Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าคนเข้าป่า
•
ติดตาม
6 เม.ย. 2020 เวลา 12:55 • การศึกษา
เวลาตรวจหาเชื้อโรคในค้างคาวเขาทำกันยังไง ?
ตรวจไปเพื่ออะไร ทำไมจึงต้องตรวจ มีความสำคัญเช่นไร
วันนี้ผมอยากจะมาเล่าการทำงานจากการตรวจเชื้อ ว่าเขาทำงานกันยังไง
มีขั้นตอนอย่างไร และมีความอันตรายแค่ไหน
เริ่มต้นจากความเป็นห่วงของโรคระบาดจากสัตว์ป่าของโลก เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้สัตว์ป่ากับมนุษย์ใกล้กันมากขึ้น โดยเฉพาะค้างคาวที่เป็นแหล่งเชื้อโรคชั้นดี
จึงเกิดเป็นโครงการตรวจสุขภาพค้างคาวกับโครงการ Predict ที่ได้รับการ
สนับสนุนจาก USAID (United states agency for international development) หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ จับมือกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าและไวรัสวิทยาของไทย และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมทั้ง คณะวนศาสตร์ที่มีสาขามากมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และสัตว์ป่า อีกทั้ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เข้ามาร่วมด้วยในการวิจัย และติดตามโรคระบาดครั้งนี้
.
โครงการตรวจสุขภาพค้างคาวที่ร่วมกับ Predict-usaid และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร เพื่อตรวจสุขภาพค้างคาวในทุกปี
ทำไมต้องตรวจสุขภาพค้างคาว ???
เนื่องจากค้างคาวบางกลุ่มมีความใกล้ชิดกับมนุษย์ มักเกาะรวมกลุ่มกันในถ้ำเป็นกลุ่มใหญ่ มีการหากิน และเดินทางได้ไกล ค้างคาวหลายชนิดหากินอาศัยอยู่ใกล้ชุมชน ในบางชุมชนก็กินค้างคาวเป็นอาหาร และอย่างที่ทราบกันดี
ว่าค้างคาวเป็นพาหะนำโรคติดต่อร้ายแรงหลายชนิดมาสู่คนและสัตว์เลี้ยง
แต่โรคที่มีอยู่ในค้างคาวอาจแสดงออกมาหรือไม่แสดงออกมาให้เราเห็นก็
ได้ นั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพของค้างคาวด้วยว่ามีความเเข็งแรงต่อโรคมากน้อย
เพียงใด และด้วยจำนวนค้างคาวที่มีปริมาณมาก หากหนึ่งตัวมีเชื้อนั้นอาจ
หมายความว่าทั้งหมดก็อาจมีเชื้อด้วยเช่นกัน
อีกทั้งการสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารทำให้ค้างคาวกับมนุษย์มี
ความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นไปอีก
จึงต้องมีการทำการตรวจสุขภาพค้างคาวเพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าาระวังโรค
อุบัติใหม่ ( Emerging Disease ) ที่อาจเกิดจากค้างคาว
ซึ่งจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในกรณีที่มีการระบาดของโรคในค้างคาวขึ้นมา ซึ่งโรคเรากำลังทำการเฝ้าระวังมีอยู่ด้วยกัน 3 โรคใหญ่ ๆ คือ
ไวรัสนิปาห์ อีโบลา และ ไข้หวัดใหญ่
ปัจจุบันแม้จะยังไม่มีรายงานออกมาอย่างแน่ชัด แต่ความเป็นห่วงของ
โรคอุบัติใหม่ 3 โรคที่กล่าวข้างต้นอาจเกิดได้ เพราะประเทศเพื่อนบ้านใกล้
เคียงอย่าง อินเดีย บังกลาเทศ มาเลเซีย ทุก ๆ ปีพบผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนจากไวรัสนิปาห์ มีเคสหนึ่งในค้างคาวกินผลไม้ที่ไปกินผลไม้ในสวนของชาวบ้านและติดเชื้อ หรือ ค้างคาวที่นอนอยู่ในเล้าหมูและถ่ายมูลลงในถาดอาหารของหมู ปนเปื้อนไปกับอาหารที่หมูกินและเข้าสู่ร่างกายหมูและแพร่มาสู่คน
ซึ่งเมื่อนำมาถอดรหัสพันธุกรรมพบว่าในไทยเองก็มีไวรัสนิปาห์เช่นกัน นั้นหมายความว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้สมองอักแสบที่ทำให้ปอดบวมด้วย การเฝ้าระวังจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อีกทั้งยังมีโรคจากสัตว์ป่าอีกมากมายที่เราไม่รู้ชื่อ ไม่มีที่มา
การระบาดอย่างเงียบ ๆ นี้กำลังดำเนินไปอย่างช้า ๆ หากเราไม่เตรียมการป้องกันและรับมือให้ดี อาจเหตุการณ์ร้ายแรงในอนาคตก็ได้
# การปฎิบัติงาน
.
ส่วนงานที่ผมได้ลงพื้นที่ปฎิบัติงานคือบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เราจะออกสำรวจถ้ำต่าง ๆ มีค้างคาวอาศัยอยู่ เพื่อจัดทำแผนที่แหล่งที่อาศัยอาศัยของค้าวคางและบริเวณออกหากินโดยรอบ จากนั้นเราก็จะไปจับค้างคาวเพื่อมาตรวจสุขภาพ โดยเลือกช่วงเวลาเป็นก่อนการออกหากินของค้างคาว
วิธีการที่เราใช้ในการดักจับค้างคาวเรียกว่า Harp trap เป็นอุปกรณ์ดักจับค้างคาวที่มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมทำจากท่อขึงเส้นเอ็นขนานกันเป็นแนวแต่ละเส้นห่างกัน 2 เซนติเมตร (หากนึกภาพไม่ออก คิดว่ามันคือตาข่ายที่ขึงในกีฬา แบตมินตัน เทนนิส ประมาณนั้นครับ) จากนั้นเราก็จะถือพาดยาวเข้าไปในถ้ำและทำให้ค้างคาวตื่นตกใจ และเมื่อมันออกบินก็จะชนกับตาข่ายที่ตั้งไว้ จนตัวมันพันกับเส้นเอ็นและบินหนีไปไม่ได้ เราก็จะจับมันออกมัดใส่ถุงผ้าถุงละตัว นำไปทำการศึกษาแยกชนิดพันธุ์และเก็บตัวอย่างต่อไป
ประมาณ 500 ตัวที่จับมาได้
เมื่อจับค้างคาวได้จะทำการวัดขนาดลักษณะภายนอกที่สำคัญ และถ่ายรูปเพื่อการจำแนกชนิดที่แม่นยำยิ่งขึ้น ค้างคาวที่ถูกจับจะนำมาชั่งน้ำหนักโดยตาชั่งสปริง Pesola และวัดขนาดด้วยเวอร์เนียคาลิปเปอร์แบบ ดิจิตอล
ลักษณะที่เราวัดก็จะมีดังนี้
.
1. FA ( forearm length : ความยาวช่วงแขน )
2. E ( ear length : ความยาวใบหู )
3. HB ( head and body length : ความยาวหัวและลำตัว)
4. T ( tail length : ความยาวหาง )
5. HF ( hind foot : ความยาวตีนหลัง)
6. S ( skull length : ความยาวศีรษะ )
และทำการระบบเพศ อายุ A ( adult : เต็มวัย ) j (juvenlie) : ตัวอ่อน
จากนั้นเราจะนำค้างคาวที่ตรวจลักษะภายนอกเสร็จแล้วมาตรวจลักษณะภายในกันต่อ
ซึ่งลักษณะภายในที่เราตรวจก็จะเป็นการเก็บข้อมูลทางชีวภาพของค้างคาว ได้แก่ ฉี่ มูล เลือด น้ำลาย ขน และเนื้อเยื่อ เพื่อนำไปเข้าห้องแลปเพื่อตรวจหาเชื้อโรคภายในตัวค้างคาวกันต่อไป
ปล. ผมอยู่ส่วนภาคสนามเลยไม่มีรูปการเก็บเชื้อโรคมาให้ดู เนื่องจากต้อง
เอาไปวิจัยในห้องแลป ขออภัยครับ
ความอันตรายจากการทำงานนี้ ดูได้จากชุดที่ใส่ในการทำงานก็ได้ครับ เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าบริเวณพื้นที่ที่เราไปสำรวจค้างคาว ทั้งตัวค้างคาวและภายในถ้ำที่อยู่อาศัยเต็มไปด้วยอะไรบ้าง การป้องกันจึงต้องประเมินในระดับที่อันตรายสูงสุดไว้ก่อน
และไม่ใช้แค่ตัวสถานที่เท่านั้น ค้างคาวเองก็ยังน่ากลัว เพราะมัน…
.
.
กัด!!
คุณอาจจะไม่รู้ แต่ค้างคาวมีฟันนะครับ และกัดเจ็บด้วย แต่เจ็บนั้นไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ตรงนี้เชื้อโรคที่อยู่ในน้ำลาย หากเราจับไม่ระมัดระวังแล้วโดนกัดขึ้นมา โอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อในกระเเสเลือดนั้นมีสูง (ขึ้นอยู่กับดวงล้วน ๆ ว่าตัวที่กัดจะมีเชื้อมั้ย)
การตรวจสอบสุขภาพของสัตว์ป่าจริง ๆ แล้วไม่ได้มีแค่ค้างคาวอย่างเดียว แต่ยังมีสัตว์อื่นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น นกอพยพ หนู ช้าง ฯลฯ
จากงานวิจัยบอกไว้ว่า 70% ของโรคระบาดที่เกิดในมนุษย์นั้นมาจากสัตว์ป่า
การสร้างเมือง สร้างโรงงาน บุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อตอบสนองความต้องการของเราทำให้เรากับสัตว์ใกล้ชิดกันมากขึ้น โรคระบาดจึงมากขึ้นตาม จริง ๆ แล้วสัตว์ป่าไม่ได้อยากแพร่โรคให้เราหรอกครับมีแต่เรา ที่ไปจับสัตว์ต่างชนิดมารวมกันเพื่อค้าบ้าง เพื่อเลี้ยงบ้าง นี้ยังไม่ได้พูดถึงความหลากหลายทางชีวภาพที่หายไปก็ส่งผลด้วยนะครับไว้บทความหน้าจะมาเล่าให้ฟัง
ขอบคุณชาว BD ทุกคนที่อ่านมาจนถึงตอนนี้ หากชอบอย่าลืมกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ให้กับคนอื่นถ้าคุณคิดว่ามีประโยชน์
เรียบเรียงโดย : เรื่องเล่าคนเข้าป่า
บันทึก
29
24
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องเล่าคนเข้าป่า
29
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย