27 ธ.ค. 2019 เวลา 09:05 • การศึกษา
Series สรุปหนังสือ Homo Deus แบบยาว
บทที่ 3 : The Human Spark (3/3)
ในสองPartที่ผ่านมา
Harari ชวนเรามาหาคำตอบว่า มีอะไรพิเศษอยู่ในตัวของมนุษย์ ที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆ และทำให้ Sapiens ได้ปกครองโลกใบนี้ โดยการยกประเด็นต่างๆมา Discuss ให้ผู้อ่านนำไปพิจารณาอีกทอดหนึ่ง
Harari แย้งว่า....
ไม่ใช่เพราะมนุษย์มีจิตวิญญาณ เพราะมันขัดกับทฤษฎีวิวัฒนาการ
ไม่ใช่เพราะ มนุษย์มีความรู้สึกและมีความรู้ตัว (Emotion & Consciousness) เพราะสัตว์อื่นๆมันก็มี มากไปกว่านั้น ตอนนี้เราก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่ามันเกิดมาได้ยังไง หน้าที่ของมันคืออะไรกันแน่
ไม่ใช่เพราะ Sapiens มีมันสมองที่ฉลาดที่สุด หรือทำเครื่องมือได้ เพราะ Sapiens อยู่ในธรรมชาติมาหลายล้านปี ก่อนจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มันรู้วิธีทำเครื่องมือมานานแล้ว Ape หลายๆชนิดก็รู้วิธีทำเครื่องมือ แต่ก็มาได้ไม่ไกลขนาดนี้
ไม่ใช่เพียงเพราะ Sapiens รู้จักภาษาและสื่อสารกันได้ เพราะสัตว์ตัวอื่นๆก็มีวิธีสื่อสารกันในแบบของมัน เท่านั้นไม่พอ สัตว์บางชนิดยังสามารถวางแผนอนาคต และคิดถึงอดีตได้อีกด้วย
ใน Part สุดท้ายนี้ Harari จะมาเฉลยว่า อะไรที่ทำให้ Sapiens กลายมาเป็น Species ที่ปกครองโลกใบนี้ได้ครับ
ยังมีใครตามอ่านไหมครับ 555
Long Live The Revolution
Large Scale Cooperation นั้นมีให้เห็นทั่วไปในประวัติศาสตร์
การที่โรมันเอาชนะกรีซไปได้ ไม่ใช่เพราะพวกโรมันมีมันสมองใหญ่กว่าหรือสร้างเครื่องมือเก่งกว่า แต่เป็นเพราะพวกเขาสามารถร่วมมือกันได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
ไม่ใช่เฉพาะสงคราม การปกครองคนก็เช่นกัน
ในปี 1914 ชนชั้นนำชาวรัสเซียเพียแค่ 3 ล้านคน ก็สามารถปกครองชนชั้นล่าง และเหล่าชาวนาที่มีจำนวน 180 ล้านคนได้ เพราะชนชั้นนำพวกนั้นรู้ว่าจะร่วมมือยังไงในการป้องกันผลประโยชน์ของพวกเขา
แต่ชาวนา 180ล้านคนนั้นไม่ได้รู้เรื่องอะไร และไม่สามารถร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่จำนวนขนาดนั้น ก็สามารถล้มการปกครองของเหล่าชนชั้นนำเมื่อใดก็ได้
การปฏิวัติ ( Revolution ) จะเกิดได้นั้น แค่จำนวนคนอย่างเดียวไม่พอ
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เครือข่ายแกนนำ (small networks of agitator)
คำถามสำคัญในการปฏิวัติจึงไม่ใช่ว่าฉันมี supporter เท่าไหร่
แต่เป็นว่า ฉันมีคนที่สามารถทำให้เกิด Effective collaboration ได้มากน้อยเพียงใด
ดังนั้นแล้วการปฏิวัติรัสเซียไม่ได้เกิดจากที่อยู่ดีๆ มีคน 180 ล้านลุกฮือขึ้นมาได้ แต่เป็นเพราะมีกลุ่ม คนที่เชื่อในลัทธิ communist จำนวนหนึ่ง ที่มาอยู่ถูกที่ถูกเวลา [place themselves at the right place and the right time (เพียงแค่ 23,000 คน)] พวกเขาทำให้เหล่า 180 ล้านคนลุกฮือ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
อีกตัวอย่างที่ Harrari เสนอ คือกรณีของผู้นำเผด็จการชาวโรมาเนีย ชื่อ Nicolae Ceaușescu (นิโคไล เชาเชสกู)
ตั้งแต่ปี 1965 , กระแสการปฏิวัตนั้นมีมาก่อนหน้านั้นแล้วหลายวัน แต่ด้วยความที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าเขายังมีอำนาจอยู่ เขาจึงจัด Speech และเกณฑ์คนมาอย่างน้อย 60,000 คน บรรยากาศงานนั้นก็ดูเหมือนที่ผ่านๆมา
แต่เมื่อเขาพูดไปได้มีกี่นาที จากเสียงปรบมือก็เริ่มกลายเป็นเสียงโห่ร้อง หน้าของผู้นำสูงสุด ก็ค่อยๆถอดสี
และนั่นคือ Moment ที่ Communism Collapse ออกสื่อทีวี ที่เด่นชัดที่สุดในประวัติศาสตร์
Moment ที่บุคคลที่มีอำนาจมากสุดในประเทศ "หน้าถอดสี"
ดูบันทึกประวัติศาสตร์นี้ได้ที่
ในกรณีนี้ คำถาม คือ ทำไมมันจึงพึ่งจะมาล่มสลาย?
ทำไมคนหลายหมื่นคนซึ่งมีกำลังมากกว่าผู้ชายแก่ๆที่กำลังพูดปราศัย จึงยอมปรบมือและอยู่ในอาณัติมาหลายสิบปี ?
Harari อธิบายว่า Nicolae Ceaușescu และลูกน้องของเขา ปกครองโรมาเนีย ได้ถึงสี่สิบปี ด้วยองค์ประกอบสำคัญสามอย่าง
1. เขาใส่คนที่ศรัทธาและจงรักภักดีในระบบคอมมิวนิส อยู่ในทุกเครือข่ายที่สำคัญต่อการร่วมมือกัน( in control of all networks of cooperation) เช่น กองทัพ สหภาพ หรือแม้แต่สโมสรกีฬา
2. เขาป้องกันไม่ให้มีการสร้าง rival organization ไม่ว่าจะทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งวันดีคืนดีจะเติบโตเป็นรากฐานสู่ Anti-communist cooperation ได้
3. พวกเขาพึ่งพา support จากพรรคคอมมิวนิสอื่นๆใน สหภาพโซเวียต
ด้วยองค์ประกอบสามอย่างนี้ แม้คน 20ล้านจะทุกเข็ญแค่ไหน พวกเขาก็ไม่สามารถ organize effective opposition ได้
Nicolae Ceaușescu ตกลงจากอำนาจเมื่อ condition ทั้งสามนี้หมดไป
แต่อย่างไรก็ตามอำนาจนั้นก็ไม่ได้ผ่านจากมือเขาไปยังผู้คน
มันแค่ผ่านไปสู่เผด็จการคนอื่นต่อไป เพราะคนนั้นแม้จะมีมาก แต่ไม่รู้วิธีทีจะดูแลอำนาจที่เขาได้มาต่อยังไง (Effective Organization to look after their own interest)
สุดท้ายอำนาจก็ตกไปอยู่กับคนกลุ่มน้อย ที่สามารถร่วมมือกันได้มีประสิทธิภาพกว่า
ชะตากรรมของพวกเขาจึงไม่ได้ดีอะไรขึ้นมากนัก
Beyond Sex and Violence
ถ้า Sapiens ขึ้นมาปกครองโลกใบนี้ได้ เพราะว่าพวกมันเป็น species เดียวที่สามารถ cooperate flexibly in large number ได้
นั่นก็แปลว่า ถ้ามองในแง่ Sapiens ตัวเดี่ยวๆนั้น จะพบว่าเราก็ทำอะไรตัวคนเดียวไม่ค่อยได้ และไม่ได้มีอะไรดีไปกว่าสัตว์ตัวอื่นๆมากมายนัก (อยู่คนเดียวในที่นี้ อารมณ์แบบหลงตัวคนเดียวในป่า ต้องเอาตัวรอดเอง โดยมีแค่ 1สมอง 2มือ แนวๆนั้นครับ)
ทำไมมนุษย์เท่านั้นที่สามารถร่วมมือกัน เป็นจำนวนมหาศาลได้?
ดังที่บอกว่า flexibility นั้นก็มีให้เห็นในสัตว์บางตัว เช่น chimpanzee แต่พวกมันต้องรู้จักกันดี และต้องตั้งลำดับขั้นทางสังคมก่อน (establish social hierarchy) จึงจะทำงานด้วยกันได้ มันจึงใช้เวลามากมายในการมีปฏิสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นการผลัดกันหาเหา ปัดขน หรือไม่ก็เปิดฉารสู้กันไปเลย
เราพบพฤติกรรมนี้ในลิง bonobo (Ape ชนิดหนึ่ง) เช่นกัน แต่จะต่างกันที่มันมักใช้ sex เป็นเครื่องมือในการสร้าง social bond และลดความตรึงเครียด
Sapiens อย่างเราๆรู้ดีว่า การต่อสู้กัน หรือการมี Sex ช่วยทำให้เกิดความร่วมมือกันได้อย่างไร แต่นั่นคงไม่พอสำหรับ large scale cooperation
งานวิจัยพบว่าคนเราสามารถมีความสัมพันธ์แบบสนิทกัน ( intimate relation) ได้ไม่เกิน 150 คนเท่านั้น
ดังนั้นแล้วหาก intimate relation ไม่ใช่ Key ที่ทำให้คนเราร่วมกันได้มากมายมายมหาศาล สิ่งที่ว่านั้นมันคืออะไร?
แต่ก่อนอื่น ต้องมารู้จักข้อจำกัดในการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์เมื่ออยู่เป็นกลุ่มใหญ่ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร?
สิ่งที่ยากในการที่จะอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เมื่ออยู่เป็นกลุ่มใหญ่ (large scale) ก็คือการหาหลักฐานงานวิจัยมา Back up ... เวลาที่เราพยายามจะอธิบายอะไรนั้น เราก็มักหาหลักฐานมาอ้างอิง ในกรณีนี้ ถ้าถามว่ามีหลักฐานการทดลองมั้ย ก็ต้องตอบว่า มี
แต่ในทางสาขาจิตวิทยา สังคมศาสตร์ หรือแม้แต่เศรษศาสตร์ หรือสาขาใดๆที่พยายามอธิบายพฤติกรรมมนุษย์นั้น การทดลองมันทำผ่านห้องแล็บ ซึ่งก็มักจะมีผู้ร่วมทดลองแค่ไม่กี่คน
สิ่งที่เรามักจะพบเจอก็คือ พวกนักวิจัยก็จะพยายามเอาผลที่ได้ในการทดลอง ซึ่งมาจากคนไม่กี่คนนี้ ไปขยายความ ( Extrapolate ) อธิบายคนในกลุ่มใหญ่ๆ
ปัญหาอยู่ที่ว่า พฤติกรรมมนุษย์เมื่อในเป็นกลุ่มใหญ๋ๆ กับมนุษย์เดี่ยวๆหรือเมื่ออยู่ในกลุ่มเล็กๆ .... มันต่างกัน
เช่น ใน เกมยื่นคำขาด "Ultimatum Game" ซึ่งมักมีผู้ร่วมทดลองแค่สองคน
กติกาเกมส์นี้คือ ให้เงินจำนวนหนึ่ง สมมติ หนึ่งร้อยดอลล่า แล้วให้ผู้ร่วมทดลองเอาเงินไปแบ่งกัน โดยที่จะมีคนๆนึงเป็นคนเลือกว่าจะให้อีกคนเท่าไหร่ แล้วอีกคนนั้นก็ต้องเลือกว่าจะรับเงินไว้มั้ย
ถ้าไม่รับ ก็จะไม่มีใครได้อะไรเลย
ถ้าเราใช้ Classical Economics อธิบาย มันก็จะได้ว่า ถ้าคนที่ได้เงินไป เก็บไว้กับตัวเอง 99 แล้วให้อีกคน 1 ยังไงคนที่ได้ 1 นั้นก็ต้องรับ เพราะมันก็ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ซึ่งก็ฟังดูสมเหตุสมผลดี แต่เรารู้ดีว่าชีวิตตริงไม่ใช่อย่างนั้น คนส่วนใหญ่คงไม่รับข้อเสนอสุดเอาเปรียบนี้ เพราะมันไม่แฟร์ เขายอมไม่ได้อะไรเลย ถ้าฝ่ายนั้นก็ไม่ได้อะไรด้วย
ดังนั้นแล้ว Sapiens จึงไม่ได้ประพฤติตัวด้วย Mathematical Logic ใดๆ เขาเพียงแต่ทำไปตามSocial logic เท่านั้น (หรือก็คืออารมณ์นั่นเอง)
Emotion ที่ปกครองเราอยู่นี้ก็คือ algorithm นั่นเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง social mechanism ของการใช้ชีวิตของ Sapiens โบราณ คือเป็นกลุ่มของนักเก็บรวบรวมและนักล่า ( ancient hunter-gatherer bands )
เพราะเมื่อสามหมื่นปีก่อน หากคุณไปช่วยอีกคนในการล่าสัตว์ แต่ไอ้คนที่คุณช่วย ดันแบ่งเพียงเศษเสี้ยวของเนื้อมาให้คุณ เราก็คงไม่รับมัน แต่เราจะสู้กับไอ้คนที่ทำไม่ดีกับเราเต็มที่ เพื่อไม่ให้ครั้งหน้ามันกล้าเอาเปรียบเราอีก เรา Refuse unfair offer เพราะ ถ้าเราเป็นพวกที่ง่ายๆอะไรก็ได้ในยุคหิน เราก็จะไม่รอด เพราะโดยเอาเปรียบจนตายไปเลยนั่นเอง
Mechanism นี้เป็นจริงในฝูงชิมแปนซีด้วยเช่นกัน
Mechanism นี้ ทำให้หลายๆคนเชื่อว่า primate มี natural morality and equality นั่นคือ พวกเรานั้นเกิดมาด้วยความเชื่อในความเท่าเทียมกัน ความเชื่อนี้อยู่ใน DNA มันฝังในสมองเรามาแต่กำเนิดแล้ว
แต่ในโลกความเป็นจริง มันเป็นแบบนี้เหรอ?
ถ้ายึดตาม Ultimatum Game ก็จะพบว่า มันเป็นไปไม่ได้เลย ที่โลกเรายังไปต่อได้ ใน Setting ที่มีคนเสวยสุขอยู่เบื้องบน รวยเอาๆ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยอีกด้านหนึ่ง คนที่จน ก็จนเอาๆ
ถามว่า อะไรทำให้ความเหลื่อมล้ำสุดขั้วนี้ มันยังดำเนินอยู่ได้?
นั่นเพราะ Mechanism ของ Ultimatum game นั้น อธิบายพฤติกรรมได้ดีเฉพาะในระดับ Scale ฝูงลิง หรือ band of hunter gatherer ซึ่งมีจำนวนคนไม่มาก
แต่นี่เรากำลังพูดถึงผู้คนในอาณาจักร ซึ่งมีจำนวนมหาศาล
คุณอาจเป็นชาวนาอียิปแร้งแค้น กัดก้อนเหลือกิน แต่คุณก็ยินดีที่กษัตริย์ของคุณมีกินมีใช้ฟุ่มเฟือย และยินดีที่ตัวเองยังพอมีกินบ้าง
หรือคุณอาจเป็นทหารที่ยืนอยู่ในขบวนต่อหน้ากษัตริย์ คุณกำลังจะไปตาย แต่คนยืนดูอยู่นั้นก็แทบไม่ต้องทำอะไร ทำไมหลายหมื่นคนในกองทัพคิดไม่ได้ แล้วไม่ไปจัดการกษัตริย์หละ?
จะเห็นได้ว่า model ของ ความยุติธรรม ดังเช่นสิ่งที่เกิดขึ้นใน Ultimatum game คงอธิบายปรากฏการเช่นนี้ไม่ได้
ในทำนองเดียวกัน หากคุณเอาคน 2 ล้านคน แบ่งเป็นฝั่งละล้าน มาแบ่งเงิน แสนล้านหละ มันจะเกิดอะไรขึ้น? คนหนึ่งล้านคนคงไม่สามารถมีมติเอกฉันท์ในการแบ่งเงินได้ แต่ละกลุ่มอาจจะตั้งคนมาเป็นกรรมการกลาง และกรรมการพวกนั้นอาจจะไปตกลงกับกรรมการอีกฝั่ง แล้วฮั้วกันเอง โดยเก็บเงิน 9หมื่นล้านไว้กับพวกนั้น แล้วเอาอีกหมื่นล้านแจกจ่ายให้ที่เหลือ เป็นต้น หรือผู้นำในกลุ่มอาจจะไม่ให้เงินกับใครเลย แต่จะขู่ถึงความผิดบาปและชีวิตหลังความตาย หากมีผู้ใดขัดขืน เป็นต้น
All large-scale human cooperation สามารถ Stable ได้ ผ่านการเชื่อใน Imagined Order ซึ่งก็คือกฏอะไรบางอย่าง ที่มีอยู่ในจินตนาการของเรา แต่เราเชื่ออย่างแรงกล้าว่ามันจริงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตราบใดที่ Sapiensอื่นๆที่อาศัยในละแวกเดียวกันก็เชื่อมัน เช่น การเชื่อในพระเจ้าแห่งของคนยุคสมัยอียิป เป็นต้น
และนี่แหละ คือสิ่งที่ทำให้ sapiens สามารถร่วมมือกันในระดับมหาศาลได้ ( organise mass-cooperation network ) ในขณะที่ Chimpanzee ทำไม่ได้
The Web of Meaning
Idea ของ ‘Imagined Order’ นั้นอาจเข้าใจยากไปหน่อย ก่อนอื่นเราต้องรู้จัก Reality กันก่อน
โดยทั่วไปเราจะคิดว่าเรามีความเป็นจริง 2 แบบ คือ (2 types of reality) นั่นคือ Objective Reality และ Subjective Reality
Objective Reality: สิ่งนั้นๆมีอยู่จริง และเป็นจริง โดยไม่สนว่าคุณจะคิดยังไงกับมัน เช่น คุณอาจจะเชื่อหรือไม่เชื่อในแรงดึงดูดก็ได้ เพราะแม้คุณไม่เชื่อ มันก็จะยังคงมีอยู่อยู่ดี
Subjective Reality: คือความจริงที่เป็นของคุณคนเดียว เช่น คุณอาจรู้สึกปวดหัวมากๆ แต่ไปตรวจแล้วยังไงๆ ก็ไม่เจออะไร อาการปวดหัวนั้นเป็นจริงสำหรับคุณ แบบแท้แน่นอน100% แต่กับคนอื่นเขาก็ไม่ได้รู้สึกอะไร
Subjective Reality คือความจริงของฉัน คือสิ่งที่เรารับรู้เพียงคนเดียว
การเชื่อว่าความจริงมีเพียงสองแบบนี้ ก่อให้เกิดปัญหา เช่นหากคุณเชื่อในพระเจ้า เชื่อในคุณค่าของเงิน และคนๆอื่นหลายๆคนก็เชื่อ คุณจะสรุปไปว่ามันเป็น Objective reality คือมีอยู่จริง ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เช่น
ถ้าคุณบอกว่าเงินคือ Objective reality แสดงว่าเงิน 100 ดอลล่าต้องมีค่า ไม่ว่าคนๆนั้นจะเชื่อในดอลล่า หรือไม่เชื่อ (เป็นคนป่า) ซึ่งก็ไม่ใช่ เพราะสำหรับคนป่านั้น ดอลล่าคงไม่มีค่าอะไรเลย
ต่างจาก action=reaction หรือ แรงโน้มถ่วงโลก ที่แม้ขึ้นจะไม่รู้จักวิทยาศาสตร์เลย มันก็ยังเป็นจริงกับคุณ
ดังนั้น Harari จึงบอกว่ายังมี Reality แบบที่ 3 นั่นคือ Inter-subjective Reality
Intersubjective Reality คือ ความจริงที่อยู่ใน การสือสารระหว่างมนุษย์ (communication among humans) ซึ่งเป็นมากกว่าความเชื่อส่วนบุคคล
ซึ่งสิ่งสำคัญในโลกมนุษย์และประวัติศาสตร์นั้นก็มักเป็น Intersubjective reality นี้ เช่น เงิน
เงิน ไม่มีคุณค่าใดๆในตัวมันเอง คุณเอามันไปกิน ดื่ม สวมใส่ อาศัย ไม่ได้ แต่มันไม่สำคัญ เพราะตราบใดที่คนอีกหลายพันล้านคนเชื่อในคุณค่าของเงิน มันก็จะยังมีค่า
คุณเอามันไปซื้อปัจจัยสี่ได้ ถ้ามีคนใดคนหนึงเพี้ยนขึ้นมาไม่ยอมรับเงินของคุณ มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่
แต่หากวันใดประเทศของคุณล่มจม นานาชาติปฏิเสธค่าเงินของคุณ กระดาษในมือคุณก็จะไม่มีค่าใดๆทันที
ไม่ใช่เพียงแค่เงิน แต่รวมถึงกฏหมาย พระเจ้า และอาณาจักรอีกด้วย
เช่น Soviet Union นั้นเคยมีอำนาจมากมาย จนสามารถล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ได้ แต่ในเดือนธันวา 1991 เพียงแค่ผู้นำของรัสเซีย ยูเครน และเบลารุส เซ็นลงนามใน Belavezha Accord โซเวียดก็หายไปทันทีจากประวัติศาสตร์ ไม่มีตัวตนอีกต่อไป
แน่นอน คำว่า Intersubjective reality นี้ดู make sense ดีเมื่อใช้กับเงิน กฏหมาย เทพเจ้าโบราณ
แต่ดราม่าจะบังเกิด หากเราบอกว่า พระเจ้า ประเทศ และขนบธรรมเนียมของเรา ก็อยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน คือเป็นแค่ Fiction ทีให้ความหมายกับชีวิตเรา เราอยากเชื่อว่าชีวิตเรามีความหมายเพื่ออะไรบางอย่าง แต่แท้จริงแล้ว'ความจริง' ที่ว่านั้นก็มีนิยามอย่างจำกัด มันมีความหมาย (Meaning) อยู่แค่ในหมู่คนที่เชื่อในเรื่องเดียวกันกับเราเท่านั้น (Have meaning only within the network of stories, we tell one another)
Meaning สร้างขึ้นมาเมื่อทุกๆคนร่วมกัน ถักทอ เรื่องราวต่างๆให้เป็นnetwork ซับซ้อน
การกระทำหลายๆอย่าง เช่น จับช้อนมือขวา แต่งงานในโบสถ์ การถือศีลอด งดเหล้าเข้าพรรษา มีความหมายกับเรา เพราะพ่อแม่เราเชื่อในมัน เพราะเพื่อนๆเราก็ทำ เพราะคนในประเทศก็เชื่อแบบนี้
แล้วทำไมคนอื่นถึงเชื่อแบบนี้ ก็เพราะคนอื่นๆเชื่ออีกที เกิดเป็น self-perpetuating loop ของการสร้างหมายความขึ้นมา ยิ่งหยั่งรากลึกเท่าใด ก็ยิ่งแน่นหนาเท่านั้น จนยากที่เราจะหา choice อื่นๆ หรือคิดเป็นการอื่นใด้
อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ก็ได้บอกเราว่า ในช่วงเวลาหลายสิบหลายร้อยปีที่ผ่านมากนี้ Web of meaning ไม่ได้หยุดนิ่งตายตัว มันมีการคลายออก ขมวดปมใหม่ ทำให้เกิดเป็น new meaning มาแทนที่ เป็นระยะๆ
เราจึงเห็นปรากฏการณ์ที่ว่า เรื่องหลายๆเรื่องสำคัญ สำหรับคนในบางยุค จึงกลายเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับคนยุคถัดไป
เช่น ปี 1187 Saladin ชนะสงครามครูเสดและยึดเยรูซาเล็มได้ พระสันตะปาปาจึงเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่สาม เพื่อยึดเมืองศักสิทธิ์นี้กลับมา
สมมติว่า มีอัศวินหนุ่มคนหนึ่งชื่อจอน จอนเชื่อใน Objective meaning เชื่อในพระเจ้า เชื่อในสวรรค์ เชื่อในนรก เชื่อในชีวิตหลังความตาย
การตายเพื่อพระเจ้าคือเกียรติอันยิ่งใหญ่ จอนเชื่อสิ่งเหล่านี้เพราะเขาโตมากับครอบครัวที่เชื่อสิ่งนี้ กับละแวกเพื่อนบ้านที่เชื่อสิ่งนี้ กับอาณาจักรที่เชื่อสิ่งนี้ วันที่จอนออกเดินทาง พ่อแม่ของเขาก็ไปส่งโดยความปราบปลื้มใจ
แต่เมื่อจอนเดินทางไปถึงสนามรบ สิ่งที่เห็นนั้น ไม่ใช่ชาวมุสลิมไร้อารยะธรรม หรือ นักรบที่เป็นสัตว์ร้าย
แต่คือคนๆหนึ่ง ที่เชื่อสิ่งๆต่างๆเหมือนจอน นักรบมุสลิมคนนั้นเชื่อในสวรรค์ นรก กรรมดี ความชั่ว เพียงแต่เขานับถือพระเจ้าคนละองค์กัน
และนักรบมุสลิมคนนั้น ก็เชื่อเช่นกันว่าถ้าเขาตายไปจากการรบ ก็จะขึ้นสวรรค์
พอเรื่องราวยุคกลาง (Medieval) นี้ก็ผ่านพ้นไป Web of meaning เดิมนี้ก็คลายออกมา
จากยุคที่ Pope มีอำนาจล้นฟ้า ไปสู่ยุค Renaisance ที่ Pope กลายเป็น Devil In the rome .... จากยุคที่นักรบเพื่อพระเจ้า ก็กลายเป็น นักรบพลีชีพเพื่อกษัตริย์
ปัจจุบันเรื่องราวพวกนี้ ก็เป็นแค่ประวัติบทหนึ่งเท่านั้น แต่ในอดีต มันเป็นเรื่องที่ "จริง" มากๆ และกำหนด ตัดสิน ชะตาชีวิตของใครไปหลายๆคน
หากมีใครพูดถึงการออกรบเพื่อดินแดนศักสิทธิ์ในยุคนี้ คนๆนั้นคงโดนหาว่าบ้า ไม่มากก็น้อย
จากสมัยก่อนที่ชีวิตคนไม่เท่ากัน แบ่งชนชั้นวรรณะกันโจ่งแจ้ง ตอนนี้ก็ทุกคนก็ต้องเชื่อใน Human right เชื่อว่าคนมีสิทธิ์พื้นฐานเท่าเทียมกัน
Dreamtime
Sapiens ปกครองโลกนี้ได้ ก็เพราะมันสามารถถักทอโครงข่ายของ Intersubjective reality นี้ให้ซับซ้อนและขยายมากขึ้นเรื่อยๆ กลายมาเป็น Web of Meaning อันมหาศาล
โครงข่ายของความเชื่อต่างๆ เช่น เงิน กฏหมาย พลังอำนาจ ที่มีอยู่แค่ในดินแดนแห่งจินตนาการของผู้คนเพียงจำนวนหนึ่งนั้น ก็มีความแข็งแกร่งมากเสียจนทำให้เหล่าผู้คนสามารถก่อสงครามศาสนาได้ ปฏิวัติคอมมิวนิสได้ หรือนณนงค์เรื่องสิทธิมนุษยชน ก็ได้
สัตว์ตัวอื่นๆ อาจจินตนาการได้ เช่น แมวจินตนาการถึงรสชาติหนู แต่ความรู้เท่าที่มีตอนนี้ มันคงทำได้แต่จินตนาการไปถึงสิ่งที่มีตัวตนจริงๆ (objective reality)
และแมวตัวนั้นก็อาจจะสื่อสารกับแมวตัวอื่นได้ แต่อีกเช่นกัน มันสื่อสารได้แค่สิ่งที่มีอยู่จริง มันคงไม่สามารถสร้างสิ่งในจินตนาการขึ้นมาในหัว แล้วไปชักชวนให้แมวอีกตัวเชื่อเหมือนมันด้วย
Sapiens จึงแยกกับสัตว์ชนิดอื่นได้ และกลายมาเป็นSpecies ที่ครองโลก เพราะเหตุอันนี้
เพราะ Sapiens สามารถสร้าง Intersubjective reality ที่นำไปสู่การร่วมมือกันได้อย่างมหาศาลใน Species นั่นเอง
ความสามารถในการสร้าง Intersubjective Reality นี้ นอกจากมันจะแยกเรากับสัตว์ตัวอื่นแล้ว มันยังแยก มานุษวิทยา (Humanity) ออกจาก Life Science
Humanities เน้นศึกษาความสำคัญของ Intersubjective Entity ว่ามันได้ส่งผลกระทบกับมนุษย์มากแค่ไหนจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าพวกเขาไม่สนใจเรื่อง objective factor เลย เช่นเรื่องพันธุกรรม
แต่พวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องที่ผู้คนแต่งและเชื่อมากกว่า เช่น การที่เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ มีความแตกต่างกันมหาศาล มันไม่ใช่เพราะว่าคนในสองประเทศนั้นมีพันธุกรรมที่ต่างกัน หรือเพราะอากาศภาคเหนือเย็นกว่า
แต่เพราะว่าเกาหลีเหนือมี Fiction ชนิดคนละโลกปกคลุมผู้คนอยู่นั่นเอง
ในขณะที่ Biologist เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ที่เกิดมาจากฝีมือ จากความนึกคิดของมนุษย์นั้น มีคำตอบอยู่ใน Genetic code และ Neuron ในสมอง เราเพียงแต่รอให้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เผยออกมา
พวกเขาเชือว่า การกระทำทุกอย่าง เช่นสงครามครูเสด ท้ายสุดแล้ว มันจะอธิบายได้ด้วยหลักทางวิวัฒนาการและชีววิทยา
แน่นอนว่าในอนาคตความเจริญทาง Neurobiology อาจจะมาถึง และมันจะอธิบายได้หมดว่า Communist และ Crusade นั้นสามารถอธิบายได้อย่างไร ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่เราคงยังไกลจากจุดนั้นมาก
ในศตวรรษนี้ border ระหว่าง history and biology มีแนวโน้มแบ่งแยกไม่ชัดเจนมากขึ้น ( Blurred Border) ไม่ใช่เพราะว่า biology จะมาอธิบาย history ได้หมด แต่กลับกัน คือ Fiction จะมา rewrite DNA ของมนุษย์
Harari เสนอว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกล้นั้น
ไม่ใช่ว่าความเจริญก้าวหน้าทางชีววิทยา จะมา Disrupt ไขปริศนา เรื่อง Intersubjective Reality และทำให้มันหมดความสำคัญไป เพราะสุดท้ายแล้วทุกอย่างจะอธิบายได้ด้วยปฏิกิริยาเคมีในสมอง
แต่สิ่งจะเกิดคือ Intersubjective Reality หรือ Fiction ของเหล่ามนุษย์ชาตินั้น จะทวีอิทธิพลมากยิ่งกว่าเดิม ด้วยความเจริญทางวิทยาศาสตร์
Fiction ของมนุษยชาติ เช่นระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ที่คราวนี้ได้ติดอาวุธเพิ่มจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์ นี่แหละ ที่จะไปกำหนดชะตากรรมของสภาพอากาศ กำหนด Genetic Code ของมนุษย์
Intersubjective Reality จะกลืนกิน Objective Reality
Biology จะถูกผนึกหลอมรวมไปกับ History
ดังนั้น ในศตวรรษอันใกล้นี้ Fiction จะเป็นสิ่งที่ทรงกำลังที่สุดในโลก
มันจะมีพลังเปลี่ยนแปลกโลก มากกว่า อุกาบาต หรือ natural selection
ดังนั้นหากเราต้องการเข้าใจในอนาคต ....การไขปริศนา Genome หรืออาศัยแต่เรื่องวิทยาศาสตร์อย่างเดียว คงไม่พอ
เราจะต้องไขปริศนา Fiction ที่ว่านี้ ว่าตอนนี้เรากำลังถูกครอบด้วย Fiction อะไรอยู่ มันมาได้ยังไง และมันกำหนดความหมายให้เราอย่างไรบ้าง
ติตตาม อัพเดท บทความอื่นๆ ได้ที่ FB : ในโลกของคนอยู่เป็น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา