก็ต้องไม่ทำให้แฟนเกมผิดหวัง
ต้องซื่อสัตย์ต่อผู้เล่น เมื่อทำพลาด ให้ยอมรับผิด ผู้เล่นพร้อมจะรอเฉลิมฉลองในวันที่ Nintendo กลับมาเสมอ
ขอบคุณ Nintendo ที่ผลิตเครื่องเล่นเกมสนุก ๆ ออกมาให้คนทั่วโลกมีความสุข
ขอสดุดีให้กับ
คุณ Hiroshi Yamauchi (1927 - 2013) - ประธานบริษัท Nintendo - เสียชีวิตในวัย 85 ปีด้วยโรคชรา
คุณ Gunpei Yokoi (1941 - 1997) - ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จมากมายของ Nintendo - เสียชีวิตในวัย 56 ปีจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ติดตามเกมจริงจังได้เลยทั้ง 2 ช่องทาง
facebook.com
เกมจริงจัง
เกมจริงจัง, Bangkok, Thailand. 29 likes · 1 talking about this. เราพร้อมเสิร์ฟเกร็ดความรู้ต่าง ๆ จากเกม ถึงมือคุณแบบสดใหม่และย่อยง่าย
เยี่ยมชม
เยี่ยมชม
blockdit.com
เกมจริงจัง
4K ผู้ติดตาม พร้อมเสิร์ฟเกร็ดความรู้ต่าง ๆ จากเกม ย่อยประเด็นต่าง ๆ ให้อ่านง่าย ส่งตรงถึงมือคุณแบบสดใหม่ทุกวัน
40 บันทึก
120
32
16
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
"Nintendo" บริษัทเกมจากญี่ปุ่น ที่คนทั่วโลกหลงรัก
40
120
32
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย