Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
17 ก.พ. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
“ได้ที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรส แต่ออกโฉนดให้หลังจดทะเบียนสมรส ที่ดินจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว?"
เรื่องสินส่วนตัวกับสินสมรส เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เวลาผมนำมาเขียนเป็นบทความเมื่อไหร่ก็มักจะได้รับความสนใจจากผู้อ่าน
คงเพราะเรื่องทรัพย์สินเป็นเรื่องใกล้ตัว และมักจะเกี่ยวข้องกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ซึ่งหากใครมีความรู้เรื่องนี้ติดตัวไว้ก็จะได้เปรียบมาก
และสำหรับวันนี้ ผมก็มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องสินส่วนตัว และสินสมรสมาฝากเช่นเดียวกัน
เรื่องมีอยู่ว่า...
นายดอยมีที่ดินอยู่ 1 แปลงโดยการยกให้จากพ่อแม่ ซึ่งนายดอยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวมาโดยตลอดเป็นเวลามากกว่า 40 ปี
นายดอยอยู่กินกับนางดาว โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีลูกด้วยกัน 1 คน คือนายขุนเขา
หลายปีต่อมา นายดอยได้เลิกกับนางดาว และได้มาอยู่กินกับนางเดือนซึ่งทั้งคู่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยระหว่างสมรส นายดอยได้ไปติดต่อขอออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินแปลงดังกล่าว
ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินก็ได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้
หลังจากนั้นไม่นาน นายดอยเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ จึงได้ทำพินัยกรรมตั้งนายขุนเขาเป็นผู้จัดการมรดกและยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่นายขุนเขา
และนายดอยก็ได้เสียชีวิตลง…
นายขุนเขาได้ไปติดต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินเป็นของตนตามพินัยกรรม
เมื่อนางเดือนทราบเรื่องจึงได้คัดค้านต่อศาล เพราะเห็นว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินให้ระหว่างการสมรสของตนกับนายดอย ที่ดินแปลงนั้นจึงได้มาระหว่างสมรส และเป็นสินสมรสซึ่งตนมีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่ง
นายดอยจึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้ผู้อื่น
ซึ่งในประเด็นนี้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยโดยสรุปว่า...
ที่ดินแปลงพิพาท เป็นทรัพย์สินที่นายดอยได้มาจากการยกให้จากบิดามารดา จึงเป็นทรัพย์สินที่นายดอยได้มาก่อนการสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของนายดอย
แม้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่นายดอย หลังจากจดทะเบียนสมรสกับนางเดือนแล้วก็ไม่มีผลทำให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัว กลับกลายเป็นทรัพย์สินที่นายดอยได้มาในระหว่างสมรส อันจะเป็นสินสมรสได้
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของนายดอย นายดอยจึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่นายขุนเขาได้
1
(เทียบเคียงบางส่วนจากคำพิพากษาฎีกาที่ 2851/2561)
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻
16 บันทึก
169
33
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายครอบครัว และมรดก
16
169
33
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย