Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
9 ก.ย. 2020 เวลา 07:20 • การศึกษา
หากลูกหนี้สละมรดกของตัวเองให้คนอื่น เจ้าหนี้จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์มรดกดังกล่าวได้หรือไม่?
เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องชดใช้ แต่จะทำอย่างไรหากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่เจ้าหนี้จะบังคับชำระหนี้ได้
หนำซ้ำ พอลูกหนี้มีสิทธิได้รับมรดกกลับไม่ยอมรับ แต่ดันสละให้คนอื่นแทน
กรณีแบบนี้ สำหรับคนที่เป็นเจ้าหนี้จะมีวิธีการรับมืออย่างไร...
จะมีสิทธิบังคับชำระหนี้กับทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ได้สละไปแล้วได้หรือไม่...
ซึ่งในทางกฎหมายจะมีทางออกอย่างไรนั้น ขอให้ทุกคนดูจากเรื่องราวต่อไปนี้
จิมมี่ได้ยืมเงินเดวิด จำนวน 1,000,000 บาทเพื่อนำไปประกอบธุรกิจร้านอาหาร
แต่ธุรกิจของจิมมี่กลับไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด จิมมี่ขาดทุนอย่างหนัก และไม่มีเงินมาคืนเดวิด
เดวิดจึงได้ฟ้องศาล เพื่อขอให้จิมมี่ชดใช้เงิน ซึ่งศาลได้ตัดสินให้จิมมี่ต้องคืนเงินให้แก่เดวิด
แต่จิมมี่ไม่ยอมชดใช้ และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่เดวิดจะยึดทรัพย์บังคับคดีได้
1
ต่อมา พ่อของจิมมี่เสียชีวิตจากโรคชรา โดยมีที่ดิน 1 แปลง เป็นมรดกชิ้นเดียวที่ตกทอดมาถึงจิมมี่
ที่ดินแปลงดังกล่าวหากขาย จะได้ราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งไม่พอใช้หนี้เดวิดอยู่ดี
และจิมมี่ก็ไม่อยากให้เดวิดบังคับชำระหนี้เอากับที่ดินแปลงดังกล่าว
จิมมี่จึงวางแผนกับโจนส์ผู้เป็นลูกชาย โดยตกลงกันให้โจนส์เป็นผู้รับโอนที่ดิน ส่วนจิมมี่จะให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่ายินยอมสละสิทธิไม่ขอรับที่ดินดังกล่าว...
และเรื่องราวก็เป็นไปตามแผนที่จิมมี่และลูกชายได้วางเอาไว้
ภายหลัง เดวิดได้ทราบเรื่องจึงฟ้องศาลเพื่อขอเพิกถอนนิติกรรมการสละมรดกระหว่าง
จิมมี่และลูกชาย
เนื่องจากว่าการกระทำของจิมมี่นั้นได้ทำให้ตนผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ
ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาว่า...
จิมมี่ ได้สละมรดกที่ดินให้แก่โจนส์โดย
สเน่หา
เมื่อจิมมี่ได้สละมรดกในขณะที่เป็นลูกหนี้ของเดวิดตามคำพิพากษา โดยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับคดีได้
จึงเป็นการสละมรดกโดยรู้อยู่ว่าจะทำให้เดวิดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ
จึงมีเหตุที่จะเพิกถอนนิติกรรมสละมรดกที่ดินดังกล่าวได้
พิพากษาให้ไปเพิกถอนนิติกรรมการสละมรดกที่ดิน และหากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน
สรุปว่า เดวิดสามารถฟ้องขอเพิกถอนการสละมรดกระหว่างจิมมี่และลูกชายได้เนื่องจากการสละมรดกของจิมมี่นั้น ได้ทำให้เดวิดผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ
กล่าวคือ ทำให้เดวิดไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากที่ดินที่ควรจะตกเป็นของจิมมี่ได้นั่นเอง
อ้างอิง:
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1614
- เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10810/2559
53 บันทึก
151
34
49
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายครอบครัว และมรดก
53
151
34
49
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย