Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บทเรียนจากชีวิตจริง
•
ติดตาม
29 ธ.ค. 2019 เวลา 08:47 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อาหารกระป๋อง...บุบแบบไหนกินได้ แบบไหนกินไม่ได้?
บทความนี้มีคำตอบ..
.....หากเคยซื้อเครื่องดื่มหรืออาหารกระป๋องมากิน คงเคยพบเห็นกระป๋องบนชั้นที่ร้านค้ามีรอยบุบกันบ้าง.
.....แล้วรอยบุบแแบบไหนที่กินได้ แบบไหนไม่ควรกิน บทความนี้จะมีคำตอบมาให้ครับ.
....ผมขออธิบายแบ่งตามลักษณะการบุบและชนิดของกระป๋องเลยนะครับ (หากใครยังไม่รู้จักชนิดกระป๋องให้ลองกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้นะครับ)
"กระป๋องที่ทำจากแผ่นเหล็ก(vacuum can)"
....กระป๋องแบบนี้เนื่องจากในกระป๋องเป็นสภาพสุญญากาศจึงบุบหรือยุบตัวได้ง่ายโดยไม่กลับคืนรูปมาเหมือนเดิม ลักษณะของการบุบ แบ่งได้เป็นดังนี้
1.บุบที่ตัวกระป๋อง
.....ปกติการบุบที่ตัวกระป๋อง มักจะมีความเสี่ยงน้อย เนื่องจากตัวกระป๋องทำจากโลหะเป็นแผ่นต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวจึงทำให้รั่วได้ยาก ยกเว้นกระป๋องที่มีตะเข็บข้าง(เป็นรอยเชื่อมของแผ่นเหล็กในขั้นตอนการผลิต)หากมีรอยบุบตรงตะเข็บข้างนี้ ความเสี่ยงรั่วจะสูงมากขึ้น.
.....กระป๋องเหล็กบางชนิดที่ประกอบจากเหล็ก2ชิ้นจะไม่มีตะเข็บข้างจุดเสี่ยงมากๆนี้ก็จะหายไป
2.บุบที่ฝาหรือก้นกระป๋อง
.....ฝาและก้นกระป๋อง ก็เป็นโลหะแผ่นเดียวต่อเนื่องเหมือนตัวกระป๋อง จึงรั่วได้ยากเช่นเดียวกัน ยกเว้นฝาดึง(easy open ) ที่จะมีรอยปรุทำให้บางกว่าจุดอื่นๆ อันนี้ก็เสี่ยงจะรั่วได้ง่าย.
1
3.บุบที่ตะเข็บฝาบนหรือล่าง
ตะเข็บกระป๋องหมายถึงรอยต่อของฝากับกระป๋องที่ม้วนเกี่ยวกัน ตรงจุดนี้จะมีความเสี่ยงรั่วสูงมาก เพราะไม่ได้เชื่อมติดกัน เป็นเพียงการซ้อนเกี่ยว และมีซีลยาง(Compound) เป็นตัวแทรกระหว่างแผ่นเหล็กของฝากับตัวกระป๋องกันรั่วเท่านั้น.
"กระป๋องที่ทำจากอลูมิเนียม(pressure can)"
.....กระป๋องชนิดจะนี้มีแรงดันจากก๊าซภายในจึงบุบได้ยาก และคืนรูปได้ หากยังไม่รั่วเสียก่อน แต่ก็พอแบ่งลักษณะบุบออกได้เป็นดังนี้
1.บุบที่ฝากระป๋อง
.....ถ้าเป็นการบุบบนฝาก็ไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้รั่ว ยกเว้นบุบตรงรอยปรุความเสี่ยงที่จะรั่วก็สูง เช่นเดียวกับกระป๋องที่ทำจากแผ่นเหล็ก เพราะเป็นพื้นที่ที่บางที่สุดเหมือนกัน.
2.บุบที่ตัวกระป๋อง
....หากเป็นการบุบไม่รุนแรงบนตัวกระป๋อง และกระป๋องยังคงแข็ง บีบไม่นิ่มและเด้งคืนรูปได้ อันนี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงน้อย. ยกเว้นเป็นรอยเหมือนของแหลมทิ่มหรือยับเป็นจีบเหมือนผ้ายับมากๆ แบบนี้ความเสี่ยงก็จะสูงขึ้น ส่วนตะเข็บด้านข้างกระป๋องชนิดนี้ไม่มี จุดเสี่ยงจึงลดลงไป.
3.บุบที่ตะเข็บฝา
กระป๋องอลูมิเนียมจะมีเฉพาะตะเข็บด้านนนฝาเท่านั้น เพราะเป็นกระป๋องที่ใช้โละหะประกอบเพียง2ชิ้นเท่านั้น แต่ตรงตะเข็บก็ยังเป็นจุดที่เสี่ยงรั่วสูงจึงไม่ควรจะมีรอยบุบครับ.
.....เมื่อทราบว่าจุดใดมีความเสี่ยงรั่วสูงและจุดใดเสี่ยงน้อย หากมีโอกาสได้เลือกซื้อเครื่องดื่มหรืออาหารกระป๋องแล้วล่ะก็ คงต้องพิจารณาให้ดีก่อนซื้อ และคงจะดีที่สุดถ้ากระป๋องนั้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์.
....2 ลักษณะสุดท้ายที่จะกล่าวถึงนี้ จะสำคัญมากกว่าเรื่องการบุบเสียอีก เพราะถ้าหากพบกระป๋องลักษณะ2แบบนี้ เราจะต้องห้ามนำมาดื่มหรือกินโดยเด็ดขาด แม้ว่าเราจะไม่เห็นรอยบุบเลยก็ตาม.
1.ถ้าเป็นกระป๋องเหล็ก....ฝาห้ามนูนขึ้นเด็ดขาด ถ้านูนขึ้นแสดงว่าสินค้าด้านในมีปัญหาแน่นอน
2.ถ้าเป็นกระป๋องอลูมิเนียม...กระป๋องต้องมีแรงดันและคงความแข็งอยู่ หากพบกระป๋องที่นิ่มมากๆ อันนี้ให้สันนิฐานไว้เลยว่ากระป๋องรั่วเช่นกัน.
.....เพราะการรั่วเล็กๆ(micro leak)ของกระป๋องบางจุดเราไม่สามารถมองเห็นได้นั่นเองครับ.
.....แต่หากเราทำกระป๋องหลุดมือตกบุบเอง อันนี้คนละกรณีนะครับ ถ้าทำตกบุบเอง เราคงต้องรีบกิน รีบดื่มให้หมด ก่อนที่เชื้อจุลินทรีย์จะเข้าไปในกระป๋อง อย่าเก็บไว้นานๆ เดี๋ยวจะอดกินเอา.
.....ส่วนกระป๋องที่อยู่ในตู้ที่บ้านนานๆ ก็อย่าลืมสังเกตุก่อนนำมารับประทาน รวมทั้งอย่าลืมดูวันหมดอายุกันด้วย และพอเปิดฝากระป๋อง ก็อย่าลืมตรวจสอบสี กลิ่นก่อนรับประทานก็จะปลอดภัยที่สุดนะ.
ขอบคุณครับ.
1 บันทึก
40
24
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
วิทยาศาสตร์อาหาร( Food Science Daily.)
1
40
24
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย