2 ม.ค. 2020 เวลา 07:00 • ประวัติศาสตร์
เศรษฐกิจจีนสมัยใหม่ 4
“สีโคโนมิกส์”
การบริหารในยุคของหูจิ่นเทาถึงแม้ว่าสามารถรักษาการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจีนได้ในอัตราถึงร้อยละ 10 ต่อปี อย่างต่อเนื่อง แต่ในยุคหูจิ่นเทาก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นซึ่งก็คือ วิกฤติซับไพรม์ในปี ค.ศ.2007-2008
1
จึงทำให้หูจิ่นเทาดำเนินนโยบายเชิงอุปสงค์หรือเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศทำให้เกิดการลงทุนจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยมีการอัดฉีดเงินลงไปยังรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆเพื่อเร่งสร้างโครงสร้างพิ้นฐานหรือขยายรัฐวิสาหกิจมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ถึงแม้ว่าจะช่วยรักษาการเจริญเติบโตของประเทศต่อไปได้แต่ก็เกิดผลข้างเคียงตามมา คือเกิดอุปทานส่วนเกินนั่นคือ ผลผลิตที่ผลิตออกมามีมากเกินกว่าความต้องการในตลาด ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างอย่างเหล็กกล้า เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นเกินความต้องการเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีปัญหามลพิษที่รุนแรงในประเทศจากการเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมตั้งแต่ในอดีต
12
สีจิ้นผิง ผู้นำรุ่นที่ 5 ของจีน
เมื่อมาถึงยุคของสีจิ้นผิงผู้นำคนที่ 5 คนปัจจุบัน เขานอกจากจะได้รับภารกิจที่จะต้องรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังต้องรับมือกับปัญหาการผลิตส่วนเกินจากการเดินเนินนโยบายของผู้นำรุ่นก่อนซึ่งทำให้เกิดหนี้เสียในปริมาณมากและยังต้องรีบหาทางแก้ปัญหามลพิษที่นับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
จึงเป็นที่มาของนโยบายปฎิรูปเศรษฐกิจทางด้านอุปทานเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวและรักษาการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจต่อไป หรือ เรียกชื่อเล่นว่า “สีโคโนมิกส์” โดยมีประเด็นสำคัญสามข้อคือ
2
1.แก้ปัญหาการผลิตและอสังหาริมทรัพย์ส่วนเกิน
แนวทางในการแก้ปัญหาในด้านการผลิตส่วนเกินคือ จับรัฐวิสาหกิจที่มีการผลิตส่วนเกินรวมกับรัฐวิสาหกิจที่ต้องใช้ผลผลิตจากรัฐวิสาหกิจแรกมาควบรวมกันเพื่อใช้ประโยชน์จากส่วนเกิน นอกจากนั้นนโยบายการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคในต่างประเทศก็เป็นอีกทางหนึ่งในการะบายผลิตภัณฑ์ส่วนเกินออกไปได้เช่นกัน
ส่วนในด้านปัญหาอสังหาริมทรัพท์ส่วนเกิน แก้โดยรัฐบาลเข้าซื้ออสังหาส่วนเกินและนำไปบริหารทำให้เกิดเม็ดเงินกลับคืนมาเช่น ปล่อยเช่น และการควบคุมนโยบายสินเชื่อเพื่อให้คนยังมีความต้องการซื้อต่อไป นอกจากนั้นยังปรับเปลี่ยนระบบสัมมะโนครัวทำให้คนในชนบทมาซื้อที่อยู่และมาอาศัยในเมืองมากยิ่งขึ้น
5
Ref:http://www.abajournal.com/news/article/law_firm_leaders_report_lawyer_oversupply_and_chronically_underperforming_l
2.เน้นให้บริษัทเอกชนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
โดยออกนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นเช่น ออกกฎระเบียบทำให้ SME สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นจีนได้ง่ายขึ้นเพื่อระดมทุนไปใช้ดำเนินการหรือขยายธุรกิจได้ง่าย เป็นต้น
และลดภาษีให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นธุรกิจยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมถึงลดขั้นตอนของรัฐบาลที่มีต่อธุรกิจให้น้อยลง หรือกล่าวอีกนัยคือเพื่อลดต้นทุนการทำธุรกิจให้น้อยลงมากที่สุด ทั้งหมดนี้เพื่อทำให้ธุรกิจเริ่มได้ง่ายและโตได้เร็ว ส่วนธุรกิจที่ใช้ทุนเข้มข้นและเป็นธุรกิจที่เป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจในอนาคต อย่างเช่น โทรคมนาคม พลังงาน การบินการอวกาศ เป็นต้น ยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาลในรูปแบบรัฐวิสาหกิจเพื่อสามารถควบคุมทิศทางการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในระดับมหภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3
SME in China
3. ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ มีความสร้างสรรค์ มีมูลค่าเพิ่มในตัวแทนที่การผลิตที่เน้นปริมาณอย่างในสมัยก่อน
รัฐบาลได้ทำการศึกษาว่าแต่ละอุตสาหกรรมควรจะใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เมื่อทราบแล้วว่าจึงคิดต่อไปว่าจะได้มาซึ่งเทคโนโลยีนั้นอย่างไร เช่น การไปตั้งสถาบันวิจัยที่สหรัฐอมริกาเพื่อดึงนักวิจัยเก่งๆเข้ามาทำงานด้วย หรือ takeover บริษัทที่มีเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องใช้อยู่เพื่อนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ต่อ เป็นต้น โดยสีจิ้นผิงได้ประกาศแผน Made in China 2025 โดยกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายไว้ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ หุ่นยนต์ รถยนต์พลังงานสะอาด เป็นต้น และภายในปี 2030 เขาประกาศว่าประเทศจีนจะเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
1
Ref: https://www.whatphone.net/article/made-in-china-2025-gadget-coming/
ส่วนในนโยบายต่างประเทศที่สำคัญที่เพื่อนๆคงได้ยินกันมาบ้างคือ “One Belt One Road” คือการเชื่อมโยงความร่วมมือทางด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหมในอดีตทั้งทางบกและทางทะเลเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียและยุโรป โดยมีจีนเป็นฟันเฟืองหลักในการผลักดันความร่วมมือนี้
Ref: https://www.americansecurityproject.org/chinas-one-belt-one-road-an-ambitious-strategy-challenging-the-u-s/
One Belt คือ เส้นทางสายไหมทางบก คือการเชื่อมจีนเข้ากับเอเชียกลาง รัสเซีย ยุโรปตะวันออก กลางและตะวันตก
1
One Road คือ เส้นทางสายไหมทางทะเลที่เชื่อมจีนเข้าเกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย บังกลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน อิหร่านและตะวันออกกลาง ไปถึงทะเลแดง และสิ้นสุดที่ตุรกีและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือเป็นไปได้ที่จะเชื่อมโยงต่อไปทางมหาสมุทรอินเดียจนไปถึงแอฟริกา
Route of One Belt and One Road
ถึงแม้เส้นทางดังกล่าวไม่ได้ผ่านประเทศไทยโดยตรง แต่แผนยุทธศาสตร์ของประทศจีนนั้นครอบคลุมประเทศใกล้เคียงตามแนวเส้นทางถึง 65 ประเทศโดยมีประเทศไทยรวมอยู่ในนั้นด้วย
ทางรัฐบาลจีนได้ออกนโยบายให้การสนับสนุนกับต่างประเทศที่ต้องการสร้างโครงการตลอดเส้นทางสายไหม เช่น ทางรถไฟ โรงไฟฟ้า เขตนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น ในด้านการเงินโดยผ่านกองทุนต่างๆหรือผ่านธนาคารในประเทศจีน เช่น กองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) ของรัฐบาลจีนซึ่งถืออยู่ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, องค์กรระหว่างประเทศสองแห่งที่จีนจัดตั้งขึ้น ได้แก่ Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) ในปักกิ่งมีทุน 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ New Development Bank(NDB) ในเซี่ยงไฮ้มีทุน 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น
1
Ref: https://cordmagazine.com/news/serbia-becomes-member-of-asian-infrastructure-investment-bank/
Ref: https://www.eurasiareview.com/21072014-brics-new-development-bank-historic-game-changer-analysis/
เป้าหมายสูงสุดของผู้นำรุ่นที่ 5 อย่างสีจิ้นผิง คือการเห็นประเทศจีนแข็งแกร่งและกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
โดยเขาได้ประกาศไว้ว่า ในปี 2049 ซึ่งเป็นปีที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอายุครบรอบ 100 ปี จีนจะเป็น “ประเทศสังคมนิยมมหาอำนาจสมัยใหม่ที่ร่ำรวย ประชาชนเป็นใหญ่ เลิศวัฒนธรรม สมานฉันท์ และสวยงาม”
2
ขอจบประวัติศาสตร์ชุดเศรษฐกิจจีนสมัยใหม่ไว้แต่เพียงเท่านี้ครับ จะมีเรื่องอะไรให้ได้ติดตามกันต่อไปโปรดอดใจรอครับผม ขอบคุณที่รับอ่านครับ :)
References:
1
5.วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา ปีที่4 ฉบับที่1, คุณูปการของเติ้งเสี่ยวผิงที่มีต่อการสร้างสรรค์จีนให้ทันสมัย, ปิยะภพ มะหะมัด.
6.อาร์ม ตั้งนิรันดร. (2561). China 5.0: สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่และแผนการใหญ่ AI. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา