21 ธ.ค. 2019 เวลา 11:31 • ธุรกิจ
"นักลุงทุนระดับโลกจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไร" ตอนที่ 1
บทความนี้ผมจะอธิบายถึงแนวคิดในการบริหารและจัดการพอร์ตการลงทุนของเหล่านักลงทุนระดับโลกว่า พวกเขาเหล่านั้น มีแนวคิด รวมถึงวิธีในการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนที่ "แตกต่าง" จากคนทั่วไปอย่างไรบ้าง
1
https://s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/resources.globalinvestmentslimited.com/wp-content/uploads/2017/12/bg-slide-world-lines.jpg
บทความนี้ผมจะแบ่งตัวบทความออกเป็น 5 ส่วน เพื่อให้ทุกท่านสามารถทำความเข้าใจได้โดยง่ายครับ
1. Asset allocation - การกระจายการลงทุน
2. Risk by asset class - ระดับความเสี่ยงแยกตามประเภทสินทรัพย์
3. Broaden your perspective - เปิดมุมมองการลงทุน
4. Example - ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
5. Conclusion - สรุป
https://kkpadvicecenter.kiatnakin.co.th/th/money-lifestyle/money/financial-investment/asset-allocation
1. Asset allocation (อ่านว่า แอด-เสท-อะ-โล-เค-ชั่น) - การกระจายการลงทุน
เมื่อเราแยกคำนี้ออกมาจะทำให้เราสามารถคำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
คำว่า Asset allocation มาจากคำหลักๆ สองคำ คือ
Asset(สินทรัพย์) + Location(ที่อยู่)
ดังนั้นสิ่งนี้คือ "การกระจาย สินทรัพย์/การลงทุน ไปยังที่ต่างๆ" นั่นเอง
3
.
สำหรับการลงทุนระยะยาวแล้ว การกระจายการลงทุนไปยังที่ต่างๆมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมันสามารถลด "ความเสี่ยง" ในการลงทุนระยะยาวออกไปได้
1
ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกันครับ
สมมติว่า ผมมีบ้านอยู่ 4 หลัง เรียงตามลำดับ A B C D
1
จากนั้นผมนำเงินไปเก็บไว้ที่ บ้านหลังละ 1 ล้านบาท. เป็นเงินทั้งหมด 4 ล้านบาท
วันดีคืนดี ไฟไหม้บ้าน A วอดทั้งหลัง
1
หลังจากร้องไห้จนน้ำตาไหลเป็นเลือดแล้ว ท้ายที่สุดผมก็ยังคงเหลือบ้าน 3 หลัง เงิน 3 ล้านบาท และที่ดินที่โดนไฟไหม้อีก 1 แปลง
2
.
ไอเดียของ "การกระจายการลงทุน" หลักๆ แล้วก็เป็นแบบนี้ครับ
https://www.terrabkk.com/wp-content/uploads/2014/11/AssetClass.png
2. Risk by asset class - ระดับความเสี่ยงแยกตามประเภทสินทรัพย์
ซึ่งหากอ้างอิงตามตามหลักเกณฑ์ของ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) แล้วสามารถแบ่งความเสี่ยง"กองทุน" ได้ 8 ระดับ
https://kkpadvicecenter.kiatnakin.co.th/en/money-lifestyle/money/financial-investment/mutual-fund-type
*จุดนี้สำคัญมากครับ เจ้าใบพัดหลากสี ตัวนี้เป็นตัวบอกถึงระดับความเสี่ยงของกองทุนตัวที่เราเลือกซื้อ ซึ่งทุกๆกองทุนที่เราสามารถซื้อได้ "ต้องมี" ระดับความเสี่ยงให้เราอ่าน
1
===== ความเสี่ยง "ต่ำ" =====
ระดับ 1 กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุน "เฉพาะในประเทศ"
===== ความเสี่ยง "ปานกลาง-ต่ำ" =====
ระดับ 2 กองทุนรวมตลาดเงิน(Money Market Fund) มีการลงทุนในตลาดเงินต่างประเทศ "ไม่เกิน 50% ของพอร์ต"
http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/01062017.aspx
ระดับ 3 กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล มีสถานะการลงทุน(net exposure)
ในพันธบัตรรัฐบาลเป็นหลัก โดยเฉลี่ย "รอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่า 80%"
*คือ ในรอบ 1 ปีเฉลี่ยแล้วต้องถือ พันธบัตร 80% อีก 20% ยังมีที่ว่างให้ถือสินทรัพย์ประเภทอื่น
1
ระดับ 4 กองทุนรวมตราสารหนี้(Fixed Income Fund)
มีสถานะการลงทุน(net exposure) "ในขณะใดๆ ไม่น้อยกว่า 80%"
1
*กองทุนรวมตราสารหนี้สามารถมีระดับความเสี่ยงได้สูงกว่าระดับ 4 ขึ้นอยู่กับ "ประเภทของตราสารหนี้" ที่กองทุนซื้อไว้
ตราสารหนี้โดยทั่วไป ถ้ามาจากฝั่งรัฐบาล ก็จะมี พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง แต่ถ้ามาจากฝั่งเอกชนจะใช้อีกคำหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี คือ "หุ้นกู้"
นั่นเองครับ
** ความเสี่ยงสูงสุดของตราสารหนี้ คือ การ "Default" คือการผิดนัดชำระหนี้ ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือเงินเงินต้นได้ "ตรงตามเวลา" ซึ่งเมื่อเกิดการ default จะถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมาก ระดับที่ผู้ออกตราสารเกิดวิกฤติ
1
โดยปรกติแล้ว "ตราสารหนี้ที่มีที่มาจาก รัฐบาล" จะถือว่า
"มีความน่าเชื่อถือสูง" เพราะรัฐบาลสามารถออกนโยบายหรือดึงงบในส่วนต่างๆมาชำระดอกเบี้ยหรือเงินเงินต้นได้ หลายวิธี
***แต่...อย่าคิดว่า "ตราสารหนี้ที่มีที่มาจาก รัฐบาล" จะไม่สามารถเกิดการ Default ได้เชียวนะครับ ผมขอยกตัวอย่าง เวเนซูเอล่า กับ ตุรกี
แน่นอนว่าถ้าประเทศใดที่ ตราสารหนี้ภาครัฐ Default ขึ้นมานี่สิ่งที่ตามมาคือ หายนะของประเทศ แน่นอน
2
===== ความเสี่ยง "ปานกลาง - สูง" =====
ระดับ 5 กองทุนรวมผสม มีสถานะการลงทุน(net exposure)
ได้ทั้งในตราสารทุน(หุ้น) ตราสารหนี้ หรือ ทรัพย์สินอื่นๆ
===== ความเสี่ยง "สูง" =====
ระดับ 6 กองทุนรวมตราสารทุน(Equity Fund) มีสถานะการลงทุน(net expose)ในตราสารทุน(หุ้น)เป็นหลัก โดยเฉลี่ย "รอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่า 80%" นั่นหมายความว่าอีก 20% สามารถถือเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
ระดับ 7 กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม(Sector Fund) กองทุนประเภทนี้ จะลงทุนในอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น ธนาคาร สินเชื่อ ค้าปลีก สุขภาพ ฯลฯ โดยเฉลี่ย "รอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่า 80%"
===== ความเสี่ยง "สูงมาก" =====
ระดับ 8 กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก (Alternative Investment Fund)
เจาะมันเข้าไปอีกชั้น ด้วยการลงลึกไปถึง สินค้าบางประเภท เช่น ทองคำ น้ำมันดิบ และอื่นๆ เช่น กองทุนโครงสร้างพื้นฐานบางประเภท
1
===== ความเสี่ยง "สูงมากอย่างมีนัยยะสำคัญ" =====
ระดับ 8+ ตราสารอนุพันธ์(Derivative) การกู้ยืมเงิน หรือ Short sell(ยืมมาขาย แล้วซื้อเพื่อมาคืนคนให้ยืมอีกที)
====================================
1
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น อ้างอิงตามตามหลักเกณฑ์ของ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)
แต่หากไปอ่านในตำราอื่นๆ ก็จะมีแบ่งได้หลากหลายแบบ ส่วนมากก็มักจะเรียงจากลำดับไปตาม
"ความสามารถในการแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสด" เมื่อเทียบกับ "ความเสี่ยง(Risk)" ที่ได้รับ
1
หลายๆท่านอาจจะนึกสภาพของสินทรัพย์ความเสี่ยงระดับสูงสุดไม่ออก อธิบายเป็น ภาษา ทั่วไปง่ายๆว่า ถ้าท่านลงทุนแล้ว ถือสถานะผิดทาง และไม่แก้ไขโดยเร็ว จากเงิน 100 ล้าน อาจจะล้มละลาย แล้วกลายเป็นหนี้ได้
2
*แต่ท่านเชื่อเถอะครับ ว่า "ส่วนใหญ่" คนที่สะสมความมั่งคั่งไปถึงระดับ 100 ล้าน และ มากกว่านั้น
จะต้องมีความรู้ทางการเงินมากพอที่จะบริหารทรัพย์สินของตัวเองอยู่แล้ว
3. Broaden your perspective - เปิดมุมมองการลงทุน
หลังจากที่ผมได้เกริ่นนำไปในสองหัวข้อข้างต้น ซึ่งก็คือ
Asset allocation - การกระจายการลงทุน
Risk by asset class - ระดับความเสี่ยงแยกตามประเภทสินทรัพย์
ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำให้ "นักลงทุนระดับโลก ต่างจาก นักลงทุนทั่วไป" คือ
เค้าใช้ "โลกทั้งใบ" เพื่อกระจายการลงทุนสินทรัพย์ออกไป (Diversified assets)
https://s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/resources.globalinvestmentslimited.com/wp-content/uploads/2017/12/bg-slide-world-lines.jpg
.
ซึ่งวิธีการนี้ นอกจากจะสามารถ "ลดความเสี่ยง" ที่จะเจอได้แล้ว
ยังสามารถ "เลือกสถานที่" ที่สินทรัพย์ตัวนั้นสามารถ
"เปล่งประกายออกมาได้ถึงขีดสุด" อีกด้วย
เนื่องจากสินทรัพย์แต่ละประเภท มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน
(เหมือนที่ผมเปรียบเทียบเรื่องความถนัดของแม่ทัพแต่ละคนในบทความก่อนหน้านี้)
ดังนั้นการเลือกสถานที่จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ยังสามารถ ลดความเสี่ยงในด้านอื่นๆ ได้ด้วย เช่น
ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเมือง (Ex. บริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์หรือการท่องเที่ยวจะสามารถทำผลงานได้ดีหรือไม่ ในช่วงที่ชาวฮ่องกงประท้วงต่อเนื่องเกือบ 1 ปี)
1
ความเสี่ยงด้านสภาพเศรษฐกิจ, ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ฯลฯ
ผมขอยกตัวอย่างที่ค่อนข้างรุนแรงเล็กน้อย เช่น ถ้าผมจะเลือกลงทุนบริษัทเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลกผมคงไม่เลือกประเทศไทยในการลงทุน อาจจะเลือกไปที่ประเทศ จีน อเมริกา สิงคโปร์ ฯลฯ
ซึ่ง "ความเสี่ยงที่จะขาดทุน" ถูดจัดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ(Top priority) ที่นักลงทุนระดับโลกต้องคำนึงถึงเมื่อเขาจัดพอร์ตการลงทุน
http://catalystinvesting.org/investing-infographics-by-catalyst/five-things-to-know-before-investing-to-meet-financial-needs-infographic.html
ยกตัวอย่างเช่น
1. ลงทุนในหุ้น 40%
2. ตราสารหนี้ 15%
3. ประกันความเสี่ยงด้านการแลกเปลี่ยนค่าเงิน 10%
4. ถือเงินสดอีก 35%
ทุกข้อที่กล่าวมา สามารถกระจายความเสี่ยงไปได้หลายประเทศ เช่น
การลงทุนในหุ้น 40% สามารถแบ่งย่อยลงไปอีกว่า
1
แบ่ง 15% ไปลงใน บริษัทด้านสุขภาพ ในประเทศจีน 3 บริษัท
แบ่ง 10% ไปลงใน บริษัทการเงิน ในฮ่องกง 2 บริษัทเนื่องจากประเมินว่า เมื่อจีนเข้ามาดูแลเรื่องเสถียรภาพและกดดันให้ผู้ประท้วงกลับมาสู่การประท้วงในรูปแบบปรกติ และสามารถกลับมาเจรจา
เพื่อทำให้ประเทศกลับสู่ภาวะปรกติได้ใน 1 ปี หลังจากนั้นจะเกิดการฟื้นตัวของภาคการเงินขึ้น
แบ่ง 10% ไปลงในบริษัทด้านการเงินที่สิงคโปร์ 4 บริษัท เพื่อใช้ประโยชน์ จากความวุ่นวายในฮ่องกง ที่ทำให้บริษัทการด้านการเงินจากฮ่องกงย้ายฐานมาสิงคโปร์ ในระยะสั้น
2
แบ่ง 5% ไปลง ที่บริษัทประกันภัยที่อเมริกา เป็นต้น
มิติการลงทุนที่เขามองแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างสิ้นเชิงครับ การจัดการในลักษณะนี้ทำให้ความเสี่ยงในสินทรัพย์แต่ละประเภทอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเมื่อมองการลงทุนระยะยาวแล้ว
1
การที่เราไม่ขาดทุนในขณะที่สามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนี่ล่ะครับ คือ ผู้ชนะที่แท้จริง
*การถือเงินสดไว้ในระดับหนึ่งสำหรับช่วงเวลาต่างๆ มีผลดีมหาศาลครับ เช่น บริษัทที่เราเล็งๆจะซื้อหุ้นไว้ ราคาปรับตัวลงแบบไม่สอดคล้องกับพื้นฐาน ในขณะนั้นเราสามารถใช้เงินสดที่เตรียมไว้ช้อนซื้อไว้ได้
ซึ่งโดยปรกติเค้าจะมีรายชื่อและข้อมูลเหล่านี้เตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว เพียงแค่รอเวลา และ ลมที่พัดใต้ปีกเท่านั้นเอง
เพื่อความครบเครื่องของบทความ พรุ่งนี้ค่อยมาต่อตอนที่
4. Example - ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน และ
5. Conclusion - สรุป
เวลา 19:30 ครับ
*ทำไม่ทันน่ะครับ สารภาพตรงๆ ฮ่าๆ
ขอบคุณที่รอคอยมา 3 วันนะครับ หวังว่าบทความนี้จะทำให้ท่านได้ความรู้ดีๆเช่นเคย
ขอบคุณที่ติดตามและคอยให้กำลังใจกระผมเสมอมาครับ
reference

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา