5 พ.ค. 2020 เวลา 14:05 • การศึกษา
เมื่อพ่อถูกรถชนเสียชีวิต ลูกนอกกฎหมายจะมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากคนทำละเมิดหรือไม่?
หากถามว่าคนที่เป็นลูกนั้นจะมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากคนที่ทำละเมิดพ่อแม่จนเสียชีวิต (เช่น คนที่ขับรถชน) ได้หรือไม่...ก่อนอื่นคงทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของบุตร รวมถึงสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อพ่อแม่ซะก่อน
Cr. pixabay
1) เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรสกัน หรือที่เรียกว่า “บุตรชอบด้วยกฎหมาย” จะมีสิทธิและหน้าที่เต็มตามที่กฎหมายกำหนดไว้
1
เช่น สิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่สิทธิได้รับมรดก สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย รวมถึงค่าขาดไร้อุปการะต่อคนที่มาทำละเมิดพ่อแม่ของตนจนเสียชีวิต
1
2) เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือที่เรียกว่า “บุตรนอกกฎหมาย” จะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะกับ"แม่ผู้ให้กำเนิดเท่านั้น" แต่จะ "ไม่มีสิทธิและหน้าที่ใด ๆ ต่อพ่อผู้ให้กำเนิดเลย"
เว้นแต่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2
Cr. pixabay
2.1) เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ถ้าภายหลังได้สมรสกัน หรือพ่อได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร เด็กนั้นจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิตามข้อ 1
2.2) เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่คนเป็นพ่อมีพฤติกรรมที่กฎหมายยอมรับว่าได้รับรองบุตรแล้ว
เช่น ให้ใช้นามสกุล ให้การอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา แจ้งในใบเกิดว่าเป็นบุตร ซึ่งเรียกว่า “บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง”
ซึ่งผลของการเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองก็คือ ทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมในกรณีที่ผู้เป็นพ่อเสียชีวิต
Cr. pixabay
แล้วบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองจะเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากคนทำละเมิดพ่อของตนได้หรือไม่?
เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของพ่อแม่ในการอุปการะเลี้ยงดูลูกเอาไว้ โดยต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในขณะที่เป็นผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) เว้นแต่บุตรเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้
โดยมีเงื่อนไขคือ เด็กคนดังกล่าวจะต้องเป็น “บุตรชอบด้วยกฎหมาย” เท่านั้น
1
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้คนที่เป็นพ่อจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดู “บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง” แต่อย่างใด
1
ดังนั้น เมื่อคนที่เป็นพ่อไม่มีหน้าที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดู “บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง” ในทางกลับกันหากมีคนมาทำละเมิดกับผู้เป็นพ่อ (นอกกฎหมาย) จนถึงแก่ความตาย..
..บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากคนที่ทำละเมิดได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ เพราะบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองไม่มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากผู้เป็นพ่ออยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากคนทำละเมิดได้นั่นเอง
อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 9210/2556
Cr. pixabay
References: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- มาตรา 443 วรรคสาม “...ถ้าเหตุที่ตายทำให้บุคคลใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย บุคคลนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
- มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น...”
- มาตรา 1564 “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์...บิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้”
ยังมีช่องทางอื่น ๆ ให้ติดตามกัน 😉
- สำหรับเอาไว้อ่านบทความดีๆ Facebook.com/Nataratlaw
- สำหรับเอาไว้ดูรูปสวย ๆ กับอินโฟกราฟิก
- สำหรับสายย่อ เอาไว้รับข่าวหรือข้อกฎหมายแบบกระชับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา