28 ธ.ค. 2019 เวลา 04:13 • ไลฟ์สไตล์
ต้นแบบแห่งการคิด!!
เราเติบโตมาในยุค 80 ที่มีครูเป็นต้นแบบ เพราะเราไปโรงเรียนได้ครูเป็นคนสอนหนังสือ เราเก่งก็เพราะคุณครูสอนเรา
ซึ่งผิดกับเด็กยุคนี้ที่มีครูเป็นเน็ตไอดอล เพราะหาความรู้ได้จากอินเทอร์เน็ต ดีไม่ดีใช้วิจารณญาณตัวเอง เด็กยุคนี้จึงต้องมีความฉลาดคิดมาก
ต่างกับยุคก่อน เรามี “ครู” เป็นต้นแบบ ครูจะกลั่นกรองมาก่อนว่า อันนี้ดี อันนี้ไม่ดีนะคะ ทำให้เราได้เรียนรู้แต่สิ่งดีๆ ชีวิตเซลบ้านนอกอย่างเราก็เช่นกัน เรามีครูก็คือหัวหน้าที่ค่อยสอนเรา
ในยุคที่ BlackBerry เข้ามาเป็นเครื่องมือยอดฮิตในการติดต่อสื่อสาร “พี่ชานน” เป็นครูคนแรกในธุรกิจสมาร์ทโฟน
ภาคตะวันตกที่มี “Data” เป็น 0 คือบทเรียนบทแรกที่ท้าทายเรามากในองค์กรแห่งใหม่ โจทย์แรกที่เราได้ฝึกก็คือสิ่งนี้
“ไม่มีลูกค้า” เลยสักคน โจทย์แรกที่ต้องแก้คือ การหาลูกค้าใหม่ทั้งหมด เรามีอาวุธเดียวคือ BlackBerry สินค้าแห่งอนาคตที่เทพมากในสมัยนั้น เพราะบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
เราเริ่มหาลูกค้าจากการลงพื้นที่กับพี่ชานน เพื่อสังเกตการณ์ร้านโทรศัพท์แต่ละพื้นที่ ไปยืนมองและลองสอบถามข้อมูลรอบๆ ร้านค้าเป้าหมาย
สมัยนั้นการเลือกผิดจะทำให้ชีวิตเปลี่ยน เราจะเลือกคนทำตลาดแค่หนึ่งคนเท่านั้นในพื้นที่ ดังนั้นการเลือกคนที่ดีที่สุด จึงเป็นเป้าหมายของเรา
แต่พอลงพื้นที่จริงคนขายมันมีมากมาย หลายจุดมีให้เลือกเป็นสิบร้าน เราก็นึกในใจแล้วจะเลือกร้านไหนฟ่ะ?
พี่ชานน แกก็ค่อยๆ สอนวิธีการเลือก วิธีการคุย และวิธีการสังเกตร้านค้าให้เรา ว่าเราต้องดูอะไรบ้าง
ลองถูกลองผิดมาก็หลายจุด แต่ก็ปรับกันตลอดเวลา เพราะเราต้องถามจนรู้ต้นทางของที่มาของสินค้า และปลายทางที่เค้าขาย เส้นทางมันมายังไง และเราจะตัดสายป่านนั้นยังไง?
มันเป็นอะไรที่สนุกมากในการเริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจสมาร์ทโฟน สมัยนั้นเซล BlackBerry นี่จะดูหล่อมาก มีแต่คนอยากมาเป็นลูกค้าเรา
มีความหยิ่งอี๊กเลือกเพียงหนึ่งที่ดีที่สุดในพื้นที่ เพื่อปั้นดินให้เป็นดาว โครงสร้างการคิดก็เหมือนหัวจ่ายในสมัยนี้นั่นแหละ เราขายคนเดียวให้เค้าไปจัดการส่งต่อเอง
ซึ่งต่างจากการขายในสมัยนี้ที่ต้องขายทุกร้านค้า จึงทำให้ต้องใช้เซลเป็นจำนวนมาก เพื่อลงกระชับพื้นที่ทุกจุด นั่นหมายถึงการลงทุนอันมหาศาล
ต่างจากวิธีการคิดแรกโครงสร้างหัวจ่ายที่ใช้เซลดูแลน้อย ที่เหลือหัวจ่ายไปทำงานต่อเอง ทำให้ประหยัดต้นทุนเรื่องคน
หากวัดผลลัพธ์แน่นอนการใส่คนในพื้นที่ย่อมดีกว่าแน่นอน ผลประโยชน์ต่างตอบแทนได้รับเนตไม่ต้องผ่านใคร
การเป็นเซลมันจึงไม่ง่าย เพราะต้องสั่งสมประสบการณ์ มีคนบอกว่าเราอย่าเป็นน้ำล้นแก้ว เราต้องเป็นแก้วที่พร้อมจะใส่น้ำลงไปได้เสมอ
ความยากมันจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัยและพฤติกรรมของผู้บริโภค แต่ในประเทศไทยที่พฤติกรรมมนุษย์ในประเทศยังชื่นชอบการบอกเล่า
influencer มีบทบาทมากขึ้นเท่าไหร่ เซลก็ยังคงมีบทบาทมากขึ้นเท่านั้น เพราะคนไทยนิยมการปฏิสัมพันธ์
หลายๆ พื้นที่ซื้อสินค้าเพราะเซล ดังนั้นการเป็นเซลที่แม้มันจะไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายที่จะเข้าถึงใจดีลเลอร์
โลกอนาคตฉันก็ไม่รู้หรอกว่า AI มันจะฉลาดสักเพียงไหน ต่อไปเราก็คงมีโรบอตสอนเราทุกอย่าง ครูจะยังอยู่ไหม? แล้วเราจะคิดเองได้หรือเปล่า?
แต่ในความเป็นเด็กยุค 80 ก็ยังชอบการใกล้ชิดแบบครูสอนนักเรียนมากกว่า ชอบปฏิสัมพันธ์ เพราะมันทำให้มีเรื่องเล่าหลายๆ อย่าง ส่งต่อประสบการณ์กันไป
วันเวลาเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน เราทำได้แค่เพียงปรับตัวแล้วก้าวตามมันให้ทัน
#วิถีเซลบ้านนอก
#iampatthanid

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา