11 ก.พ. 2020 เวลา 06:46
04 - คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ พนักงานตรวจค้น
ก่อนอื่น ย้ำอีกครั้ง ว่า พนักงานตรวจค้น มีทั้งหมด 7 ประเภท คือ
(1) พนักงานลําเลียงกระเป๋าเข้าเครื่องเอกซเรย์ (X-Ray Baggage Loaders)
(2) พนักงานตรวจค้นร่างกาย (Body Searchers)
(3) พนักงานวิเคราะห์ภาพเอกซเรย์ (X-Ray Operators)
(4) พนักงานตรวจค้นสัมภาระ (Baggage Searchers)
(5) พนักงานตรวจค้นสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo and Mail Screeners)
(6) พนักงานตรวจค้นยานพาหนะ (Vehicle Screeners)
(7) หัวหน้าผู้ควบคุมพนักงานตรวจค้น (Screener Supervisor)
3
ผู้ที่จะทําหน้าที่เป็นพนักงานตรวจค้นทุกประเภท ต้องได้รับใบรับรองพนักงานตรวจค้นจากสํานักงานฯ ซึ่งการจะขอใบรับรองพนักงานตรวจค้น ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
(1) ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยสําหรับพนักงานตรวจค้น ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการฝึกปฏิบัติงานจริง
ประกอบด้วย
(ก) ภาคทฤษฎี จํานวนไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง โดยครอบคลุมหัวข้อวิชา ดังนี้
1) การปฏิบัติงานในสนามบิน (Working at the Airport)
2) การควบคุมบุคคลในการเข้าพื้นที่ (Access Control People)
3) การควบคุมยานพาหนะในการเข้าพื้นที่ (Access Control Vehicles)
4) การตรวจตระเวนและการรักษาการณ์ (Patrolling and Guarding)
5) การรักษาความปลอดภัยของอากาศยานที่จอดอยู่ (Protection of Parked Aircraft)
6) การตรวจค้นพื้นที่สําหรับผู้โดยสารก่อนที่จะขึ้นบนอากาศยาน (Searching and Securing a Sterile Holding Area)
7) การตรวจค้นผู้โดยสาร (Passenger Screening and Physical Search of Passenger)
8) การตรวจค้นกระเป๋าด้วยมือ (Physical Inspection of Baggage)
9) การตรวจค้นกระเป๋าด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ (X-Ray Examination of Baggage)
10) การจําแนกอาวุธ วัตถุระเบิด และวัตถุอันตรายต่อการบิน (Recognition of Weapons, Explosive and other Dangerous Devices)
11) การแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Response)
3
(ข) ภาคฝึกปฏิบัติในห้องบรรยาย จํานวนไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง โดยครอบคลุมหัวข้อวิชา ดังนี้
1) การตรวจสอบบัตรแสดงตน (Identification Card) และเอกสารการเดินทาง (Travel Document)
2) การตรวจค้นพื้นที่สําหรับผู้โดยสารก่อนที่จะขึ้นบนอากาศยาน (Searching and Securing a Sterile Holding Area)
3) การตรวจค้นผู้โดยสาร (Passenger Screening and Physical Search of Passenger)
4) การตรวจค้นกระเป๋าด้วยมือ (Physical Inspection of Baggage)
5) การตรวจค้นกระเป๋าด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ (X-Ray Examination of Baggage)
(ค) การฝึกปฏิบัติงานจริง (On-The-Job Training) จํานวนไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง โดย ครอบคลุมหัวข้อวิชา ดังนี้
1) การควบคุมบุคคลในการเข้าพื้นที่ (Access Control People)
2) การควบคุมยานพาหนะในการเข้าพื้นที่ (Access Control Vehicles)
3) การตรวจค้นพื้นที่ปฏิบัติงาน (Searching Working Area)
4) การตรวจค้นผู้โดยสาร (Passenger Screening and Physical Search of Passenger)
5) การตรวจค้นกระเป๋าด้วยมือ (Physical Inspection of Baggage)
6) การตรวจค้นกระเป๋าด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ (X-Ray Examination of Baggage)
(2) เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ ความชํานาญ สุขภาพร่างกายและจิตใจ และคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติฉบับล่าสุด
(3) เป็นพนักงานซึ่งผ่านการสรรหา สัมภาษณ์ และคัดเลือกจากหน่วยงานต้นสังกัดตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติฉบับล่าสุด
(4) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีพฤติการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรือเป็นผู้มีหรือเคย มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้าย
(5) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือการสนับสนุนทางการเงิน แก่การก่อการร้าย หรือดําเนินการแทนหรือตามคําสั่ง หรือภายใต้การควบคุมของผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับ การก่อการร้ายหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
(6) ไม่เคยเป็นผู้ต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะการกระทําความผิด อาญา เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(7) ไม่เคยถูกลงโทษให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะกระทําผิด วินัย หรือไม่เคยถูกหน่วยงานต้นสังกัดลงโทษทางวินัย
(8) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบรับรองพนักงานตรวจค้น
(9) ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนใบรับรองพนักงานตรวจค้น ยังไม่ครบ 1 ปี
(10) ไม่เคยกระทำการทุจริตอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเชื่อถือ หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมอย่างร้ายแรงในการทำหน้าที่เป็นพนักงานตรวจค้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา