Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Psychologise
•
ติดตาม
1 ม.ค. 2020 เวลา 12:14 • ธุรกิจ
ประเทศไทยมีระดับเศรษฐกิจแบบประเทศกำลังพัฒนา แต่กำลังเจอปัญหาใหญ่แบบประเทศพัฒนาแล้ว (EP2)
ไทยกำลังจะเผชิญปัญหาสังคมสูงวัยแบบที่เกิดขึ้นกับประเทศพัฒนาแล้ว พร้อมกับอัตราการเกิดใหม่ที่ต่ำ แต่ที่เราต่างจะประเทศพัฒนาแล้ว คือ เรายังมีไม่มีความมั่งคั่ง และทักษะใหม่ๆ เพียงพอที่จะใช้เงินและนวัตกรรมแก้ปัญหาดังกล่าว
โดยรายงานจากUN ระบุว่า ตอนนี้ไทยได้มีอัตราการเกิดที่น้อย ในระดับเดียวกับสวิตเซอร์แลนด์และฟินแลนด์ และภายในปี 2030 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุที่ 60 ปีขึ้นไปรวมแล้วมากกว่า 25% ของประเทศ และน่าเป็นกังวลว่าส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน
อัตราการเกิดที่ต่ำจะยิ่งซ้ำเติบปัญหาจากสังคมสูงอายุเพราะ การบริโภคจะลดลง คนทำงานจะลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนช้าลงการลงทุนต่างๆเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตก็จะลดลงตาม วิธีแก้คือ
1. แรงงานต่างชาติ ซึ่งคิดเป็น 10% ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ แต่ประเด็น คือ ด้านความเสี่ยงที่เห็นในประเทศอื่นๆที่พึ่งพาแรงงานต่างชาติมากเกินไปและการสร้างรูปแบบสวัสดิการที่ยากต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในภาพรวม ตัวอย่างประเทศที่มีแนวโน้มจะใช้แรงงานต่างชาติแก้ปัญหาระยะสั้น คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
2. การเพิ่ม Productivity ผ่านการพัฒนาทักษะ เพื่อเพิ่มผลิตภาพต่อคน แต่ละคนจะได้ผลิตได้มากขึ้นชดเชยที่จำนวนประชากรที่ลดลง หรือยกระดับคุณภาพชีวิต แต่การเพิ่มผลิตภาพในโลกปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่มีเทคโนโลยี หรือ ความสามารถพิเศษที่ชาติอื่นไม่มี นอกจากนี้แรงงาน 2 ใน 3 ของไทยอยู่ในภาคเศรษฐกิจที่เน้นทักษะเบื้องต้นและกำลังกาย เช่น งานภาคเกษตร และอุตสาหกรรมโรงงาน ทำให้ยิ่งคนอายุมากผลิตภาพยิ่งลด ต่างจากประเทศพัฒนาแล้วที่มุ่งเน้น ภาคบริการมูลค่าสูงที่ใช้ความรู้และประสบการณ์เป็นหลัก หรือ ใช้เทคโนโลยีเพิ่มรายได้ต่อประชากร
จุดที่น่าสนใจจาก Bloomberg ก็คือ ประเทศที่มีอัตราการเกิดที่ต่ำในระดับเดียวกับไทย หลายประเทศเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น จีน ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไทยต้องเจอกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ที่รุนแรงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เพราะความไม่พร้อมด้านการเงินและทักษะ
แต่สิ่งที่ทำให้ท้าทายเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น คือ อัตราเติบโตของอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา
สาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่ GDP โตไม่ทันการก่อหนี้ เนื่องจากระดับ Productivity ไม่เพิ่ม ไม่มีการสร้างอุตสากรรมใหม่ๆ
ทำให้ระดับหนี้ครัวเรื่อนต่อ GDP ปัจจุบันเข้าใกล้ระดับ 80% ซึ่งเป็นสัญญานเตือนว่ากำลังซื้อของคนในประเทศจะลดลง เพราะเงินส่วนใหญ่ต้องไปชำระหนี้
อีกทางเลือก คือการใช้ Competitive Advantage คือการที่ประเทศมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก แต่ความท้าทาย คือ ต้องมีการใช้งบประมาณที่ถูกจุดในภาคเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและการท่องเที่ยวที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม นึกภาพการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ทางการเกษตร เช่น โดรนเพื่อการเกษตร Data Analytics เพื่อการเกษตร โดยส่งเสริมในรูปแบบเดียวกับ EEC แต่โฟกัสที่การเพิ่มมูลค่าการเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหลัก
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประเทศไทยมีระดับเศรษฐกิจแบบประเทศกำลังพัฒนา แต่กำลังเจอปัญหาใหญ่แบบประเทศพัฒนาแล้ว
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย