Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Savvy Investor
•
ติดตาม
12 ม.ค. 2020 เวลา 02:21 • ธุรกิจ
12 วิธีเอาตัวรอดจากพายุเศรษฐกิจในปี 2020 (ตอน1/2)
โดย Savvy Investor (แซฟวี่ อินเวสเตอร์)
“Slow Life แต่ไม่ Slow Rich”
จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและในประเทศไทยหลายหลายคนเริ่มบ่นว่าเศรษฐกิจไม่ดี กูรูบางท่านก็บอกว่าปี 2020 เศรษฐกิจทั่วโลกจะวิกฤตลง แต่ที่แน่แน่ทุกคนฟันธงไปในทางเดียวกันว่า “อนาคตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป” ( New World) ครับ
ในภาษาจีนคำว่า “วิกฤต” ประกอบด้วยตัวอักษรสองตัวที่อยู่รวมกัน ตัวแรกแปลว่า “อันตราย”ส่วนตัวที่สองแปลว่า “โอกาส” ผมจึงเชื่อว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาสอยู่เสมอเพียงแต่ใครจะมองเห็น และพร้อมที่จะคว้าไว้เท่านั้นเอง
บทความนี้ผมได้รวบรวมจากการฟังกูรูหลายๆท่านและอ่านหนังสือหลายๆเล่ม จึงสรุปมาเขียนเก็บไว้ ปีใหม่นี้จึงคิดที่จะแชร์เป็นของขวัญปีใหม่ ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่อ่าน ครับ หากใครได้ประโยชน์ ก็ขอยกความดีให้ ครูอาจารย์ และกูรูต่างๆที่ให้ความรู้ผมมาครับ
เชิญอ่าน 12 วิธีเอาตัวรอดจากพายุเศรษฐกิจในปี 2020 ได้เลยครับ...
1. เราต้องเข้าใจ “โลกใหม่” ก่อนจะไปสู่วิธีรับมือพายุเศรษฐกิจข้อถัดไป ปัจจุบันโลกเราได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ หรือ New Normal Economy ด้วยความกัาวหน้าทางเทคโนโลยี, ดิจิตอล ทรานฟอร์มเมชั่น (Digital Transformation) และ ดิสรัปชั่น (Disruption) ในอุตสาหกรรมต่างๆ แม้กระทั่งพฤติกรรม ของพวกเรายังเปลี่ยนแปลง เราใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือนานมาก และได้ทำการซื้อขาย ผ่านทางแพลทฟอร์ม (Digital Platform ) มากขึ้นเรื่อยๆ ระบบธุรกิจได้ตัดตัวกลาง (หยี่ปั้ว ซาปั๊ว) ออกไปมากมาย อีกทั้งความก้าวหน้าของระบบ ขนส่ง (Logistic) อย่างมาก ที่เกือบทุกประเทศในโลก ถูกเจาะตลาด โดย แหล่งที่ผลิตสินค้าที่ถูกและดีของโลกมากมาย ทำให้ผู้ผลิตในประเทศเริ่มมีปัญหาแล้วปิดตัวลงอย่างช่วยไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) และสงครามการค้า (Tradewar) อีกด้วย ทำให้กติกาการค้าในโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาครับ สรุปเพียงข้อแรกก็ทำให้เราต้องมีทัศนคติ(Mind Set) ในแง่บวกต่อการ “ปรับตัว” และ “เปลี่ยนแปลง” ให้ทันสถานการณ์ครับ
* ขอเพิ่ม จากข้อเขียนครั้งแรกในวันที่ 12 มค. 63 ว่า นอกจากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ยังมีเรื่องโรคระบาดที่เป็นระดับ Global Pandemic ที่กระจายทั่วโลกแล้วในวันนี้ ซึ่งจะเป็นตัวเร่ง ให้ธุรกิจ การค้าขาย การเงินการลงทุน ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ยิ่งขึ้นครับ อะไรที่กำลังจะเกิด ก็จะเกิดและปังเร็วขึ้น ธุรกิจอะไรที่กำลังจะหายไป ก็จะไปเร็วขึ้นไปอีกครับ(19มีค63)
2. อย่าพึ่งพา รายได้จากแหล่งเดียว (Never rely on single income) หากคุณคิดว่าการเป็น มนุษย์เงินเดือนมั่นคง มันเป็นความจริง แค่ในอดีต แต่ในปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้น หรือแม้กระทั่งการเป็นเจ้าของธุรกิจ ในปัจจุบันก็อาจจะไม่มั่นคงอีกต่อไป เช่นหากคุณเป็นเจ้าของโรงงานผลิต ถุงพลาสติก ผมเชื่อว่ากระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในตอนนี้ คงทำให้คุณ นอนไม่หลับแน่นอน แต่ถ้าคุณอยากเป็นเศรษฐีเลย คุณต้องมีแหล่งรายได้หลายๆช่องทาง ดังในภาษาอังกฤษมี ประโยคที่ว่า “The Average Millionaire has 7 sources of income “ หรือ “เศรษฐีส่วนใหญ่ มีรายได้ โดยเฉลี่ยถึง 7 แหล่งรายได้ “ การมีที่มาของรายได้ มากกว่า 1 ช่องทางนั้น ทำให้เราไม่ต้องไปฝากชีวิตและอนาคต อยู่กับใครคนใดคนหนึ่ง และลดความผันผวนของชีวิตเราได้มากเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้
3. เน้น สร้างรายได้ที่มาจากผลของงาน ไม่ใช่รายได้จากการขายเวลา ของคุณ ( Sell Results, Dont sell Time ) เมื่อคุณเริ่มมองหา รายได้แหล่งที่ 2 หรือ3 หรือมากกว่านั้น เวลาจะกลายเป็นข้อจำกัดทันที เพราะคนเรามีเวลาจำกัด 24 ชม. เท่าๆกันทุกวัน ดังนั้น การขายเวลามากเกินไป เพื่อแลกกับเงิน อาจจะไม่คุ้มค่า และเป็นการตัด เวลาของครอบครัว เวลาพักผ่อน เวลาออกกำลังกาย เวลาหาความรู้เพื่อลับสมอง หรือเบียดเบียนงานประจำของคุณ รวมถึง ตัดโอกาส ในด้านอื่นๆเช่นกัน แต่แน่นอนว่าคุณยังควรตั้งใจทำงานในรายได้แหล่งที่1 ของคุณ เช่นเดิมเพราะนั่นคือฐานที่มั่นของคุณ ครับ
4. หาแหล่งรายได้ใหม่ๆ (Finding New S Curve) ถ้าคุณ เป็นเจ้าของธุรกิจ คุณควรหา สินค้าหรือบริการใหม่ๆ หรือตลาดใหม่ๆ ที่จะสามารถเป็น แหล่งรายได้ที่เพิ่มเติม ให้กับธุรกิจคุณ มากขึ้น เผื่อกรณี ที่สินค้าหรือบริการปัจจุบัน อาจจะถึงจุดอิ่มตัวหรือถดถอยในอนาคต เช่น สมมติว่าคุณมีร้านข้าวมันไก่ ในซอยๆหนึ่ง กับลูกค้า ในซอยนั้น ขายตั้งแต่เช้า 7.00 น. ถึง 15.00 น. สิ่งที่ผมจะทำตามหลักการข้อนี้ เพื่อลดความผันผวนของธุรกิจข้าวมันไก่ของผม โดยทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด (หรือทั้งหมด) จากสิ่งต่อไปนี้ เช่น 1. เพิ่มมาขายอาหารประเภทอื่น เช่นหมูสะเต๊ะ หรือสลัดเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ ลูกค้าเดิม หรือขยายฐานลูกค้าใหม่ที่ปกติไม่ทานข้าวมันไก่ในซอย 2. ขายลูกค้ากลุ่มใหม่ในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ซอยที่เราขายอยู่ ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆเช่น Food Panda , Grab, เป็นต้น 3. ปล่อยเช่าหน้าร้านช่วง หลัง 16.00 น. ไปแล้ว ให้รถเข็นขายก๋วยเตี๋ยว (เช่น ชายสี่ ) + ของหวาน , อื่นๆ มาเช่าหน้าบ้านเรา ในช่วงเวลาที่เราไม่ได้ทำงาน แบบว่า นอนหลับยังได้ตัง (แบบนี้เรียก พาสซีฟ อินคัม Passive Income)
5. ลดการใช้เงินในอนาคต กับสิ่งไม่จำเป็น เช่นซื้อของที่ไม่จำเป็น ด้วยบัตรเครดิต หรือ เงินกู้ แม้จะมีธนาคาร มาเสนอให้เราเป็นหนี้ก็ตาม
ข้อเตือนใจคือ ...
อย่าซื้อของ เพราะคำว่า “ของมันต้องมี” หรือ “ใครๆเขาก็มี” มีคำกล่าวจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่า “ถ้าคุณซื้อของที่ไม่จำเป็น สักวันคุณต้องขายของที่จำเป็นออกมาแทน” ผมเขียนแบบนี้ ไม่ใช่ว่าคุณจะซื้อของที่คุณชอบหรือต้องการไม่ได้ แต่คำแนะนำคือ คุณควร (อยู่ในสถานะที่มั่นคง ระดับนึงเสียก่อน ** ซึ่งจะอธิบายในข้อถัดๆไป). เงินที่เซฟได้จากข้อ 5. นี้ เราควรจะเอาไปใช้ลงทุนในข้อ 6-7-8 ก่อนครับ
1
6. ลงทุนหาความรู้ ให้ตัวเอง อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะ ถ้าคุณไม่มีเวลาลับขวาน ของคุณให้คม ต่อให้คุณขยันมากจะตัดฟืน สัปดาห์ละ 7 วัน โดยไม่หยุดพักเลย จะได้ผลไม่เท่ากับ คนหยุดพักลับขวานบ้าง พักเหนื่อยบ้าง แล้วไปตัดฟืน แค่ 4-5วันต่อสัปดาห์ บางครั้งการรีบๆร้อนๆ ทำอะไรแบบขยันสุดๆ(ในสายตาเจ้านาย ) โดยไม่ดูทิศทางให้ดี อาจจะเป็นการตัดต้นไม้ผิดต้นก็ได้ หรือเข็นครกขึ้นภูเขา พอถึงยอดเขา ค่อยพบว่าเข็นขึ้นเขาผิดลูก 555 จำไว้ว่าในชีวิตจริง ไม่มีคะแนนจิตพิสัย (คะแนนความตั้งใจ) แบบที่เราเคยได้ตอนเรียนชั้นประถม หรือมัธยมต้น แต่เราวัดกันที่ผลงานที่ดีและถูกต้อง ดังนั้นในยุคนี้ ควรใส่ใจกับความรู้ ความเข้าใจ ในทิศทาง มากกว่า การก้มหน้าก้มตา ทำงานอย่างเดียวโดยไม่แสวงหาชุดความรู้ใหม่ๆ ให้ทันกับกติกาใหม่ ครับ ดังคำพูดของ อับราฮัม ลินคอล์น ที่พูดว่า “ถ้าให้เวลาผม 6 ชม. เพื่อตัดต้นไม้ ผมจะใช้ 4 ชม. แรก ในการลับขวานให้คมซะก่อน “ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยลับขวานของคุณ เช่น อ่านหนังสือดีๆ คอร์สเรียนเพิ่มความรู้ กับ”ตัวจริง” ที่ประสบความสำเร็จจริงๆในเรื่องนั้นๆ เรียนรู้จากคนรอบข้าง เป็นต้นครับ
50 บันทึก
248
145
90
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
วิธีเอาตัวรอดจากพายุเศรษฐกิจและ Covid19 ในปี 2020
50
248
145
90
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย