Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Work Life Win Win
•
ติดตาม
15 ก.พ. 2020 เวลา 00:19
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน สำคัญอย่างไร (ใจเกษตร EP17)
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ส่งผลให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก มีภัยพิบัติเพิ่มขึ้นทั่วโลก เป็นการโต้กลับของธรรมชาติ
แปลงนา ใจเกษตรฟาร์ม
การดูดซับและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
พืชสังเคราะห์แสงจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ พืชจะสร้างอาหารในรูปของคาร์โบไฮเดรต และยังคายก๊าซออกซิเจน (O2) ออกมาด้วย
การสังเคราะห์แสงจะเกิดขึ้นเฉพาะตอนกลางวัน ในตอนที่มีแสงแดด แต่พืชเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายสัตว์ ที่จะต้องหายใจตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน
ถ้าพืชหายใจในตอนกลางคืน พืชจะดูดซับก๊าซออกซิเจนในอากาศ และคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
สรุปสั้นๆคือ
- การสังเคราะห์แสง พืชจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- การหายใจของพืช พืชจะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3
ตลอดวงจรชีวิตของพืชส่วนใหญ่ จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่าคายก๊าซนี้ออกมา โดยเฉพาะกลุ่มไม้ยืนต้น
เป็นที่มาว่าป่าดิบชนิดต่างๆ แม้จะมีการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เล็กน้อย จากการที่จุลินทรีย์ย่อยสลายส่วนที่ร่วงหล่นจากต้นไม้ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้
1
แต่โดยรวมไม้ยืนต้นในป่าดิบจะดูดซับก๊าซมากกว่า ที่เรียกว่า "การกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้" ช่วยลดปรากฏการณ์เรือนกระจก
เป็นที่น่าแปลกใจ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า "ตลอดวงจรชีวิตของข้าว" ปลดปล่อยหรือคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่าดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เราจึงถูกกล่าวหาว่า ชาวนาทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
ในแนวทางการทำเกษตร เช่น วนเกษตร เกษตรผสมผสาน มีการแบ่งพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นมากกว่าพื้นที่ปลูกข้าว ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของเกษตรรักษ์โลก
1
การทำเกษตรที่ ใจเกษตรฟาร์ม มีการปลูกข้าวกินเองด้วย ถ้าเหลือกินก็แบ่งขาย และยังหวังจะใช้วัสดุเหลือใช้จากข้าว เช่น รำ ฟาง แกรบ ทุกๆส่วนของต้นข้าว
จึงมีความตั้งใจจะปลูกไม้ยืนต้น ทั้งไม้เศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากไม้ และใบ (ใบ ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้) และไม้ผลหลายชนิด ปลูกให้เต็มพื้นที่
อยากจะเป็นเกษตรรักษ์โลกเช่นกัน
ยังไม่มีการพิสูตรจากนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยต่างๆว่า
"ตลอดวงจรชีวิตของไผ่" คายก๊าซหรือดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไหนมากกว่า
ไผ่ คล้ายกันกับข้าวหรือไม่? แต่มีผลการทดลองกับไผ่ในช่วงอายุน้อยๆ (เริ่มปลูก) ผลคือ ไผ่แสดงพฤติกรรมคล้ายข้าว
ไผ่เป็นพืชอายุยืนยาว เมื่อไผ่โตเต็มที่ น่าจะดูดซับคาร์บอนได้มากขึ้น
ในความเชื่อของผม
การปลูกไผ่เพื่อใช้ประโยชน์จากลำไผ่ และหน่อไม้ เป็นการกับเก็บคาร์บอนอย่างหนึ่ง เพราะไผ่จะดูดซับเอาแร่ธาตุต่างๆ ทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และแร่ธาตุในดิน เปลี่ยนมาเป็นลำไผ่ ซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นหลัก
ถ้าเราออกแบบให้ฟาร์ม มีการใช้ประโยชน์ลำไผ่ โดยให้เกิดการย่อยสลายและการเผาไหม้ให้ต่ำที่สุด คือใช้ไม้ไผ่ สร้างบ้านพัก ทำไม้ค้ำยัน ใช้เป็นวัสดุเครื่องใช้ต่างๆในฟาร์ม ไม้ไผ่จะช่วยกักเก็บคาร์บอนได้เช่นกัน
มีเทน (CH4) เป็นก๊าซอีกชนิด
เมื่อถูกคายหรือปล่อยออกมาจะทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
1
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ ปล่อยก๊าซมีเทน(ก๊าซมาจากมูลวัว) มีผลกระทบใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรม
ใจเกษตรฟาร์ม มีการเลี้ยงวัวด้วย เพราะต้องการใช้ขี้วัว เป็นปุ๋ยหมักเพื่อลดการซื้อปุ๋ยเคมี แต่ไม่ได้เลี้ยงวัวเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ เป็นการเลี้ยงผสมผสานกับการปลูกพืช
2
เราทุกคน ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่ต้องช่วยกันดูแลรักษาโลก การทำเกษตรในบางกิจกรรมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน
แต่ก็จะพยายามชดเชยด้วยการปลูกไม้ยืนต้นชนิดต่างๆหลายๆต้น ให้เต็มพื้นที่ฟาร์ม ช่วยดูดซับคาร์บอน และช่วยทำให้ฟาร์มร่มรื่น เย็นสบาย
สนใจการเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม
โปรดติดตาม ใจเกษตร EP ต่อไป
ได้ที่ Blockdit:
www.blockdit.com/worklifewinwin
15 บันทึก
66
11
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ใจเกษตร
15
66
11
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย