2 ม.ค. 2020 เวลา 05:11 • การศึกษา
** ทำไม 1 ปี... มี 12 เดือน? มี 365-366 วัน? (ตอนที่ 2) **
จากตอนที่ 1 เราพูดถึงการสร้าง ปฏิทิน Julian ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปฏิทินในยุคปัจจุบัน ซึ่งถูกใช้ในยุคโรมันอยู่เป็นเวลานาน
แต่ถึงอย่างนั้น ปฏิทินฉบับ Julian นั้นก็ยังไม่ถูกต้อง 100% เพราะ 1 ปีในปฏิทิน Julian มี 365 วัน แต่เวลา 1 ปี ที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 365.242199 วัน‼
⭐ ดังนั้น เวลา 1 ปี ในปฏิทิน จึงแตกต่างจากความเป็นจริงประมาณ 11 นาที ทุกปี
⭐ นั่นหมายความว่า เมื่อเวลาผ่านไป 128 ปี เวลาก็จะแตกต่างไป 128x11 = 1,408 นาที = 23.47 ชั่วโมง หรือประมาณ 1 วัน
⭐ และถ้าเวลาผ่านไปนาน 1,600 ปี เวลาก็จะผิดไปถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งจะทำให้ผู้คนในอนาคตวุ่นวาย พบว่าปฏิทิน Julian กำหนดให้วันอีสเตอร์ปี พ.ศ. 2125 ตรงกับวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม
📣 ด้วยเหตุนี้ สันตะปาปา Gregory (เกรเกอรี) ที่ 13 แห่งศาสนจักร จึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไข มีบัญชาให้ปฏิรูปปฏิทินอีก ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) 💡
สันตะปาปา Gregory ที่ 13 - เครดิตภาพ : commons.wikimedia.org
📣 โดยได้กำหนดใหม่ว่าในเวลา 400 ปี ปฏิทินจะต้องมีปีอธิกสุรทิน 97 ครั้ง (ไม่ใช่ 100 ครั้ง)
👉 คือถ้าปีคริสต์ศักราชใดหารด้วย 4 ลงตัว ปีนั้นมี 366 วัน
👉 แต่ปีที่ครบคริสต์ศตวรรษใดเช่น 1700 1800 1900 ก็ให้มีเพียง 365 วัน
👉 ส่วนปี ค.ศ. 2000 นั้นให้มี 366 วัน
ในเวลาต่อมา เมื่อนักดาราศาสตร์ชื่อ Christopher Clavius ตรวจพบว่า ปฏิทินในอดีตที่เคยใช้กันมานั้นผิดพลาด เขาจึงรายงานต่อสมเด็จพระสันตะปาปา
เครดิตภาพ : stevemorse.org
👑 สมเด็จพระสันตะปาปา จึงทรงกำหนดให้ลบวันที่ 5-14 ตุลาคม พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) ออกจากปฏิทินปีนั้น เป็นจำนวนถึง 10 วัน‼‼
กล่าวคือ... 📣 เมื่อถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) ในวันรุ่งขึ้นให้เป็นวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) ทันที‼
ปฏิทินปี ค.ศ. 1582 ที่ถูดลบวันออกไป - เครดิตภาพ : calendartruth.info
และต่อมาให้ร่นวันอีกศตวรรษละ 1 วัน รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง‼
📌 นอกจากนี้ยังกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ 🎉🎊
และให้เรียกปฏิทินแบบใหม่นี้ว่า 📣⭐ "ปฏิทินเกรกอเรียน" (Gregorian Calendar)
ประกาศนี้มีผลทำให้ยุโรปซึ่งอยู่ใต้การปกครองของศาสนจักร ต้องใช้ปฏิทินแบบเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
🎯 อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเมื่อคำนวณอย่างละเอียดตามหลักวิทยาศาสตร์ 1ปี เฉลี่ยเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที (ประมาณ 365.242199074วัน) แต่ปฏิทินเกรโกเรียนกำหนดให้หนึ่งปีมี 365.2425 วัน ปฏิทินนี้จึงคลาดเคลื่อนไปโดยช้าลงปีละประมาณ 26 วินาที
เครดิตภาพ : wrike.com
สรุปแล้วปฏิทินที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็ยังมีความคลาดเคลื่อนของช่วงเวลาอยู่นะคะ ก็ต้องรอดูกันต่อไปค่ะว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรในอนาคตหรือไม่
และนี่ก็คือ "เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย" เกี่ยวกับปฏิทินสากล ที่เอามาฝากกันในวันนี้ค่ะ
แสดงความคิดเห็น.แนะนำ.ได้นะคะ
ถ้าชอบ...กดไลค์ 👍
ถ้าใช่...กดแชร์ ✅
ติดตามเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ ❤️
ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านค่ะ 😊
อ่านเกร็ดความรู้อื่นๆได้ที่ https://www.blockdit.com/kredlekkrednoi
แหล่งที่มาอ้างอิง:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา