Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Observing Mind
•
ติดตาม
26 ธ.ค. 2019 เวลา 02:34 • การศึกษา
Series สรุปหนังสือ Homo Deus แบบยาว
บทที่ 3 : The Human Spark (2/3)
ต่อจากตอนที่แล้ว ที่ Harari ชวนเรามาหาคำตอบว่า มีอะไรพิเศษอยู่ในตัวของมนุษย์ ที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆ และทำให้ Sapiens ได้ปกครองโลกใบนี้
เป็นเพราะ มนุษย์ มีจิตวิญญาณ(Soul)งั้นหรือ? ก็คงไม่ ด้วยเหตุผลมากมายต่างๆที่เขาได้ยกมา หนึ่งในเหตุผลนั้นก็คือ เพราะมันขัดกับทฤษฎีวิวัฒนาการ
ต่อมา Harari ตั้งคำถามว่า หรือเพราะมนุษย์มีความรู้สึกและมีความรู้ตัว (Emotion & Consciousness) ?
ซึ่งก่อนที่เขาจะชวยเราถกกัน ว่าอารมณ์ความรู้สึกมันช่วยแยกเราออกจากสัตว์ชนิดอื่นๆจริงๆใหม เขาชวนเรามาคิดก่อนว่า หน้าที่ของอารมณ์และความรู้สึก คืออะไร มันเกิดมาได้อะไร มันมีประโยชน์จริงๆหรือไม่
ก่อนจะจบ Part I ด้วยว่า จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่รู้ว่าอารมณ์ความรู้สึกนั้น มีหน้าที่อะไรกันแน่ในสิ่งมีชีวิต
ทฤษฎีที่ดีที่สุด คืออารมณ์และความรู้สึก เป็นผลพลอยได้ (By product) จากการทำงานของเซลล์ประสาทล้านๆเซลล์ในสมอง
ความรู้สึก และ ความรู้ตัว (Emotion and consciousness) เป็นแค่ Mental pollution ที่เกิดในสมอง
ส่วนใน Part II นี้ จะยกประเด็นว่า Consciousness คืออะไร? Computer จะมีได้ใหม และสัตว์ชนิดอื่นๆ จะมีมันหรือไม่ครับ
เยี่ยมชม
theobservingmind.co
รีวิวหนังสือ: Homo Deus - A Brief History of Tomorrow - The Observing Mind
ภาคต่อของ Sapiens ที่ยังคงความยอดเยี่ยม แหลมคม จะเกิดอะไรขึ้น? หาก Homo Sapiens (“Knowing Man”) คิดจะอัพเกรดตน กลายเป็น Homo Deus (“God Man”)
....หรือว่าเรามองโจทย์คำถามผิดตั้งแต่ต้น?
Life Science มองว่า ชีวิตเป็นแค่กระบวนการของ data processing แบบหนึ่ง และสิ่งมีชีวิตก็คือ เครื่องมือ ที่สามารถคำนวณและตัดสินใจอะไรต่างๆได้ ซึ่งการเปรียบเทียบนี้อาจทำให้เราเขว เลยไม่สามารถหาคำตอบแท้จริงได้ว่าทำไมเราจึงมี Consciousness
เรามักพยายามหาเปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยเข้าใจ โดยการพยายามใช้สิ่งที่เราเข้าใจกว่า มาอธิบาย เช่น
ก่อนการมาของคอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ก็เคยเปรียบเทียบว่าสมองและจิตใจคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรไอน้ำ
ซึ่งเห็นได้ชัดแนวคิดจิตวิทยาของ Sigmund Freud เช่น Freud อธิบายว่าที่กองทัพต้องเกณฑ์คนหนุ่ม และต้องพยายามกด Sex Drive ของพวกเขาไว้ ก็เพื่อให้ความรู้สึกนั้นกักเก็บไว้ภายในจิตใจพวกเขา ให้มันสะสมไปเรื่อยๆ แล้วรอให้มันถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของความรุนแรงเวลาทำสงคราม
1
ซึ่งคำอธิบายนี้ก็คือการเอาเรื่อง Steam engine มาอธิบายนั่นเอง
ย้อนกลับมาในปัจจุบัน เรามีคอมพิวเตอร์ซึ่งทันสมัยกว่ามาก ดังนั้นเราจึงพยายามนำแนวคิดที่ทันสมัยที่สุดมาอธิบายเรื่องของจิตใจ ซึ่งยังคงซับซ้อน
ปัญหาคือ การเอาคอมพิวเตอร์มาเทียบกับการทำงานของจิตใจนั้นก็ดูแปลกๆ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่มีจิตใจ มันไม่มีความต้องการ มันไม่รู้สึกเจ็บปวดเวลาโดน censor ข้อมูล เป็นต้น
แล้วเรารู้ได้ยังไง ว่า คอมพิวเตอร์ ไม่มีจิตใจ?
เรารู้ได้อย่างไร ว่า คอมพิวเตอร์ ไม่มีความรู้สึก?
โอเค ตอนนี้มันก็ดูไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่หากมันถูกพัฒนาได้ฉลาดขึ้น ทำงานซับซ้อนได้มากขึ้น มันก็อาจจะพัฒนาความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาก็ได้?
หากวันที่คอมพิวเตอร์มาแทนที่คนขับรถ มาแทนที่อาจารย์ของเราได้เต็มตัว เราจะรู้ได้ยังไงว่ามันมีความรู้สึกแล้ว หรือมันยังคงเป็นแค่ mindless algorithm ??
แต่เรารู้ได้ว่าคนๆหนึ่ง แม้จะนิ่งสนิท ทำแค่การหายใจ ไม่ตอบสนองต่อโลกภายนอกอะไรเลย ยังมีความรู้ตัวอยู่หรือไม่ โดยการใช้ fMRI
เช่น ในคนที่ป่วยเป็นผักจาก stroke เรารู้ได้อย่างไรว่าเขาiรู้สึกตัวอยู่ หรือไม่รู้สึก?
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลอง เทียบ Electric brain activity ตอนที่คนๆนั้น report ว่าเขารู้สึก เทียบกับตอนที่ไม่รู้สึก
เขาอาจจะรู้สึกตัวดี แต่ขยับแขนขาไม่ได้ ซึ่งก็ได้มีการใช้ fMRI ในผู้ป่วยแนวนี้ โดยให้ผู้ป่วยจินตนาการถึงการเล่นtennis แทนคำว่า yes และจินตนาการถึง ตำแหน่งที่ตั้งของบ้าน แทนคำว่า No แล้วก็ดูว่าบริเวณที่ Light up เวลาตอบคำถาม ว่ามันสอดคล้องกันหรือไม่ ด้วยวิธีนี้เองเราจึงบอกได้ว่า คนๆหนึ่ง ที่นิ่ง ไม่ขยับ ยังมีความรู้สึกหรือไม่
สำหรับคอมพิวเตอร์ เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่ามันมี ความรู้ตัว (Consciousness) หรือไม่?
ในคน เราตั้งสมมติฐานว่า คนเชื่อถือได้ ดังนั้นถ้าเราไปถามใครสักคนแล้วเขาบอกว่า เขามีความรู้ตัว(Conscious) เราก็จะเชื่อว่าเขา conscious จริงๆ
แต่หากวันหนึ่ง เป็นคอมพิวเตอ หรือ Siri บอกว่าตัวมัน conscious หละ คุณจะเชื่อมันหรือไม่?
ถ้าไม่ แล้วมันมีเหตุผลอะไรหละ ที่คุณจะเชื่อคำตอบของคน ถ้าคนๆนั้นบอกว่าเขามีความรับรู้ตัว (Conscious)?
นี่เป็นปัญหาทางปรัชญามาหลายยุคสมัย เราไม่มีทางรู้ว่าคนอื่น conscious หรือไม่ นอกจากตัวเราเอง เรา "เชื่อว่า" ว่าคนอื่นๆ conscious แต่เราไม่มีทางมั่นใจจริงๆ
เอาจริงๆแล้วเราไม่สามารถบอกได้เลยว่าคนอื่นๆ มีความรู้ตัว มีความรู้สึกจริงๆหรือไม่
คุณแน่ใจได้อย่างไรว่าคนอื่นๆ เป็นคนที่มีความรับรู้ รู้ตัว เหมือนกับคุณ?
ตอนนี้ คุณอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวในจักรวาลที่รู้ตัวอยู่ก็ได้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่คุณเห็น อาจเป็นแค่ mindless robot
คุณอาจจะฝันอยู่ก็ได้?
คุณอาจจะอยู่ใน Virtual world อยู่ก็ได้?
ก็ในเมื่อทุกๆสิ่งทุกอย่างที่คุณรู้ สัมผัส กระทำ มันเป็นสิ่งที่เกิดจาก Biochemical signal ในสมองของคุณ ทำไมเราจะ simulate entire virtual world ไม่ได้หละ?
แล้วถ้าคุณจำลองสิ่งต่างๆโดยตรงในสมองได้ คุณจะแยกสิ่งที่จริงกับไม่จริงออกได้ยังไง?
สัญญาณของสมองที่แสดงใน fMRI อาจกำลังหลอกคุณอยู่ก็ได้?
คุณรู้ได้ยังไงว่า ตัวคุณตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่วัยรุ่นเบื่อโลกคนหนึ่ง ในปี 2216 ที่กำลังถูกควบคุมสมอง ให้ตกอยู่ในโลกเสมือนจริง ยุค 2020 หละ? (trap in virtual world of 2020)
ในเมื่อ There is only one real world แต่สามารถมี Endless number of virtual world อะไรที่มันเป็นได้มากกว่าหละ?
คิดตามหลักความน่าจะเป็น, โอกาสที่ ณ เดี๋ยวนี้ ตอนนี้ ที่คุณจะอยู่ในโลกของความเป็นจริง มันยิ่งน้อยมากๆ มิใช่หรือ?
... ยังไม่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่พิสูจน์ปัญหานี้ได้ (Problem of other minds)
Turing Test
ปัญหาเรื่องการแยกว่า Entity ที่เราเห็นอยู่นี้ มันเป็นคน หรือ คอมพิวเตอร์ มันมี หรือ ไม่มีจิตใจนั้นมีมานานแล้ว หนึ่งในวิธีทดสอบที่โด่งดัง ที่ถูกนำเสนอเมื่อนานมาแล้ว และปรากฏในหนัง Hollywood หลายๆครั้ง คือ Turing Test
Turing Test คือ การทดสอบว่า ตอมพิวเตอร์นั้น ได้พัฒนาความคิดความรู้สึก แบบมนุษย์ ขึ้นมาได้หรือยัง
ใน Turing Test การพิสูจน์ว่า computer มีจิตใจหรือไม่ คือการที่คุณได้สื่อสารกับทั้งคอมและคนไปพร้อมๆกัน โดยไม่รู้ว่าใครเป็นใครกันแน่ คุณจะถามอะไรก็ได้ ทำactionใดๆก็ได้ เท่าที่คุณต้องการ ในตอนสุดท้าย ถ้าคุณตัดสินไม่ได้ว่าใครคือคน หรือคอม หรือคุณตัดสินพลาด ก็แสดงว่า computer อันนั้น ผ่าน Turing Test และเราควรปฏิบัติกับมันดั่งที่เราปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์
จะเห็นได้ว่าหลักการคิดนี้ไม่ได้ดูวิทยาศาสตร์เลยสักนิด...
เพราะมันไม่ได้แยกได้จริงๆอยู่ดีว่าคอมพิวเตอร์มีจิตใจ หรือมีความรับรู้ตัวหรือไม่ ...
มันอาจแค่คอมพิวเตอร์ที่ฉลาดมากๆ ที่ไม่มีจิตใจ แต่ตอบโต้เราได้ราวกับเป็นคนจริงๆ ก็ได้
Turing Test จึงไม่ได้เป็นหลักคิดทางวิทยาศาตร์ มันคือหลักคิดทางสังคม
เพราะ มันไม่สำคัญว่าสุดท้ายแล้ว คอมพิวเตอร์มันจะมีจิตใจจริงๆหรือไม่
ที่สำคัญคือ ผู้คนอื่นๆคิดกับมันอย่างไร
เรื่องน่าสลดคือ Turing Test นั้นคิดมาโดย Alan Turing ผู้ให้กำเนิดคอมพิวเตอร์
ในช่วงนั้น การเป็นชายรักชาย เป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายในอังกฤษ
Alan turing ซึ่งเป็นเกย์ ก็โดนจับและถูกบังคับทำหมันโดยการใช้ยา ก่อนที่จะฆ่าตัวตายเมื่อเวลาผ่านไปสองปีหลัง...
แท้ที่จริงแล้ว Turing Test นั้นถอดแบบมาจาก แบบทดสอบที่เกย์ทุกๆคนในอังกฤษต้องทำ นั่นคือ พวกเขาต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ ว่าตัวเองไม่ใช่เกย์ (“Can you pass for a straight man”) โดยการทำให้ผู้ทดสอบ ยอมรับ ... มันไม่สำคัญว่าคุณ แท้จริงแล้ว จะเป็นชายแท้รึเกย์ มันสำคัญว่าคนอื่นๆคิดอย่างไรกับคุณ
ในแง่นี้ สำหรับคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน มันไม่สำคัญว่าตัวมันจะพัฒนาความรู้ตัวขึ้นมาได้หรือไม่ สิ่งสำคัญคือ ผู้คนคิดเห็นกับมันอย่างไร ก็เท่านั้น
The Depressing Lives of Laboratory Rats
หลังจากdiscuss เรื่อง Human Mind ไปแล้ว (ซึ่งได้ข้อสรุปว่า เราแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย) Harari ก็ชวนกลับไปยังคำถามที่ว่า สัตว์ชนิดอื่นๆ มีจิตใจหรือไม่
เช่นเดียวกับ Turing Test , เวลามนุษย์จะพิจารณาว่าสิ่งใดๆนั้นมีจิตใจหรือไม่ เราแค่หาว่ามันสามารถสร้างemotional relationship กับเราได้หรือไม่ ในทั้งสองทาง
เช่น หลายๆคนอาจชอบรถยนต์มาก รักเหมือนลูก แต่มันก็เป็นแค่ความสัมพันธ์ทางเดียว
แต่ในกรณีของสุนัข มันสามารถสร้างความสัมพันธ์กับเราได้ทั้งสองทาง ดังนั้น มันก็มีจิตใจ
แต่เรารู้ได้อย่างไรหละ ว่าสุนัขตัวนั้นมันมีความรู้ตัวจริงๆ?
รู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่มันกระทำออกมา มันทำเพราะตัวมันมีความรู้สึก รู้ว่ามันมีตัวตนจริงๆ?
การกระทำที่เกิดขึ้น อาจทำให้มันดูมีความรู้สึก แต่มันก็อาจไม่ได้มีความรับรู้ตัวตนเลยก็ได้ ไม่ใช่หรือ? (คือมี Emotion แต่ ไม่มี consciousness)
หลายๆคนก็ตั้งข้อสังเกตว่า ในเมื่อ Emotion เกิดจาก algorithm และ algorithm ไม่ต้องใช้ Consciousness เพื่อให้ใช้งานได้ ดังนั้น เมื่อสัตว์เหล่านั้นมันสามารถแสดง complex emotional behavior ได้ เราก็ยังพิสูจน์ไม่ได้อยู่ดี ว่าสัตว์ต่างๆนั้น มี Consciousness
เพราะการกระทำทุกอย่างของมันก็อาจเกิดจาก complex non-conscious algorithm ก็ได้
ประโยคข้างต้นนี้เป็นจริงกับมนุษย์เช่นกัน เราก็โต้แย้งได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ทำ รวมถึงการบอกว่ามันมีสติรู้ตัวนั้น แท้จริงอาจเป็น non-conscious algorithm ที่กำลังทำงานอยู่ก็ได้ ในทางทฤษฎี
อย่างไรก็ตาม ในมนุษย์ เราก็ไม่ได้คิดเช่นนั้น เราเชื่อว่าการที่คนๆนั้นบอกว่าเขาระลึกตัว (มีconscious) เราเชื่อว่า เขามีจริงๆ เขาเชื่อถือได้จริงๆ ดังนั้น เราจึงสามารถใช้เครื่องมือแยกbrain pattern เวลา Conscious และ non-conscious ได้
ใช้หลักที่ว่าเราเชื่อว่าคนมี Conscious และใช้เครื่องมือแยกสมองคนที่มี และไม่มี conscious ออกจากกันได้
ถ้าเราสามารถเจอ pattern ที่คล้ายคลึงกันนี้ในสมองสัตว์ สัตว์ตัวนั้น ก็น่าจะมี conscious ด้วย
จนถึงตอนนี้ (2016) นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าสัตว์ต่างๆนั้นมีความรู้ตัวหรือไม่
แต่พวกเขารู้ว่า สัตว์เหล่านั้นก็มีลักษณะทางกายภาพ สรีระวิทยา และสารเคมี ในสมอง ที่บ่งชี้ว่าพวกมันก็น่าจะมี Conscious , ไม่ได้ต่างกันไปเลยกับที่เจอในมนุษย์
ส่วนหลักฐานที่จะฟันธงได้จริงๆว่าพวกมันมี หรือ ไม่มี Conscious จริงๆหรือไม่นั้น ก็ต้องสืบหากันต่อไป....
ยาต้านเศ้ราของมนุษย์....แต่เริ่มใช้ในหนูทดลอง
เรื่องตลกร้ายคือ ในหลายๆธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้น ก็ทำสิ่งที่ลักลั่นกันเอง
อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ฆ่าสัตว์ อาจ Justify เหตุผลว่าแม้สัตว์จะมี Emotion แต่มันก็ไม่มีความรู้ตัวเช่นมนุษย์
แต่หลายๆอุตสาหกรรม เช่น บริษัทยา ก็ทำราวกับว่าสัตว์ร่วมโลกนั้นมีความรู้สึกนึกคิดคล้ายคลึงกับมนุษย์
เช่น บริษัทยาใช้หนูทดลองในการทดสอบยาต้านเศร้า
การทดลองคือ ให้หนูพยายามไต่หนีจากกระบอกน้ำทรงสูง หากมันทำไม่สำเร็จเลย มันก็จะลอยไปเรื่อยๆบนผิวน้ำ...อย่างสิ้นหวัง และล้มเลิกความพยายามใดๆที่จะปีนป่ายเอาตัวรอด หลังผ่านไปสิบห้านาที
หลังจากนั้นก็ทำแบบเดียวซ้ำ แต่เมื่อ 14 นาทีผ่านไป นักวิทยาศาสตร์จะจับมันออกมาจากน้ำ ให้มันพัก แล้วจึงใส่มันกลับเข้าไปใหม่ ครั้งที่สอง เขาพบว่าหนูจะพยายามดิ้นรนเอาตัวรอดนานขึ้น เป็น 20นาทีกว่า
การที่หนูตัวเดียวกัน อดทนตะเกียกตะกายเอาตัวรอดยาวขึ้นอีก 6 นาทีนี้ เชื่อว่า เป็นผลมาจากที่มันจำได้ว่า การตะเกียกตะกายครั้งก่อนมันทำสำเร็จ ซึ่งความจำนี้จะไปกระตุ้นการหลั่งของสารบางอย่างให้หนูมีความหวังและลดระยะเวลาท้อถอยลง,
ที่บริษัทยาต้องทำคือ หาว่าสารตัวนั้นคืออะไร หากเขาสามารถสกัดสารดังกล่าวมาได้ มันก็เอามาใช้ในคนเพื่อรักษาซึมเศร้าได้
การทดลองนี้ มองได้ถูกมองว่าเป็นทั้งการทรมานสัตว์ แต่หลายๆคนก็บอกว่าจะไปสงสารมันทำไม มันไม่มีความรู้ตัวอะไรหรอก ที่มันทำไปก็แค่ตามสัญชาติญาณ (driven by non-conscious algorithm)
ที่ตลกร้ายก็เพราะ หากคนๆนั้นคิดว่าหนูไม่มีconsciousness or emotion จริงๆ พวกเขาจะทำการทดลองในหนูตั้งแต่แรกทำไม? ก็ในเมื่อเขาต้องการสารที่มาใช้ในคนนี่?
ด้วยเหตุผลต่างๆนี้ สัตว์ชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์ จึงน่าจะมีความรู้สึก (Emotion) และมี Consciousness เช่นกัน มนุษย์ไม่ได้ผูกขาดความสามารถนี้ แต่เผ่าพันธ์เดียว
The Self-conscious chimpanzee
ถ้าเรายอมรับว่าสัตว์หลายๆชนิด ไม่ว่าจะหมู แมว หมา ไก่ ก็มีความรู้สึก มีความรู้ตัวจริงๆ
แล้ว จะมีอะไรอีกที่ทำให้มนุษย์มีคุณค่าเหนือกว่าพวกมันได้?
บางคนอ้างว่า มนุษย์เรายังเหนือกว่า เพราะเรามี Self-Consciousness แต่สัตว์อื่นๆไม่มี
มันอาจรู้สึกเศร้า สุข หิว แต่มันไม่มี "ตัวกู ของกู" (notion of self) มันไม่รู้ว่าความเศร้า ความหิวนั้น เป็นเอกลักษณ์อันจำเพาะ (Unique entity) ของตัวมันเอง
ซึ่งก็เป็นไอเดียที่แปลก เวลาหมามันหิว มันก็คาบเอาอาหารไปกินเอง ไม่ได้เอาไปให้ตัวอื่นกิน มันจะไม่รู้จัก I ได้ยังไง
Version ที่ซับซ้อนกว่านั้น เสนอว่า สิ่งมีชีวิตมี level ของ self-consciousness ที่แตกต่างกันไป ก็คือว่า คนเท่านั้นที่รู้จักตัวมัน และรู้จักอดีตกับอนาคต เพราะมนุษย์เท่านั้นที่ใช้ภษาได้
เขาอธิบายว่า การจะคิดย้อนอดีต และวางแผนอนาคตได้นั้น ต้องรู้จักภาษา ซึ่งมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่รู้จักการใช้ภาษา
ในขณะที่สัตว์ตัวอื่นอยู่กับปัจจุบบัน (eternal present) มันไม่ได้จำอดีตได้ หรือวางแผนเพื่ออนาตได้ มันอยู่กับปัจจุบัน อยู่เพื่อตอบสนองความอยาก ณ ช่วงนั้นๆ ไปวันๆ เช่น กระรอกที่เก็บซ่อนลูกนัทไว้สำหรับฤดูหนาว ไม่ได้ทำเพราะมันกลัวว่าในอนาคตจะไม่มีอะไรกิน มันแค่เห็นลูกนัท แล้วสัญชาติญาณของมันสั่งให้เก็บลูกนัทอันนี้เอาไว้ม
ซึ่งก็มีข้อโตแย้ง เพราะการบอกว่าต้องมีภาษา แล้วจะวางแผนอนาคต หรือคร่ำครวญถึงอดีตได้ มันก็พิสูจน์ได้ยาก
เราเองก็น่าจะเคยประสบเหตุเช่นนี้ ที่เราไม่สามารถบรรยายหรือคิด เหตุการณ์ออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น เวลาฝัน เราตื่นมาหลายๆครั้ง เราก็รู้เหตุการ เรารู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่เราบรรยายความฝันมันออกมาเป็นภาษาไม่ได้
การทดลองหลายๆแหล่งยืนยันว่าในสัตว์บางชนิด เช่นนกแก้ว จำการกระทำของมันได้ และมีการวางแผนเพื่ออนาคตจริงๆ
สัตว์มันยังวางแผนอนาคตแบบซับซ้อนได้ ยกตัวอย่าง ลิงชิมแปนซี ชื่อ Santino ในสวนสัตว์ Furuvik ประเทศ สวีเดน
เวลาเบื่อๆมันจะเก็บรวบรวมกอนหินมา เพื่อปาใส่ คนที่เดินผ่านไปมา
แต่พอรู้ทันพฤติกรรมนี้เข้า ครั้งหลังๆ มันจะวางแผนล่วงหน้าว่าจะซ่อนหินที่ไหนไม่ให้มีคนจับได้ ไม่ให้ผู้ชมรู้ว่ามันซ่อนก้อนหินไว้ และจะจู่โจมผู้ชมตอนทีเผลอ
และเมื่อแผนการเก่ามันไม่ work มันก็จะมีการวางแผนใหม่ๆเพื่อให้ปาหินใส่ผู้ชมจนได้
การที่สัตว์หลายๆชนิดสามารถวางแผนได้ซับซ้อนเช่นนี้ จึงเป็นข้อสนับสนุนอีกอย่าง ว่าพวกมันก็มี Self-consciousness
มันรู้อดีต รู้การวางแผนเพื่ออนาคตได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่มีชีวิตกับปัจจุบัน หรืออยู่ไปวันๆแค่นั้น
ติตตาม อัพเดท บทความอื่นๆ ได้ที่ FB : ในโลกของคนอยู่เป็น
facebook.com
The Observing Mind
The Observing Mind. 985 likes · 20 talking about this. เพื่อการเรียนรู้ และเฝ้าดู ในโลกของคนอยู่เป็น theobservingmind.co
เยี่ยมชม
76 บันทึก
36
10
26
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สรุปหนังสือ Homo Deus
76
36
10
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย