Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
22 ม.ค. 2020 เวลา 12:53 • การศึกษา
“แก้ไขใบรับรองแพทย์เพื่อหลอกนายจ้าง เรื่องอาจร้ายแรงกว่าที่คิด!”
ในบางครั้ง การเจ็บป่วยก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และคงไม่มีใครอยากป่วยไข้จนถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อเป็นเวลานาน ๆ
ซึ่งกฎหมายแรงงานก็ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยโดยปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน
สำหรับนายจ้างนั้น กฎหมายก็ได้กำหนดให้สามารถขอใบรับรองแพทย์จากลูกจ้างที่ลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปได้ เพื่อจะได้ตรวจสอบและป้องกันไม่ให้ลูกจ้างใช้วันลาป่วยไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
โดยรายละเอียดในใบรับรองแพทย์นั้น มักจะมีข้อความระบุว่าคนไข้ป่วยเป็นอะไร และเห็นสมควรหยุดงานเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยและพักผ่อนเป็นเวลากี่วัน
แต่ทราบหรือไม่ว่าใบรับรองแพทย์นั้น หากลูกจ้างได้แก้ไขข้อความเพื่อทำให้นายจ้างหลงเชื่อว่าใบรับรองแพทย์นั้นมีข้อความตามที่ได้แก้ไข การกระทำดังกล่าวอาจเป็นความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม และอาจถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชยได้
1
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ลูกจ้างได้ลาป่วยเป็นเวลา 3 วัน และได้นำส่งใบรับรองแพทย์ให้แก่นายจ้างเพื่อให้นายจ้างเก็บไว้เป็นหลักฐานตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้
แต่จริง ๆ แล้วอาการป่วยของลูกจ้างไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดต้องลาป่วยถึง 3 วัน ซึ่งแพทย์ก็ได้ลงความเห็นว่าลูกจ้างป่วยสมควรพักผ่อนเพียง 2 วันเท่านั้น
แต่ลูกจ้างตัวดีได้ลบข้อความที่แพทย์ได้เขียนไว้ว่าให้พักผ่อน 2 วันโดยแก้ไขเป็น 3 วัน เพื่อจะได้สอดคล้องกับที่ตนได้ลาป่วยไว้
ซึ่งประเด็นอย่างนี้ ศาลฎีกาได้เคยมีคำพิพากษามาแล้วว่า...การที่ลูกจ้างแก้ไขใบรับรองแพทย์ซึ่งต้องยื่นต่อนายจ้างตามระเบียบเพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาอนุญาตให้ลาป่วย
โดยเพิ่มวันที่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวขึ้นอีก 1 วัน และได้ยื่นใบรับรองแพทย์ที่แก้ไขแล้วต่อนายจ้างนั้น เป็นการกระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม
การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวย่อมทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องใช้ค่าชดเชย
1
จริง ๆ แล้วการแก้ไขใบรับรองแพทย์โดยมีเจตนาให้นายจ้างหลงเชื่อนั้น ยังเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาอีกฐานหนึ่ง
ดังนั้น หากลูกจ้างคนไหนจะทำอย่างนี้ก็ขอให้คิดดูดี ๆ นะครับ เพราะนอกจากจะถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชยแล้ว ยังอาจถูกแจ้งความดำเนินคดีติดคุกฟรีอีกด้วยครับ
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻
9 บันทึก
123
43
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแรงงาน
9
123
43
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย