Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
15 ต.ค. 2020 เวลา 13:27 • การศึกษา
“พรากลูกนอกสมรสไปจากผู้ปกครองเพื่อเลี้ยงดูและให้การศึกษา มีความผิดหรือไม่?”
เรื่องการโต้แย้งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรนั้น เป็นปัญหาที่พบได้อยู่บ่อย ๆ และหนึ่งในสาเหตุของปัญหาดังกล่าว เกิดจากการที่ชายและหญิงผู้เป็นพ่อแม่นั้นไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
เมื่อชายหญิงอยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและมีบุตร ซึ่งตามกฎหมายแล้วเด็กที่เกิดมานั้นถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิง
ดังนั้น อำนาจปกครองบุตรและสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ ที่ลูกกับแม่พึงมีต่อกัน เช่น หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา สิทธิในการรับมรดก จึงเป็นของฝ่ายหญิงแต่เพียงฝ่ายเดียว
ส่วนฝ่ายชายถ้าอยากมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายในตัวเด็ก จะต้องใช้วิธีตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
1. จดทะเบียนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
2. สมรสกับแม่ของเด็กภายหลัง
3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
หากยังไม่ได้ดำเนินการตามวิธีดังกล่าว อำนาจปกครองบุตรรวมถึงสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายจะเป็นของฝ่ายหญิงเท่านั้น
แล้วการที่ฝ่ายชายพาลูกนอกสมรสไปจากฝ่ายหญิงเพื่อเลี้ยงดูและให้การศึกษา โดยที่ฝ่ายหญิงไม่ได้ให้ความยินยอมล่ะ จะถือว่ามีความผิดฐานพรากเด็กไปจากมารดา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 หรือไม่ ?
(ความผิดฐาน "พรากเด็ก" คือการที่ปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง และปรับตั้งแต่ 6 หมื่นบาทถึง 3 แสนบาท
คำว่า “พราก” หมายความว่า พาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล จะกระทำโดยวิธีใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องใช้กำลังหรืออุบาย แม้จะชักชวนแนะนำเด็กให้ไปด้วยโดยมิได้หลอกลวง และเด็กเต็มใจไปก็เป็นความผิด)
1
มีคดีที่ชายและหญิงอยู่กินโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน และมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ส.
ต่อมาชายและหญิงทะเลาะกัน ฝ่ายหญิงไปอยู่กับแม่ ฝ่ายชายไปที่บ้านแม่ฝายหญิงแล้วพาเด็กชาย ส. ไปอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา โดยฝากเลี้ยงอยู่ประจำที่โรงเรียน โดยฝ่ายหญิงไม่ได้ยินยอมอนุญาตให้ พาเด็กชาย ส. ไป
ฝ่ายหญิงจึงได้ฟ้องฝ่ายชายเป็นจำเลยในคดีอาญาในข้อหาพรากเด็กไปจากมารดาและผู้ปกครอง
ซึ่งคดีนี้ ศาลฎีกาได้ตัดสินว่า…
การที่จำเลยซึ่งเป็นบิดาของเด็กชาย ส. พรากเด็กชาย ส. ไปจากโจทก์ผู้เป็นมารดา โดยนำเด็กชาย ส. ไปอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา ฝากเลี้ยงประจำไว้ที่โรงเรียน
แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจะไม่สมบูรณ์เพราะไม่ได้จดทะเบียนกัน แต่พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำไปนั้น เป็นกรณีมีเจตนาดีต่อเด็กชาย ส. โดยแท้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปราศจากเหตุอันสมควร
การกระทำของจำเลยที่จึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ฟ้อง
สรุปคือ ศาลเห็นว่าการกระทำของฝ่ายชายยังไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็ก เนื่องจาก...
1. ฝ่ายชายเป็นพ่อของเด็ก
2. การพาเด็กไปอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา เป็นเจตนาที่ดี ยังไม่ถือว่าปราศจากเหตุอันสมควร
3. เมื่อการพาเด็กไปยังไม่ถือว่าปราศจากเหตุอันสมควร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานพรากเด็กการกระทำของฝ่ายชายจึงไม่เป็นความผิดตามข้อกฎหมายดังกล่าว
อ้างอิง:
-คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2517
-คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2546
4 บันทึก
33
4
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายครอบครัว และมรดก
4
33
4
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย