Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
11 ก.พ. 2020 เวลา 11:29 • การศึกษา
“ทำร้ายร่างกายและทำอนาจารนอกบริษัทและนอกเวลางาน จะเลิกจ้างได้หรือไม่?”
การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย หรือแม้กระทั่งการทำอนาจารไม่ว่าจะต่อเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกัน ล้วนแต่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญาทั้งสิ้น
แต่สำหรับการกระทำที่ผมได้ยกตัวอย่างมานั้น จะมีผลต่อหน้าที่การงานในฐานะลูกจ้างมากน้อยแค่ไหน เราลองมาดูตัวอย่างนี้กันครับ
นายคะนอง กับนางสาวคะนิ๊ง เป็นพนักงานในบริษัทเดียวกัน ด้วยความที่คะนิ๊งเป็นสาวสวยจึงมีหนุ่ม ๆ มาติดพันมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าคะนองก็เป็นหนึ่งในนั้น
นายคะนองใช้เวลาตามจีบคะนิ๊งอยู่นานหลายเดือน จนคะนิ๊งเริ่มใจอ่อนยอมและไปทานข้าวด้วยในที่สุด
ลืมบอกไป...นายคะนองก็ไม่ใช่ธรรมดา แม้หน้าตาจะไม่ได้หล่อเหลาอะไร แต่ด้วยลุ๊คที่ดูแบดบอยนิด ๆ พูดจาถ่อยหน่อย ๆ พองาม จึงทำให้มีสาว ๆ ในสังกัดพอสมควร
ด้วยความที่ตามจีบมานานหลายเดือนกว่าจะได้ไปกินข้าว และหากช้ากว่านี้ก็กลัวว่าจะไม่ทันหนุ่มคนอื่น ๆ นายคะนองจึงวางแผนชั่ว หวังเคลมแม่คะนิ๊งในวันเดียวกันเลย จึงชวนไปร้านอาหารซึ่งเปิดในตอนกลางคืน
ข้ามมาฉากสำคัญเลย...หลังเสร็จจากมือค่ำ นายคะนองเห็นว่าคะนิ๊งเริ่มมึนเมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงเริ่มเปิดฉากลวนลาม แต่คะนิ๊งยังพอมีสติจึงต่อสู้ขัดขืนจึงถูกนายคะนองทำร้ายร่างกาย
โชคยังดีที่มีคนผ่านมาเห็นจึงได้ตะโกนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาช่วย ส่วนนายคะนองก็ถูกจับกุมไปดำเนินคดี
ซึ่งเรื่องนี้ ก็ได้มาถึงหูของบริษัทนายจ้าง และนายจ้างก็ลงดาบนายคะนองด้วยการไล่ออก (เลิกจ้าง) โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
นายคะนองผู้ถูกเลิกจ้างจึงได้มาฟ้องบริษัทนายจ้าง โดยอ้างว่านายจ้างไม่มีสิทธิเลิกจ้างเพราะเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งศาลท่านจะให้ความเห็นว่าอย่างไร ลองไปดูกันครับ
"แม้ขณะเกิดเหตุที่ลูกจ้าง (นายคะนอง) กระทำอนาจารและทำร้ายร่างกายนางสาวคะนิ๊ง จะเกิดนอกบริษัทและนอกเวลาทำงานของนายจ้าง แต่ลูกจ้าง และนางสาวคะนิ๊งต่างเป็นพนักงานของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดไว้ว่า…
- ในข้อ 9.8 ว่าพนักงานต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีระหว่างพนักงานทั้งในและนอกเวลาทำงาน ไม่ใช้กำลังทำร้ายร่างกายทั้งในบริเวณที่ทำการของบริษัทหรือนอกที่ทำการของบริษัท
- ข้อ 9.28 ว่า ต้องไม่ประพฤติชั่วไม่ว่าในหรือนอกเวลาทำงาน และ
- ข้อ 9.30 ว่าต้องไม่กระทำผิดกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา
ซึ่งเป็นข้อกำหนดเพื่อประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน ส่งผลต่อการผลิตและกำไรเพิ่มขึ้นกับพนักงานที่จะได้โบนัสเพิ่มไปด้วย จึงใช้บังคับกับลูกจ้างได้
ส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่าลูกจ้างกระทำอนาจารต่อนางสาวคะนิ๊งเพื่อจะมีเพศสัมพันธ์แต่ นางสาวคะนิ๊งไม่ยินยอม ลูกจ้างจึงลงมือทำร้ายร่างกายนางสาวคะนิ๊ง จนได้รับอันตรายแก่กาย
เช่น ศีรษะบวมฟกช้ำบริเวณใบหน้า และบาดแผลแตกในปาก ฟันโยกต้องเสียค่ารักษาพยาบาลให้แก่ทันตแพทย์ไป 7,000 บาท
การกระทำของลูกจ้างจึงเป็นกรณีร้ายแรงและลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม"
(อ้างอิงจากคำพิพากษาฎีกาที่ 1411/2559)
งานนี้ นายคะนองคงหายคะนองไปอีกนาน เพราะนอกจากตกงานแล้ว ยังถูกจับดำเนินคดีอีกต่างหาก 😌
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻
6 บันทึก
116
34
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแรงงาน
6
116
34
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย