Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Savvy Investor
•
ติดตาม
18 ม.ค. 2020 เวลา 02:40 • ธุรกิจ
เศรษฐกิจใหม่ในโลกนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว ทำความเข้าใจ เพื่อก้าวต่อไป อย่างมั่นคง(New Normal in New Economy )
โดย แซฟวี่ อินเวสเตอร์ (Savvy Investor)
เทือกเขาจุงเฟรา สวิสเซอร์แลน ภาพโดย PK
เศรษฐกิจใหม่ในโลกนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดในไทยต่อไป เขาเรียกว่า New Normal หรือ ภาษาไทย คือ เศรษฐกิจในรูปแบบปกติใหม่ หรือบริบทใหม่ คือมันจะเปลี่ยนไปใหม่และไม่กลับมาจุดเดิมแล้ว
เศรษฐกิจแบบนี้ จะไม่เรียกว่า เศรษฐกิจถดถอย(Recession ) นะครับ เพราะถ้าถดถอยแปลว่า ลงแล้วมีขึ้นกลับมาอีก แต่ ถ้าเป็น New Normal มันจะไม่กลับมาเป็นแบบเดิมอีกแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจ หนังสือ กล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม สื่อสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมสิ่งทอคอมพิวเตอร์Desktop จะไม่มีวันรุ่งเรืองเท่าเดิมได้อีกเหมือนเดิม แต่จะมีธุรกิจอื่นๆ เข้ามาแทนที่ เช่น smart phone, digital media เป็นต้น คือมีคนจนลงและก็มีคนรวยขึ้น
เราอยู่ในยุค Over production capacity หรือกำลังการผลิตล้นโลก AI และหุ่นยนต์ทำงานบางประเภทได้ดีกว่ามนุษย์ แพลตฟอร์มเข้ามาเป็นตัวกลางขายสินค้าและบริการ แทนพ่อค้าคนกลางและห้างร้านมากมาย แน่นอนว่า สิ่งใดๆที่ล้นโลก หรือ มากกว่าความต้องการ ก็จะค่อยๆหยุดผลิตไป เช่นคนงานหรือพนักงานในโรงงานทอผ้า หรือโรงพิมพ์ ก็ต้องค่อยๆถูกเลิกจ้างไปหรือค่าแรงไม่ขึ้น เพราะ ราคาสิ่งทอก็ลดลง บวกกับเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้แรงงานลดลงอย่างมาก อันนี้ทำให้ ท่านๆเหล่านี้อาจจะมาบอกว่าเศรษฐกิจไม่ดี หรือถ้าไปถามแม่ค้าขายข้าวเหนียวหมูปิ้ง หน้าโรงงานนี้ เขาก็จะตอบว่าเศรษฐกิจไม่ดี (แต่จริงๆแล้ว งาน ของลค. ของแม่ค้าอยู่ในช่วงขาลงแบบถาวรต่างหาก ) แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีอาชีพใหม่ๆ หรือ ธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย คนมีรายได้ใหม่เกิดขึ้นมากมาย แต่มันดันเป็นคนละกลุ่มกัน กลุ่มที่อาชีพ หายไป ก็จะบอกว่าเศรษฐกิจไม่ดี กลุ่มที่มีอาชีพใหม่ๆ ดีขึ้นก็จะไม่พูดอะไร (รวยแบบเงียบๆ )
ประเด็นสำคัญ คือ เรารู้หรือไม่ว่าเรากำลังอยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยน บริบททางเศรษฐกิจใหม่?!? (แปลว่าไม่หวนกลับคืนแบบเดิม) เพราะตอนนี้คนส่วนใหญ่ เข้าใจว่า เศรษฐกิจถดถอย(แปลว่ายังมีหวังในการรอคอยเศรษฐกิจขาขึ้น)!!!
ถ้าเศรษฐกิจถดถอย เราจะตอบสนองต่อสภาพเศรษฐกิจอีกแบบ เช่น ประหยัด รัดเข็มขัด เพื่อประคองให้อยู่ได้จนถึงเศรษฐกิจดีขึ้น แต่ถ้าเราเข้าใจว่า อดีตมันไม่ย้อนกลับมาแล้ว อาชีพบางอาชีพกำลังจะสูญพันธุ์แล้ว เราจะปรับตัวอีกแบบครับ เช่นถ้าเป็น พนักงานโรงงานทอผ้า ก็ต้องไปหาโรงงานอื่นๆเลยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นหรือเปลี่ยนอาชีพไปเลย ส่วนแม่ค้าหมูปิ้ง อาจจะย้ายไปขายที่อื่นดูบ้าง
ระบบเศรษฐกิจโลก ในปีนี้และปีถัดๆไป คือโลกเราจะเข้าสู่ยุค New Normal Economy (ยุคเศรษฐกิจแบบปกติใหม่) อย่างเต็มตัวมากยิ่งขึ้น การเกิดการก้าวกระโดดของบริบท รอบๆตัว(Context Disruption) และการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของเกมส์เศรษฐกิจต่างๆ จะเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ เสมือนพายุ ที่แปรปรวน ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ระบบการเงินโลกและการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ
ในยามแบบนี้ ถ้าเป็นสมัยก่อน หัวหน้าเผ่าบางเผ่าก็จะ แนะนำชนเผ่าตนเองให้วิ่งหนีไปหลบอยู่ในถ้ำที่ปลอดภัย เสบียงที่เก็บสะสมไว้ ก็ให้เอามาใช้ในสถานการณ์นี้ ไม่ออกไปหาเพิ่ม แต่ให้ใช้อย่างประหยัด รอให้อากาศที่แปรปรวน สงบลงเสียก่อน แล้วค่อยออกมา นั่นอาจจะเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุด ในยุคนั้น!! เพราะพายุสมัยนั้นมันเกิดเพียงชั่วคราว!! แต่ถ้าเป็นสมัยนี้ การหลบเข้าถ้ำที่ปลอดภัย นานๆ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก เพราะพายุแห่งความแปรปรวน ทางเศรษฐกิจ การเมืองโลก นับจากนี้ จะเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างเป็นปกติ!! ( ผู้นำประเทศมหาอำนาจ อาจจะได้รับอิทธิพลจาก หนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่าThe Game Changer ที่เหล่า CEO ในอเมริกาอ่าน*) หากคุณเอาแต่อยู่ในถ้ำ รอจนเสบียงใกล้ๆจะหมด ถึงรวบรวมความกล้า ออกมาจากถ้ำ แต่เมื่อวันนั้นมาถึง คุณอาจจะพบว่าสิ่งที่คุณต้องปรับตัว นั้นมันมากกว่าคนที่ตัดสินใจเผชิญหน้าตั้งแต่แรก ก็ได้...
บางครั้งการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนเกมส์ เป็นการพลิกวิกฤติ เป็นโอกาสก็ได้ โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้เกิดมาแบบคาบช้อนเงิน ช้อนทองมาเกิด ที่จะสามารถพลิกสถานะ ขึ้นมาได้ง่ายขึ้น เพราะใน ยุคก่อน บนกฎเกณฑ์เดิมๆ ผู้ประกอบการรายเล็ก ยากมากที่จะโฆษณาสินค้าตัวเองลงหนังสือพิมพ์ระดับประเทศ อย่างไทยรัฐ หรือเดลินิวส์ และแทบจะไม่ต้องฝันเลยว่าจะได้ลงโฆษณาในทีวี แต่พายุแห่งการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับแฟลตฟอร์มในโซเชียลมีเดีย ทำให้ยักษ์ใหญ่ กับ ผู้ประกอบการรายเล็กๆ สามารถปรากฎตัวบนหน้าจอมือถือของกลุ่มเป้าหมายได้ไม่แพ้กัน ใครจะรู้ว่าร้านอาหารเล็กๆ ในเมืองท่องเที่ยวเล็กๆ อาจจะเป็นเป้าหมายหลัก ของนักท่องเที่ยวจากอีกมุมนึงของโลก ก็เป็นได้ มากกว่าภัตตาคารในโรงแรมห้าดาว เสียอีก ...
ที่เขียนบทความนี้ขึ้นมา เพราะช่วงหลังๆได้อ่านแต่บทความที่ส่งเสริมให้ผู้คน หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำ แล้วใช้เสบียงอย่างประหยัด แล้วรอเพียงปัจจัยภายนอกดีขึ้น ค่อยออกมาลงทุน ทำมาหากิน(แบบเดิมๆ) กันใหม่ ซึ่งค่อนข้างสวนกับความเป็นจริงในโลกปัจจุบันและอนาคต (เช่น ถ้าคุณทำธุรกิจร้านขายเสื้อผ้า วันนี้มีคนบอกว่าเศรษฐกิจไม่ดี อย่าลงทุนเพิ่มนะ รอหน่อย อีก1-2 ปี รอเศรษฐกิจดี (ซึ่งต่อไปคำว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีจะล้าสมัย**) , รอดอกเบี้ยลดลง, รอเลือกตั้ง , รอรัฐบาลใหม่, รอจีนเลิกทะเลาะกับอเมริกา, รออังกฤษออกจากสหภาพยุโรปก่อน (Brexit) , รอ...108-1009 บราๆๆ เดี๋ยวอีก2 ปี นะ ค่อยมาลุยใหม่ ...!?!? คุณคิดว่าอีก2 ปี คุณจะล้าหลังคนอื่น หรือได้เปรียบคนอื่น?!? ... ที่สำคัญใครจะรู้ว่าอีก 2 ปีข้างหน้ามันจะไม่มีประเด็นอื่นๆอีก ดังนั้นสิ่งที่ควรจะทำคือ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง และ สร้างปัญญา(Wisdom)ในการสร้างอนาคตใหม่จากโอกาสแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ แต่นอกเหนือจาก ปัญญา อย่าลืม เตรียมจิตใจ ให้กล้าหาญและทัศนคติ พร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างสนุกสนาน !! ครับ
อธิบายเพิ่มเติม
* หนังสือ The Game Changer พูดเกี่ยวกับ ตัวเปลี่ยนแปลงเกมส์ หรือการเปลี่ยนกฎกติกาการแข่งขันต่างๆ ซึ่งผมได้มีโอกาสอ่านเมื่อหลายปีก่อน เป็นหนังสือที่ เหล่า CEO ของบริษัทชั้นนำในอเมริกาต้องอ่าน ซึ่งเดาว่า โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดี อเมริกา ก็คงเคยอ่านเช่นกัน แล้วนำมาใช้ในการบริหารประเทศ ในยุคที่ อเมริกากำลังจะเพลี่ยงพล้ำต่อจีน จึงพยายามเปลี่ยนแปลง กฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจและรัฐศาสตร์ จึงทำให้โลกเราปั่นป่วน ขึ้นไปอีก แน่นอนว่า คุณหนีไม่พ้นแน่ๆ
** ทำไมคำว่า เศรษฐกิจดี หรือไม่ดี มันอาจจะกำลังล้าสมัย ?!? ตอบสั้นๆ คือเราเข้าสู่ยุค New Normal ที่เกิดทั้ง เงินเฟ้อ เงินฝืด เกิดขึ้นพร้อมๆกันในประเทศหรือจังหวัด เดียวกัน มันขึ้นอยู่กับว่า อุตสาหกรรมไหน ธุรกิจใคร ต่อไปใครบอกว่าเศรษฐกิจไม่ดี เราต้องถามกลับว่า เศรษฐกิจใคร? ที่ไม่ดี ? มันเป็น ปัจเจกเศรษฐกิจ (Individual Economy) หรือเศรษฐกิจรายบุคคลๆไป
สุดท้ายนี้ ตามพระพุทธองค์สอน ครับ ใดๆในโลกล้วน อนิจจัง หมุนเวียนเปลี่ยนไป ครับ สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับ
จนกว่า เราจะพบกันอีกครัง
16 บันทึก
66
30
27
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
วิธีเอาตัวรอดจากพายุเศรษฐกิจและ Covid19 ในปี 2020
16
66
30
27
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย