31 ธ.ค. 2019 เวลา 16:09 • การศึกษา
⏰ เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ ปี 2020 กันแล้วนะคะ วันนี้มาลงเรื่องส่งท้ายปีกันเลยค่ะ 🎉🎊🎆🎈
เมื่อมองดูวันที่บนปฏิทินปีนี้แล้ว.. ก็เกิดคำถามขึ้นในใจเลยค่ะว่า ปฏิทินนี่ถูกสร้างมาอย่างไรนะ❓
ใครกำหนดว่า วันไหน เวลาอะไร ⁉
แล้วทำไม 1 ปี ต้องมี 12 เดือน 365-366 วัน ⁉⁉
ปัจจุบันปฏิทินดูจะเป็นสิ่งธรรมดาๆ ที่เราใช้มันอยู่เป็นประจำจนชิน แต่รู้หรือไม่ค่ะ ว่ากว่าจะเกิดเป็นปฏิทินขึ้นมาให้เราใช้กันในทุกวันนี้ได้นั้น ต้องใช้หลักการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ มากมายเลยทีเดียว วันนี้เลยจะมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับกำเนิด "ปฏิทิน" 📆 ให้ได้รู้กันค่ะ
📌 ปฏิทินถูกสร้างมาอย่างไร?
ปฏิทิน ภาษาอังกฤษคือ Calendar ซึ่งมีรากศัพท์มากจากคำว่า Calends ในภาษาโรมัน
การศึกษาประวัติความเป็นมาของปฏิทินทำให้เรารู้ว่ามนุษย์ในสมัยโบราณใช้ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์น้ำหลาก ดาว ฯลฯ ในการกำหนดวัน เดือน และปี เช่น นับระยะเวลาที่เห็นดวงอาทิตย์ 🌞 ขึ้นในแต่ละครั้งว่านาน 1 วัน และให้ถือว่า 1 เดือนคือ เวลาที่ดวงจันทร์ 🌙 ใช้ในการโคจรรอบโลก 1 ครั้ง และ 1 ปีคือ เวลาที่โลก 🌍 ใช้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ครั้ง เป็นต้น
การมีชีวิตอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน และมีวัฒนธรรมความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน ทำให้คนโบราณในหลายประเทศต่างก็มีปฏิทินของตนเองใช้ เช่น ปฏิทิน Aztec, Islam, Persia, Egypt, Bahai, Hebrew, Maya, French, Chinese, Gregory และ Julian เป็นต้น ซึ่งปฏิทินเหล่านี้มีจำนวนวันในแต่ละเดือน และจำนวนเดือนในแต่ละปีแตกต่างกันออกไป ไม่เหมือนในปัจจุบันเลยค่ะ
การโคจรของโลก - เครดิตภาพ: space-awareness.org
📌 แล้วใครกำหนดว่า วันไหน เวลาอะไร??
1 วัน มีกี่ชั่วโมงนั้น เกิดจากระยะเวลาการหมุนของโลกรอบตัวเอง / ส่วน 1 ปี มีกี่วันนั้น คิดมาจากระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่ใครเป็นผู้กำหนดวันเวลานั้นไม่สามารถระบุชี้ชัดลงไปได้ ทั้งนี้ เพราะเวลานั้นเกิดจากการพัฒนาและเรียนรู้ของมนุษย์มานานหลายพันปี
📌📌 ทำไม 1 ปี ต้องมี 12 เดือน 365-366 วัน???
ปฏิทินสากล 📆 ที่เราใช้กันทุกวันนี้ เป็นผลงานของชาวโรมัน เมื่อ 2,800 ปีก่อน เริ่มต้นจาก ปฏิทินโรมันได้กำหนดให้ 1 ปี มี 10 เดือน โดยให้เดือนหนึ่งๆ มี 36 วัน หรือ 37 วัน เพื่อให้ปีหนึ่งมี 365 วัน
กษัตริย์ "Numa Pomplius (นูมา ปอมปลิอุส)" ทรงให้เดือนแรกของปีชื่อ Martius และเดือนที่สิบชื่อ December อีกทั้งให้วันขึ้นปีใหม่คือวันที่ 1 มีนาคม ของทุกปี
⏳⭐ ทรงกำหนดเกณฑ์ใหม่ว่า เดือนหนึ่งๆ จะต้องมีวันไม่เกิน 31 วัน ดังนั้น จึงทรงกำหนดให้เดือนมีนาคม กรกฎาคม และตุลาคม มี 31 วัน ส่วนเดือนที่เหลือมี 29 วัน และเพราะจำนวนวันใน 1 ปี ยังไม่ครบ 365 วัน
จึงกำหนดให้มีเดือนพิเศษอีก 2 เดือนคือ Januarius กับ Februarius ในขณะฤดูหนาวก่อนเดือน Martius ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนที่ผู้คนไม่ทำกิจกรรมใดๆ
Numa Pomplius's calendar - เครดิตภาพ: pinterest.com
จากการสร้างปฏิทินที่ค่อนข้างจะไร้หลักการนี้ ทำให้วันเฉลิมฉลองเทศกาลทางศาสนา มีความคลาดเคลื่อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี
...
‼ จนในที่สุด 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช "จักรพรรดิ Julius Caesar (จูเลียส ซีซาร์)" แห่งจักรวรรดิโรมัน จึงทรงมีบัญชาให้นักดาราศาสตร์ประจำราชสำนักชื่อ Sosigenes (โซซิเจเนส) สร้างปฏิทินขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 498
✴⭐💡 โดยให้เลิกพิจารณาเวลาโคจรของดวงจันทร์ในการทำปฏิทิน ปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน และกำหนดเวลามั่นเหมาะใหม่ว่า 1 ปี ต้องมี 12 เดือน และ 1 เดือน ต้องมี 30 หรือ 31 วัน ส่วนเดือนกุมภาพันธ์นั้นให้มีเพียง 28 วัน
ซึ่งทรงกำหนดใหม่ให้แต่ละเดือน มีจำนวนวันเป็นไปตามด้านล่างนี้
ปฏิทิน Julian ปี พ.ศ. 498
และให้ทุก 4 ปี จะมีการเพิ่มวันอีก 1 วันในเดือน Februarius
และนอกจากนี้ จักรพรรดิ Julius Caesar (จูเลียส ซีซาร์) ยังทรงกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันปีใหม่ 🎊🎉🎈🌅🎁
ซึ่งมีผลทำให้.....
👉 เดือน December ซึ่งเคยเป็นเดือนที่ 10 ของปี (deci แปลว่า สิบ) กลายเป็นเดือนที่ 12 เดือน
👉 เดือน November (nove แปลว่า เก้า) กลายเป็นเดือนที่ 11
👉 เดือน October (Octo แปลว่า แปด) กลายเป็นเดือนที่ 10 และ
👉 เดือน September (septa แปลว่า เจ็ด) กลายเป็นเดือนที่ 9 แทน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
📣📣 และเมื่อ Caesar ถูกปลงพระชนม์ ชาวโรมันได้เปลี่ยนชื่อ ...เดือน Quintilis (quinta แปลว่า ห้า) 👉 เป็น "Julius" เพื่อเป็นเกียรติแด่องค์จักรพรรดิ Julius Caesar ของตน และ Julius นี้ได้กลายรูปเป็น "July" ในเวลาต่อมา‼
เรื่องราวของปฏิทินในยุคของ จักรพรรดิ Julius Caesar จึงเรียกว่า "ปฏิทิน Julian หรือ Julian Calendar" นั่นเองค่ะ
✴ ปฏิทิน Julian ได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 498 การกำหนดกฎเกณฑ์ การนับวัน เดือน ใหม่ ทำให้คนโรมันสมัยนั้นงุนงง และสับสนมาก เช่น การให้เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน หรือ 29 วันก็ได้ และแทนที่จะให้มี 29 วันในทุก 4 ปี คนโรมันคิดว่าให้มี 29 วัน ในทุก 3 ปี การเข้าใจผิดในประเด็นนี้เป็นเวลานาน 50 ปี ทำให้วันเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ ทางศาสนาไม่ตรงฤดูที่ควรเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น ในเวลาต่อมา จักรพรรดิ Augustus (ออกุสตุส) จึงทรงมีบัญชาให้มีการปฏิรูปปฏิทินอีกครั้ง
📢 และให้เปลี่ยนชื่อ ...เดือนที่ 6 จาก Sextilis (sext แปลว่า หก) 👉 เป็น "Augustus" ซึ่งได้กลายเป็น "August" ในเวลาต่อมา
📢 และให้เดือน Augustus มี 31 วันเท่าเดือน Julius ของ Caesar เพื่อแสดงว่าพระองค์ทรงมีพระบารมียิ่งใหญ่เทียบเท่า Caesar
เมื่อเดือน Julius Augustus และ September ทั้ง 3 เดือนเรียงกันต่างก็มี 31 วัน ซึ่งทำให้ทุกคน (ที่คอยรับเงินเดือน) รู้สึกว่ายาวนาน พระองค์จึงทรงกำหนดใหม่
...ให้ลดวันในเดือน September เหลือ 30 วัน
October มี 31 วัน
November มี 30 วัน และ
December 31 วัน
สลับกันระหว่าง 30 กับ 31 วัน
⭐🌞 ฉะนั้น ปฏิทินฉบับแก้ไขจึงมีเพียงเดือน Julius กับ Augustus และ December กับ Januarius ซึ่งเป็นสองเดือนติดกันเท่านั้นที่มี 31 วัน!‼
...เรื่องราวของปฏิทินนั้นยาวสักหน่อยและยังไม่จบเพียงเท่านี้ค่ะ ยังไงติดตามเรื่องราวของปฏิทินต่อได้ในตอนที่ 2 นะคะ 😂
💟 Happy New Year 2020 ค่าาา 🎆🎊🎉🎈
แสดงความคิดเห็น.แนะนำ.ได้นะคะ
ถ้าชอบ...กดไลค์ 👍
ถ้าใช่...กดแชร์ ✅
ติดตามเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ ❤️
ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านค่ะ 😊
อ่านเกร็ดความรู้อื่นๆได้ที่ https://www.blockdit.com/kredlekkrednoi

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา