1 ม.ค. 2020 เวลา 15:16 • ธุรกิจ
ทางรอดของไทยในทศวรรษ 2020
ทางรอดในที่นี้ คือ การหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง
ถามว่าทำไมต้องหลุดพ้น อาจจะเป็นคำถามที่ไม่ถูกนักในเวลานี้ คำถามที่ถูกกว่าควรจะเป็น ทำไมต้องรีบหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางในทศวรรษนี้
คำตอบ คือ จำนวนประชากรวัยทำงานไทยได้เลยจุดสูงสุดมาแล้ว นั่นหมายความว่าระดับ Productivty จะไม่สูงขึ้นไปกว่านี้ถ้าเรายังอาศัยจำนวนคนและทักษะเดิมๆ แบบที่เคยทำมาในทศวรรษก่อน
ประเทศที่สามารถ Transform สู่ระดับรายได้ที่มีความมั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของโลกล้วนมาจากการพัฒนาทักษะของคนในประเทศ
เกาหลีใต้ ที่เคยล้าหลังกว่าไทย สามารถก้าวผ่านการเป็นประเทศกำลังพัฒนาด้วยพัฒนาทักษะในการสร้างเทคโนโลยี สร้างแบรนด์สินค้า สร้างเศรษฐกิจใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
ไต้หวัน มีประชากรเพียง 23 ล้านคน
มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งประเทศ พัฒนาทักษะในการผลิต และพัฒนาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ต้นน้ำที่โลกขาดไม่ได้ในยุค Digital
จะเห็นว่าทางรอดเดียวที่จะก้าวผ่านจุดเดิมได้ คือ การมีทักษะใหม่ที่เราไม่เคยมีมาก่อนในอดีต..
รายงานจาก World Economic Forum ชี้ให้เห็นถึงทิศทางอนาคตของประเทศไทย หากไม่สามารถพัฒนาทักษะให้มีความพร้อมต่องานใหม่ๆ บริษัทต่างๆจะไม่ตัดสินใจมาลงทุนหรือสร้างงานในไทย
เพราะปัจจัยสำคัญในตัดสินใจการจ้างงานตาม Location ต่างๆทั่วโลก ปัจจัยอันดับ 1 คือ มีบุคลากรที่มีความสามารถ (Talent Availability) ในอุตสาหกรรมนั้นๆไหม ส่วนปัจจัยด้านค่าแรงจะเป็นปัจจัยรอง
นอกจากนี้บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมใหม่ที่สามารถเป็น New S-Curve ของไทยได้ เช่น
Biotechnology
Information & Communication Technology หรือ
Healthcare
ต่างมองว่าหากจะตัดสินใจลงทุนสร้างงาน ประเทศนั้นต้องมีความพร้อมด้านทักษะของบุคลากรก่อน เพราะเป็น Competitive Advantage ที่ทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Infographic ข้างบนชี้ให้เห็นว่า Talent Availability เป็นปัจจัยอันดับแรก ของการทำให้ประเทศนั้นเกิดงาน
ยกเว้นใน
อุตสาหกรรมด้านการผลิตของอุปโภคบริโภค
อุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน
อุตสาหกรรมเหมืองแร่
ที่จะให้ความสำคัญเรื่องค่าแรงเป็นหลัก
เมื่อถามว่าเราจะเพิ่มระดับ Talent Availability ของไทยได้อย่างไร?
คำตอบ คือ ต้องพัฒนาให้บุคลากรในไทยให้มีทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการในอนาคต
สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือประเทศเรามี Skill Gap ในอุตสาหกรรมใหม่ที่เราต้องการจะไป
ความพร้อมของบุคคลากรยังคงเป็นคำถามหลักจากนักลงทุนต่างๆ เนื่องจากระบบการศึกษาไทยยังมุ่งเน้นการพัฒนาคนแบบยุคอุตสาหกรรมเดิม คือ เน้นความเชี่ยวชาญตามหลักวิชา ไม่ใช่การประยุกต์องค์ความรู้ในการพัฒนาจากบริบทของไทย ไม่ได้มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม หรือการเป็นผู้ประกอบการ
การที่ระบบการศึกษาไทยไม่ได้ออกแบบมาให้พร้อมต่อการปรับตัวสู่อุตสาหกรรมใหม่ ที่ต้องการทักษะรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการเกิดขึ้นของ Tech Firm และ การบริการรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือหลัก
แต่ในช่วง 5 ที่ผ่านมา โครงการ Reskill / Upskill ที่เอกชนเริ่มนำมาใช้สร้างแรงกระตุ้นในตลาดแรงงานได้ สิ่งที่ขาดในปัจจุบันและเป็นทางรอด คือ การปรับเปลี่ยน และยกระดับทักษะแรงงานอย่างเป็นระบบ
ตัวอย่างการพัฒนาทักษะอย่างเป็นระบบใกล้ๆบ้านเรา คือ โครงการ myskillsfuture ของประเทศสิงคโปร์
ซึ่งมีรายละเอียดและการลองผิดลองถูกมาตั้งแต่ปี 2016 แต่ใจความสำคัญคือการให้ Credit ที่มีมูลค่า 500 Singapore Dollar (ประมาณ 11,000 บาท @1 SGD = 22 บาท) แก่ประชาชนอายุมากกว่า 25 ปีสามารถเรียนคอร์สที่จัดให้บน Platform ของ myskillsfuture.sg
บน Platform มีทั้งคอร์สออนไลน์ และคอร์สที่ร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต เช่น คอร์ส Certificate in Digital Marketing/Engineering 4.0/Customer Service หรือ Professional Conversion Programme (PCP) for the ICT Sector เป็นต้น
จะเห็นว่าทางรอดของประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็คือการพัฒนาทักษะให้ตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตอยู่เสมอ โดยเฉพาะในโลกที่พัฒนาแบบ Exponential
10 ปีที่แล้วการเปลี่ยนแปลงเร็วเท่าไร
10 ปีต่อจากนี้การเปลี่ยนแปลงจะเร็วกว่า 10 แล้วอย่างแน่นอน
อ่านรายงานจาก World Economic Foum ได้ที่: http://www3.weforum.org/docs/WEF_Future_of_Jobs_2018.pdf
โฆษณา