12 ม.ค. 2020 เวลา 05:00 • ธุรกิจ
พื้นฐานของแนวความคิดด้านการตลาดยุคใหม่มาจากไหน?
ตอนที่ 4
ตอนนี้จะเป็นตอนที่เข้มข้นมากๆที่จะทำให้สามารถสร้างผลลัพธ์ใหม่ได้เลย จากการที่เราได้ใช้ข้อมูลในตอนที่ 1-3 หัวข้อนี้คือ REAL และตอนที่ได้แบ่งปันก่อนหน้านี้กล่าวถึง R=Relationship (ความสัมพันธ์) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่หากมีเพียง R ก็ยังไม่เติมเต็มเราได้เท่าไรนัก ดังนั้น EAL จึงเป็นสิ่งที่จะมาเติมเต็มเรื่องนี้ให้นั่นเอง
1
REAL หลัก 4 ประการที่นำไปสู่ความสำเร็จ
เราได้กล่าวถึง R=Relationship (ความสัมพันธ์) มาแล้วข้างต้น และจะได้พูดถึงตัวต่อไป นั่นคือ E A L
E=Equipping หรือจะเรียกว่าเครื่องมือก็ได้ เป็นการเสริมสร้างหรือแรงหนุน ผู้คนที่ประสบความสำเร็จมากมีการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้อื่น พวกเขาเก่งด้านการฝึกอบรมเสริมสร้างชีวิตของผู้อื่น วิธีเดียวที่เราจะผนึกวิสัยทัศน์ของเราก็คือการทำงานร่วมกับผู้อื่น วิธีร่วมกันสานความฝันอีกนัยหนึ่งก็คือหากเราต้องทำงานลำพังเพียงเรามีข้อจำกัดในสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ถ้าเราสามารถฝึกคนและพัฒนาคนและสามารถเสริมสร้างคนและพัฒนาทีมงานและข้อคิดก็คือ ทีมงานสานฝันให้สำเร็จเมื่อคนมาพบกันเป็นทีมและเมื่อเราพัฒนาทีมเราก็จะทำฝันให้เป็นจริง
1
Credit: Freepik.com
พบว่าในแต่ละช่วงทศวรรษสามารถเป็นตัวแทนความเคลื่อนไหวทางธุรกิจซึ่งแตกต่างกันออกไป ในค.ศ. 1980 กุญแจสำคัญคือการจัดการ ในช่วงนี้นักบริหารผู้ยิ่งใหญ่เริ่มปรากฏตัว ในช่วงนี้การบริหารจัดการองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญที่ได้รับการเน้นย้ำมากในระดับองค์กรใหญ่ๆ และในปี ค.ศ. 1990 เรามีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากการจัดการกลายมาเป็นการเป็นผู้นำนั่นเพราะว่าหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากการจัดการมีข้อสันนิษฐานว่าทุกๆอย่างจะไม่เปลี่ยนแปลง “ผู้จัดการไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเขาชอบทุกอย่างให้อยู่ในระเบียบ เขาอยากให้ทุกๆอย่างเป็นเหมือนเดิมและการจัดการแปลว่าการควบคุม”ผู้จัดการก็ชอบการควบคุมแต่นี่ไม่ใช่ทั้งหมดของการเป็นผู้จัดการองค์กรยังต้องการผู้จัดการ
Credit:http://operationkm.blogspot.com/2014/11/leader-and-manager.html
แต่การเป็นผู้นำตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงและผู้นำชอบการเปลี่ยนแปลงมากกว่าผู้จัดการ ดังนั้นเมื่อมีภาวะของการเปลี่ยนแปลง ในองค์กรจึงเรียกร้องให้พัฒนาผู้นำ เพราะผู้นำมีวิสัยทัศน์และอยู่เบื้องหน้า ผู้นำแก้ไขปัญหา ฉะนั้นเราจึงเปลี่ยนแปลงจากความคิดของผู้จัดการมาเป็นความคิดของผู้นำ
และในช่วงนี้และมีการเปลี่ยนแปลงอีกเมื่อหมุนมาถึงปี ค.ศ.2000 ใจความสำคัญในวัฒนธรรมขององค์กรธุรกิจก็คือการมีทีมผู้นำ และเดี๋ยวนี้หากจะประสบความสำเร็จในองค์กรเราต้องพัฒนาทีมผู้นำ ส่วนหนึ่งของเหตุผลก็คือในเราไม่สามารถทำทุกๆอย่างได้ดีบางประการที่เป็นคุณสมบัติของผู้นำก็อยู่ในระดับปานกลางหรือน้อยมาก
1
ยกตัวอย่างเช่นการนำทางที่เราไม่สันทัดทำได้ไม่ดี เราก็ควรจะพัฒนาทีมงานของเราและหาคนที่สันทัดด้านการนำทางเมื่อมาถึงจังหวะที่ต้องนำทางในองค์กรเราต้องยื่นหน้าที่นี้ให้กับคนที่ถนัดในการทำสิ่งนี้ในทีมนั่นเอง เพราะผู้นำไม่ได้เป็นเพียงคนนำเท่านั้นแต่เป็นผู้ตามด้วยมีตัวอย่างเหคุการณ์ตัวอย่างเกิดขึ้นเมื่อมีชายหนุ่มผู้หนึ่งที่พึ่งจบการศึกษาในระดับปริญญาโทมาด้านการจัดการเขาบอกว่าเขาไม่ค่อยมีเวลาและถามว่า “สิ่งเดียวที่เขาควรจะรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้นำคืออะไร”
https://teamsdemo.office.com/
“แต่การเป็นผู้นำไม่สามารถที่จะความรู้ในข้อเดียวได้เราต้องรู้หลายอย่างในหลายๆด้านที่จะเป็นผู้นำ”
การเป็นผู้นำไม่ได้หมายความว่าถ้าเรามีวิสัยทัศน์เราจะเป็นผู้นำได้ เราจึงต้องพัฒนาทีมผู้นำการสร้างทีมผู้นำก็เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อทำให้แต่ละคนดีขึ้นไม่ใช่การแข่งขันผู้นำที่ยิ่งใหญ่เข้าใจคุณค่าของการที่มีคนช่วยเหลือเขา
1
“แต่ผู้นำที่ไม่มั่นคงมักจะทำทุกอย่างด้วยตนเอง”
“การที่เรามีความคิดที่ดีและอีกคนในทีมก็มีความคิดที่ดีและนำมาแบ่งปันกันดังนั้นเราจะมีความคิดที่ดี 2 ประการและเขาก็มีความคิดที่ดี 2 ประการเราจึงมีความคิดที่ดีเพิ่มอีกเท่าหนึ่ง”
1
เราเข้าใจว่าเมื่อเรานำคนเข้ามาในทีมเราเพิ่มคุณค่าซึ่งกันกัน และมันมีมากไปกว่านั้นเมื่อความคิดที่ดี 1 ประการบวกกับความคิดที่ดีอีก 1 ประการ จึงกลายเป็นความคิดที่ดี 2 ประการ และมันสร้างอะไรให้เกิดขึ้น มันทำให้เกิดพลังของความเป็นทีม และเมื่อเราได้ความคิดที่ดีอันแรกเราก็เริ่มได้ความคิดที่ดีๆหลายๆอัน แล้วเราได้ความคิดที่ยิ่งใหญ่มาจากโหนล่ะ ก็มาจากความคิดดีๆหลายอันรวมกัน ความคิดที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้ถือกำเนิดจากสุญญากาศ ความคิดที่ยิ่งใหญ่มีที่มาที่ไป เราจึงต้องมีทีมความคิดและเมื่อทีมผู้นำทำงานเป็นทีมฝันก็กลายเป็นจริง
1
ความสำเร็จในการสร้างวิสัยทัศน์ ในฐานะผู้นำความสำเร็จในการสร้างวิสัยทัศน์ในฐานะผู้นำ ไม่ใช่อยู่ที่การมีวิสัยทัศน์แต่อยู่ที่ความสามารถของเราที่จะพาวิสัยทัศน์นี้ไปสู่วิสัยทัศน์ของทีมให้ได้ สิ่งที่เราต้องทำคือการนำวิสัยทัศน์ของฉันไปสู่วิสัยทัศน์ของเรา เมื่อเป็นของเราและทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันเราก็กำลังก้าวหน้าไป นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องพัฒนาทีม บุคคลที่ประสบความสำเร็จอย่างมากนำความสำเร็จมารวมกัน พวกเขาทวีคูณความสำเร็จ เพราะว่าเขารู้ว่าจำเป็นต้องฝึกอบรมและพัฒนาคน
มี 2 คำถามที่สำคัญต่อตัวเราคือ เราวางแผนเพื่อการเติบโตอย่างไรในชีวิตส่วนตัวเรา เรากำลังทำอะไรเพื่อการเติบโตของเรา การเติบโตไม่ใช่อุบัติเหตุเราต้องเติบโตอย่างมีจุดหมายคำถามที่ 2 ก็คือเราวางแผนอย่างไรเพื่อการเติบโตของคนรอบข้างเรา เพราะทั้งเราและคนรอบข้างไม่ได้เติบโตแบบอัตโนมัติ การวางแผนในการเติบโตของเราและทีมจะเกี่ยวข้องกันโดยตรงกับความสำเร็จของทีม
1
ผู้คนที่อยู่วงในของเราเป็นผู้กำหนดระดับความสำเร็จของเรา ที่จริงแล้วคนที่อยู่รอบข้างเราจะเป็นทั้งบุคคลที่จะยกระดับหรือลดระดับเราหรือทำให้เราล่มสลาย ฉะนั้นเราต้องเติบโตและต้องนำทีมให้เติบโต
กฎประการแรกของทีมงานก็คือ กฎแห่งการให้ความสำคัญ กล่าวว่า คนหนึ่งคนเป็นจำนวนน้อยเกินไปที่จะประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ได้ อธิบายง่ายๆก็คือเป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ด้วยตัวเราเองเพื่อมวลมนุษย์โดยปราศจากความช่วยเหลือจากผู้อื่น ให้ลองนึกถึงคนสำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่เขาสามารถประสบความสำเร็จโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากใครบ้าง
Ctedit: https://www.agrocares.com/en/news/magnesium/ (Growth)
ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จสิ่งที่ควรทำคือใช้เวลาในการพัฒนาทีมงาน แต่มากไปกว่าการพัฒนาทีมเราต้องพัฒนาทีมที่ยิ่งใหญ่ มีกฎที่สำคัญอีกประการคือ “กฎแห่งยอดเขาเอฟเวอเรส” กล่าวว่าเมื่อความท้าทายขยับสูงขึ้น ความต้องการทีมงานก็เพิ่มระดับขึ้น กฎนี้กล่าวว่าถ้าคุณปีนเขาเอฟเวอเรส คุณต้องหาทีมงานที่ดีคุณทำด้วยตัวเองไม่ได้ แต่ถ้าคุณจะปีนเขาลูกเล็กคุณก็ปีนเองได้
ขอให้นิยามอีกอย่างคือนิยามการฝันร้าย คือเมื่อเรามีความฝันที่ยิ่งใหญ่แต่เรามีทีมงานที่แย่ นั่นแหละคือฝันร้าย สิ่งที่ต้องทำคือเราต้องปรับขนาดของความฝันให้เท่ากับขนาดของทีมงานlของเรา
1
ที่มา:
How to be a REAL success seminar, 14th July 2015 by John C Maxwell
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา