14 ก.พ. 2020 เวลา 00:00 • ไลฟ์สไตล์
ตอนที่ 9 ทิศทั้ง 6
หรือเราไปร่วมงานอะไรที่ไหนสักแห่ง และผู้ที่มาร่วมงานก็จะแต่งกายชุดสุภาพกัน ก็พอดีมีเพื่อนของเราคนหนึ่งมาร่วมงานด้วย ซึ่งปกติเพื่อนคนนี้จะแต่งกายไม่เรียบร้อย แต่วันนั้นเขาแต่งกายเรียบร้อย เราเห็นก็เข้าไปทัก 
“แหมมม วันนี้คุณแต่งกายสุภาพจังเลย”  ถามว่าเรื่องจริงไหม ก็ตอบว่า จริง สุภาพไหม ก็ตอบว่า สุภาพ ถูกกาละเทศะไหม ก็ตอบว่า ถูกกาละเทศะ แต่พูดด้วยจิตเมตตาไหม ก็ไม่แน่นะ อาจจะพูดด้วยเจตนาที่จะให้เขาเก้อเขินก็ได้ ถ้าพูดด้วยเจตนาเพื่อให้เขาเก้อเขิน ก็ไม่นับว่าเป็นวาจาสุภาษิตนะ เพราะไม่ครบองค์ประกอบ
ต่อไปมาข้อที่
3 อัตถจริยา หมายถึง การบริการช่วยเหลือ หรือถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ  อยู่ที่ไหน ก็ทำตัวให้เป็นประโยชน์กับที่นั่น ซึ่งไทยเรามีภาษิตลักษณะนี้รองรับอยู่ 
ก็คิดว่าหลายท่านก็คงเคยได้ยินนั่นก็คือ “อยู่บ้านท่าน อย่านิ่งดูดาย ปั้นวัว ปั้นควาย ให้ลูกท่านเล่น” ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้พระพุทธองค์จะสอนพระ มากกว่าสอนโยม คำสอนนั้นท่านเรียกว่า “วัตร” ซึ่งเราจะไม่พูดรายละเอียดในคลิป VDO นี้    ตอนนี้เอาแค่ให้รู้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการทำตัวให้เป็นประโยชน์มาก
4 สมานัตตตา หมายถึง ความสม่ำเสมอ สม่ำเสมอเรื่องอะไร ก็คือ การทำทั้ง 3 ข้อแรกอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง เป็นตัวชี้วัดว่า เรามีการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์หรือเปล่า
นี่คือ บทขยายความของ สังคหวัตถุ 4 คือ
1 ทาน 2 ปิยวาจา 3 อัตถจริยา 4 สมานัตตตา
ยังมี หลักธรรมที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์อีกหมวดหนึ่งนะ ท่านเรียกว่า ทิศทั้ง 6   คือ หลักธรรมที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา
กลุ่มที่ 1 คือ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือ อาจจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีพระคุณกับเรา ท่านเรียกกลุ่มบุคคลนี้ว่า ทิศเบื้องหน้า 
กลุ่มที่ 2 คือ ครูบาอาจารย์ ท่านเรียกกลุ่มบุคคลนี้ว่า ทิศเบื้องขวา
กลุ่มที่ 3 คือ สามี หรือ ภรรยา ความจริงจะเรียกว่ากลุ่มก็ไม่ค่อยดีนะ น่าจะเรียกว่า บุคคลมากกว่า  ท่านเรียกบุคคลนี้ว่า ทิศเบื้องหลัง
กลุ่มที่ 4 คือ เพื่อน หรือ พี่ น้อง  ท่านเรียกกลุ่มนี้ว่า ทิศเบื้องซ้าย
กลุ่มที่ 5 คือ ผู้ใต้บังคับบัญชา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา