Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
1 ธ.ค. 2020 เวลา 06:32 • การศึกษา
เรียนกฎหมายจากซีรีส์ “Startup”
เมื่ออินแจ (พี่สาวนางเอก) ไม่อยากเป็นลูกบุญธรรมของพ่อเลี้ยงอีกต่อไปจะต้องทำอย่างไร?
จากซีรีส์ Startup ตอนล่าสุด (ep.14) จะพบว่าได้มีการกล่าวถึงแม่และพี่สาวของนางเอก (วอนอินแจ) ที่ต้องการตัดขาดจากพ่อเลี้ยง โดยแม่ได้จดทะเบียนหย่ากับพ่อเลี้ยงไปแล้ว ส่วนอินแจนั้นยังคงลังเลในตอนแรก แต่ภายหลังเมื่อได้พบกับคุณย่าที่ตาเริ่มมองไม่เห็น จึงได้ตัดสินใจที่จะเลิกเป็นลูกบุญธรรมของพ่อเลี้ยง และกลับมาใช้นามสกุลเดิมของพ่อที่เสียชีวิตไปอีกครั้ง (นามสกุลซอ)
สมมติว่าอินแจเป็นคนไทย และไม่อยากเป็นลูกบุญธรรมของพ่อเลี้ยงอีกต่อไป อินแจจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะพ้นจากสถานะการเป็นลูกบุญธรรมได้?
สำหรับกฎหมายไทยนั้น การเลิกรับบุตรบุญธรรมสามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้ครับ
1). บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) การเลิกเป็นบุตรบุญธรรมสามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากอะไร โดยการตกลงกันระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม จะยกเลิกเมื่อใดก็ได้ แต่จะมีผลสมบูรณ์เมื่อได้ไปจดทะเบียนตามกฎหมาย (ที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ)
ซึ่งกรณีของอินแจนั้นสามารถตกลงเลิกรับบุตรบุญธรรมกับพ่อเลี้ยงได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากใครอีกเนื่องจากอินแจบรรลุนิติภาวะแล้ว
2). บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ก็ต่อเมื่อ...
- ต้องมีหนังสือรับรองว่าได้เข้าสู่กระบวนการเยียวยาจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และ
1
- ต้องได้รับความยินยอมจากพ่อและแม่ของผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม หรือพ่อหรือแม่ในกรณีที่คนใดคนหนึ่งเสียชีวิตหรือถูกถอนอำนาจปกครอง
- ถ้าหากไม่มีพ่อและแม่ที่จะให้ความยินยอม หรือให้ความยินยอมไม่ได้ หรือไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร จะต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอม
1
- หากบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ก็จะต้องได้รับความยินยอมจากบุตรบุญธรรมด้วย
1
โดยการเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
3). กรณีอื่น ๆ ได้แก่
เมื่อบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกันจะมีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิก หรือ
1
การฟ้องคดีเลิกรับบุตรบุญธรรม ซึ่งจะต้องมีเหตุตามกฎหมายที่จะทำให้เกิดสิทธิฟ้องคดี เช่น ฝ่ายหนึ่งได้ประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการี หรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรง เป็นต้น
[คู่มือการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000077/GECC/TB/41.pdf
]
เมื่อได้จดทะเบียนเลิกเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ถ้าอินแจเกิดอยากกลับมาใช้นามสกุลเดิมของพ่อที่แท้จริง (เปลี่ยนจาก “วอนอินแจ” เป็น “ซออินแจ”) จะต้องทำอย่างไร?
กรณีนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน แค่อินแจจะต้องดาวน์โหลดเอกสาร “ช1”
(ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานเขต) กรอกข้อมูลและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน และไปดำเนินการเปลี่ยนที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่ตัวเองมีชื่อในทะเบียนบ้าน
2
[คู่มือการจดเปลี่ยนนามสกุล
http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000077/GECC/TB/17.pdf
]
เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ครบถ้วนแล้ว อินแจก็จะไม่มีสถานะเป็นบุตรบุญธรรมของพ่อเลี้ยงอีกต่อไป ซึ่งจะทำอินแจให้ไม่มีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยเช่นกัน (เช่น สิทธิในการรับมรดกของพ่อบุญธรรม)
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความสบายใจแล้ว
อินแจยอมทิ้งสิทธิตามกฎหมายเหล่านั้นเพื่อที่จะได้กลับมาใช้นามสกุล “ซอ” และกลับสู่อ้อมกอดของครอบครัวที่แท้จริงอีกครั้งหนึ่ง...
นั่นหมายความว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วคนเราอาจไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าการได้อยู่กับคนที่เรารัก ได้พูดคุย ได้ดูแลกัน ได้ทำกิจกรรมเล็กน้อยร่วมกัน เพียงเท่านั้นเองจริง ๆ
66 บันทึก
91
7
47
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายครอบครัว และมรดก
66
91
7
47
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย