Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ศิลป์แห่งคน
•
ติดตาม
31 ม.ค. 2020 เวลา 16:25 • ปรัชญา
ว่าด้วยเรื่องศิลป์แห่งการผ่อนแรง แน่นอนครับว่าใครๆก็อยากจะแข็งแรง อยากจะเก่ง อยากจะมีพละกำลังเหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันใดๆก็ตาม แต่มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะเจอคู่แข่งที่เก่งกว่า แรงเยอะกว่า...
สู้ๆนะเจ้าหนู
เมื่อเราต้องเจอกับเหตุการณ์อย่างนี้ เราจะทำอย่างไรกันดี? ผมจะพาทุกท่านย้อนไปดูฉากหนึ่ง ในมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ของอินเดีย "ศึกมหาภารตะ"
เป็นฉากการประลอง ในวันสำเร็จการศึกษใหม่ๆ(การแสดงโชว์) โดยแบ่งเป็น2ฝ่าย คือฝ่ายเการพ(เการบ) กับฝ่ายปาณฑพ(ปานดบ)
เหล่าพี่น้องเการพ ซึ่งมีทั้งหมด101คน เป็นผู้ชาย100คนและผู้หญิง1คน(ทุหศาสันคนทางขวา) ภาพจากเรื่อง Mahabharat 2013
เหล่าพี่น้องปาณฑพทั้ง 5 (ยุธิษฐิระคนนั่งกลาง) ภาพจากเรื่อง Mahabharat 2013
คู่ที่น่าสนใจคู่หนึ่งในการประลองครั้งนี้ คือ คู่ของยุธิษฐิระ(ยุทิดถิระ) พี่ชายคนโตของฝ่ายปาณฑพ กับ ทุหศาสัน(ทุหะสาสัน) น้องคนรองของฝ่ายเการพ อาวุธที่ทั้ง2ใช้ประลองกันก็คือหอก โดยกติกา ให้ซัดหอกให้เข้าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทางด้านทุหศาสัน ซัดหอกแบบเต็มแรงหอกพุ่งเข้าเป้า แต่เป้าถึงกับพังกันเลยทีเดียว ทางด้านของยุธิษฐิระ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงธรรมและมีปัญญามาก ก็ซัดหอกเข้าเป้าอย่างแม่นยำเช่นเดียวกัน หอกพุ่งปักด้วยความแรงพอดีไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
ถึงตรงนี้หลายคนคิดว่าทุหศาสันชนะแน่ เพราะซัดหอกได้แรงกว่าแถมเข้าเป้า แต่เปล่าเลยครับ ผู้ที่ชนะคือยุธิษฐิระ กรรมการให้เหตุผลว่า ทุหศาสัน ใช้แรงมากเกินไป หากอยู่ในสงครามจริง คงจะยืนระยะได้ไม่นานเพราะหมดแรงเสียก่อน ส่วนยุธิษฐิระ พุ่งหอกแม่นยำความแรงเพียงพอที่จะฆ่าคนตาย โดยที่ไม่เปลืองแรงมาก สามารถยืนต้องสู้ในสงครามได้นานกว่า จึงเป็นผู้ชนะ เห็นไหมล่ะครับ ชัยชนะไม่จำเป็นต้องใช้แรงมากเสมอไป
ผมจะพาทุกท่านไปพบกับอีก1ตัวอย่างของผู้ที่ใช้ศิลป์แห่งการออมแรง การผ่อนแรงที่ไม่จำเป็น อย่างฉลาด ท่านผู้นี้คือ อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่16 ของสหรัฐอเมริกา ผู้ทำการเลิกทาสได้สำเร็จ
Abraham Lincoln อับราฮัม ลินคอล์น
ในสมัยที่ลินคอล์นเป็นนักกฎหมายหนุ่ม ลินคอล์นได้เคยใช้นามแฝง เพื่อเขียนโจมตี นายเจมส์ ชิลด์ ผู้ตรวจสอบบัญชีของรัฐทำนองว่า "ไอห้อย ไอโหน เป็นคนโกหก" ทำให้ เจมส์ ชิลด์ โกรธมาก ท้าดวลปืนเลยครับท่านผู้อ่าน เมื่อถึงเวลาดวล ด้วยการที่ลินคอล์น เป็นคนไหวพริบดี อ่านสถานการณ์ทั้งหมดแล้ว จึงใช้ข้อได้เปรียบตรงที่ ตนเองเป็นผู้ถูกท้าทายก่อน จึงขอเป็นคนกำหนดวิธีประลองเอง โดยที่ลินคอล์นเลือกวิธีการดวลดาบ ซึ่งเป็นดาบทหารม้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ลักษณะดาบที่ใช้ก็จะประมาณนี้
สาเหตุที่เลือกวิธีการประลองแบบนี้เพราะไหวพริบของลินคอล์นอีกนั่นแหละครับ เพราะเขาได้เปรียบเรื่องส่วนสูง ลินคอล์นสูง193 ในขณะที่ เจมส์ ชิลด์ สูงเพียง173 โอ้คุณพระ!!! ห่างกันถึง20เซนติเมตร บวกกับดาบที่มีขนาดยาวแล้วด้วย ได้เปรียบช่วงแขนในการฟันอย่างมาก ยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ ลินคอล์นได้เปรียบทุกทาง แถมใช้หลักชนะโดยที่ไม่ต้องรบอีกด้วย โดยการฟันกิ่งไม้สูง ๆ โชว์ กิ่งหักลงมาต่อหน้าเจมส์ ชิลด์ เขาก็ใจหล่นไปอยู่ตาตุ่มแล้วครับ กรรมการเห็นท่าไม่ดี เลยเสนอให้เจรจายอมความเลิกแล้วต่อกันไป
ลินคอล์นก็โชว์ความแมนด้วยการเป็นฝ่ายขอโทษ เจมส์ ชิลด์ ก่อน เพราะตนเองเป็นฝ่ายเริ่มไปวิจารณ์เขาก่อน เจมส์ ชิลด์ ก็ให้อภัย และจบลงด้วยดี เห็นไหมครับว่าหลักการเลี่ยงปะทะจุดแข็ง ใช้จุดแข็งตัวเองให้เป็นประโยชน์ ตามหลักการออมแรง ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย แถมจบสวยๆ ขอแค่มีไหวพริบรู้จักประยุกต์ใช้
ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านครับ by ชนดิเรก
ผิดพลาดประการใดผู้เขียนต้องขออภัยมาในที่นี่ด้วยนะครับ พึ่งเขียนเป็นครั้งแรก ยินดีรับคำติชมครับ
matichon.co.th
ภาพเก่าเล่าตำนาน คนดัง2คู่ โดย:พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก
ท่านผู้อ่านที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้เขียนต่างกล่าวตรงกันว่ …
1 บันทึก
19
9
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ศิลปะแห่งกลยุทธ์
1
19
9
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย