19 ก.พ. 2020 เวลา 00:30
"ศิละปะแห่งการโกหก"
การพูดเรื่องจริงเป็นสิ่งที่ดีและควรทำครับ
แต่ถ้าเรื่องจริงนั้นไม่ได้ก่อประโยชน์ต่อใครล่ะ แล้วเราควรทำอย่างไรกันดี ?
ผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงจะเคยพูดโกหก ไม่ว่าด้วยเจตนา หรือว่าจำเป็นก็ตาม
จริงๆแล้วการโกหกเป็นศิลปะขั้นสูง ซึ่งแม้แต่มหาบุรุษก็ได้ใช้วิธีนี้
มาดูเรื่องราวต่อไปนี้กันนะครับอาจจะพอเป็นแนวทางที่ดีให้ทุกท่านได้
🗡🗡🗡กลยุทธของวีบุรุษผู้เหี้ยมหาญ🗡🗡🗡
โจโฉเป็นยอดผู้นำในยุคสามก๊ก และมากด้วยกลยุทธ์
เรื่องมีอยู่ว่า ในระหว่างที่โจโฉสั่งทหารล้อมเมืองศัตรูไว้เป็นเวลานาน
ปรากฎว่าเสบียงเริ่มร่อยหรอ โจโฉจึงสั่งลดอาหารของไพร่พลลง ทำให้ทหารอดอยากและไม่อยากรบ
โจโฉเห็นว่าทหารหมดกำลังใจออกรบ หมดความฮีกเหิม และเริ่มออกมาประท้วงล่ะ จึงเรียกตัว "อองเฮา" นายทหารผู้คุมเสบียง แล้วกล่าวว่า
โจโฉ : การยึดเมืองยากลำบากกว่าที่คาด เพราะเสบียงเริ่มร่อยหรอแล้ว ทหารหมดกำลังใจต่อสู้ แต่เรามีวิธีเรียกขวัญทหารคืนมา
อองเฮา : จะเรียกขวัญคืนมาอย่างไรหรอท่าน
โจโฉ : ก็พึ่งเจ้าไง เราอยากจะขอยืมอะไรหน่อยจะได้ไหม
อองเฮา : เพื่อให้ยึดเมืองสำเร็จ จะยืมอะไรข้าให้ได้ทั้งนั้น ว่าแต่ตัวท่านจะยืมอะไรข้าหรอ ?
โจโฉ : ขอยืมหัวเจ้าหน่อยนะ
(โห...ท่านผู้ชมครับ อองเฮาโดนโจโฉหลอกแบบเนียนจนได้ เผลอรับคำไปเต็มปากเต็มคำเลย พอได้ยินถึงกับเข่าอ่อน บอกตนไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ก็ไม่ทันแล้วครับ โจโฉสั่งคนลากอองเฮาไปตัดหัวทันที นี่เป็นเพียงเริ่มต้นการโกหกครั้งแรก )
คราวนี้ก็เอาหัวอองเฮา เดินไปหาทหารที่กำลังหมดใจจะรบแล้วพูดว่า
โจโฉ : นี่ไงคือตัวการทำให้พวกเจ้าต้องหิวโหย มันได้ยักยอกข้าวในคลังไป ข้าจึงสั่งประหารล้างแค้นให้ทหารของข้า (หลอกครั้งที่สองของพี่โจ โถ....อองเฮาผู้น่าสงสารเป็นคนร้ายเฉยเลย)
พูดจบโจโฉก็เอาเสบียงสุดท้ายที่กั๊กเอาไว้ มาแจกให้ทหารแบบเนียนๆ ทหารไม่รู้ ก็คิดว่าผู้นำของตนมีความเด็ดขาดและยุติธรรม ฆ่าคนผิดและเอาเสบียงมาแจกอีก ก็มีความฮึกเหิมขึ้นมามาก ทำให้รบชนะศัตรูได้สำเร็จโดยง่าย
อย่างไรก็ตามนะครับ แม้ว่าการกระทำของโจโฉจะไม่ยุติธรรมต่ออองเฮา และดูโหดร้าย แต่ถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะอดตายกันหมดทั้งกองทัพ หรือจะพ่ายแพ้แก่ข้าศึกแน่นอน โจโฉเกิดในกลียุค ถ้าไม่มีความเด็ดขาดก็อยู่ไม่ได้ครับ ยิ่งในฐานะผู้นำแล้วยิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ การโกหกของโจโฉในครั้งนี้ได้นำชนะมาให้อย่างสวยงามท่ามกลางวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่เป็นวิสัยทัศน์ของยอดผู้นำอย่างแท้จริง
📚📖คำลวงของนักปราชญ์แห่งแผ่นดิน📰🕯
ขงจื๊อเป็นยอดนักปราชญ์ของแผ่นดินมีความรู้กว้างขวาง รู้ในศาสตร์หลายแขนงและมีศิษย์มากมาย หนึ่งในศิษย์รักของเขาก็คือเอี๋ยนหุย (คนนี้ผมเคย
กล่าวไปในเรื่องศิลปะแห่งความโกรธ ถ้าท่านใดยังไม่ได้อ่านไปหาอ่านย้อนหลังได้นะครับ ทำเป็นซีรีย์ไว้ให้แล้ว)
มีอยู่วันหนึ่งเอี๋ยนหุย ได้ไปทะเลาะกับผู้ชายคนหนึ่งในตลาด ผู้ชายคนนี้หาว่า 8 * 3 ได้เท่ากับ 23 เอี๋ยนหุยกล่าวว่ามันไม่ถูกต้องมันต้องได้เท่ากับ
24 จึงเกิดการถกเถียงกันใหญ่โต จึงเกิดเดิมพันขึ้นโดยที่จะให้ขงจื๊อเป็นผู้ตัดสิน
ชายคนนั้น : หากท่านขงจื้อตัดสินว่าข้าผิด ข้าจะยอมหัวหลุดจากบ่าเลย แต่ถ้าหากเจ้าผิดล่ะ?”
เอี๋ยนหุย : ข้ายอมปลดหมวก (ปลดจากตำแหน่งขุนนาง)
เมื่อขงจื้อทราบเรื่องและสอบถามข้อเท็จจริงจากทั้งสองคนอย่างกระจ่างแล้ว ก็ยิ้มให้เอี๋ยนหุยและกล่าวว่า
ขงจื๊อ : 3×8ได้ 23 ถูกต้องแล้วเอี๋ยนหุย เธอแพ้แล้ว ถอดหมวกของเธอให้พี่ชายท่านนี้เสีย
เอี๋ยนหุย ไม่โต้แย้ง ยอมรับในการวินิจฉัยของท่านอาจารย์ จึงถอดหมวกที่สวมให้แก่ชายคนนั้น ชายผู้นั้นเมื่อได้รับหมวกก็ยิ้มสมหวังกลับไป ส่วนวันต่อมาเอี๋ยนหุยก็ขออาจารย์ลากลับบ้าน
เมื่อเอี๋ยนหุยกลับมา ขงจื๊อเห็นเอี๋ยนหุยมีความเคลือบแคลงใจสงสัย และไม่พอใจในการกระทำของตนจึงกล่าวกับเอี๋ยนหุยว่า
ขงจื๊อ : อาจารย์ว่าที่เธอขอลากลับบ้านนั้นเป็นการโกหก ที่จริงแล้วเธอคิดว่าอาจารย์แก่แล้ว ความคิดเลอะเลือน ไม่อยากศึกษากับอาจารย์อีกแล้ว เธอลองคิดดูสิ อาจารย์บอกว่า 3×8ได้ 23 เธอแพ้ ก็เพียงแค่ถอดหมวก หากอาจารย์บอกว่า 3×8ได้ 24 เขาแพ้ นั่นหมายถึงชีวิตของคนๆหนึ่ง เธอคิดว่าหมวกหรือชีวิตสำคัญล่ะ?
เอี๋ยนหุยกระจ่างในฉับพลัน คุกเข่าต่อหน้าขงจื้อ
เอี๋ยนหุย : ท่านอาจารย์เห็นคุณธรรมเป็นสำคัญ โดยไม่เห็นแก่เรื่องถูกผิดเล็กๆน้อยๆ ศิษย์คิดว่าอาจารย์แก่ชราจึงเลอะเลือน ศิษย์เสียใจเป็นที่สุด
เห็นไหมล่ะครับ การโกหกของขงจื๊อ นอกจากไม่มีโทษแล้วยังช่วยคนได้อีก1 ชีวิต
•ทะเลาะกับลูกค้า ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณก็จะรู้สึก)
•ทะเลาะกับเถ้าแก่ ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ตรวจผลงานปลายปีมาถึง คุณก็จะรู้สึก)
•ทะเลาะกับภรรยา ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เธอไม่สนใจคุณ คุณก็หากับข้าวกินเองละกัน)
•ทะเลาะกับเพื่อน ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เคลียร์ไม่ได้ คุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลย)
•ใบชา เกิดสีสวยและกลิ่นหอมน่าลิ้มลองได้ ก็เพราะโดนน้ำร้อนลวก
🌝แม้คนที่ขึ้นชื่อว่าทรงคุณธรรมยังพูดปด🌚
ในมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ของอินเดีย ศึกมหาภารตะ เป็นเรื่องราวของการทำสงครามของพี่น้องใน 2 ตระกูล คือระหว่าง ปาณฑพ( ปานดบ) ตัวแทนของฝ่ายธรรมะ กับ เการพ (เการบ) ตัวแทนของฝ่ายอธรรม
ในสงครามวันที่ 15 ระหว่างการทำศึกที่ดุเดือด ฝ่ายธรรมะเห็นว่าฝ่ายอธรรม มีโทรณาจารย์ (ผู้เป็นอาจารย์ของทั้ง2ฝ่ายแต่จำใจต้องมาอยู่ฝ่ายอธรรมะ)เป็นผู้นำทัพ มีฝีมือที่กล้าแข็งมาก จะเอาชัยไม่ได้ แต่เห็นว่ามีจุดอ่อนอยู่อย่างหนึ่งคือรักลูกมาก (อัศวัตถามา)
ฝ่ายปาณฑพเลยไปเตี๊ยม กับยุธิษฐิระ ผู้ทรงคุณธรรมว่าใครช่วยโกหกให้หน่อย ช่วยคำนึงถึงกองทัพเป็นหลัก เพราะทหารถูกโทรณาจารย์ฆ่าตายจำนวนมาก พูดจบก็มีคนไปฆ่าช้างที่ชื่อว่า อัศวัตถามา ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับลูกชาย โทรณาจารย์ เพราะรู้ว่าด้วยนิสัยที่เป็นคนเที่ยงตรงมีคุณธรรมของยุธิษฐิระจะไม่โกหกทั้งหมดแน่นอน
จากนั้นฝ่ายปาณฑพก็ให้คนไปปล่อยข่าวว่า
อัศวัตถามา ตายแล้วๆๆๆ
ซึ่งตอนนั้นอัศวัตถามารบอยู่อีกฝั่งที่ไกลจากผู้เป็นพ่ออยู่มาก
พอโทรณาจารย์ได้ยินถึงกับอึ้งไปเลย แต่โทรณาจารย์รู้ว่า ยุธิษฐิระ เป็นผู้ทรงคุณธรรมจะไม่โกหกตนแน่ๆ จึงไปถามยุธิษฐิระ
โทรณาจารจารย์ : อัศวัตถามา ตายแล้วจริงๆหรอ
ยุธิษฐิระ : อัศวัตถามาตายแล้ว (พูดแบบตะโกนเสียงดัง)
ยุธิษฐิระ : แต่เป็นช้างนะ (พุดเสียงเบามากจนไม่ได้ยิน)
โทรณาจารย์ได้ยินดังนั้น ก็หมดอาลัยตายอยาก วางอาวุธทิ้งเพราะรักลูกคนนี้มาก ฝ่ายปาณฑพเห็นโทรณาจารย์เหม่อลอย เลยเข้าไปลอบตัดหัวในขณะที่โทรณาจารย์หลับตาทำสมาธิ ปิดฉากผู้เยี่ยมยุทธ์ ด้วยวัย 85 ปี เพราะคำโกหกของยุธิษฐิระผู้ทรงคุณธรรม
ถึงสิ่งที่ยุธิษฐิระทำมันจะไม่ได้มาจากเจตนา เพราะโดนสถานการณ์บังคับ ถึงเขาจะพูดความจริง แต่ก็เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว โดยพฤติกรรมของเขามีเจตนาอำพลางความจริง เป็นเหตุให้โทรณาจารย์ซึ่งเป็นอาจารย์แท้ๆของยุธิษฐิระเข้าใจผิด และถูกสังหารในที่สุด แต่ถ้าไม่ทำอย่างนี้ความเสียหายจะร้ายแรงขึ้น เพราะโทรณาจารย์เป็นยอดฝีมือ ที่หาผู้ต้านทานยาก คนเป็นผู้นำเลยจำเป็นต้องตัดสินใจ
คำเตือนนะครับ ผมไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ทุกคน โกหกนะครับ ตัวผมเองก็ไม่ชอบโกหกผู้อื่น ถึงขนาดเคยบอกว่า ตัวเองเป็นคนขี้เกียจตอนไปสัมภาษณ์งานเมื่อนานมาแล้ว บทสรุปในตอนนั้นเขาก็ไม่รับผมเข้าทำงาน เพราะความเถรตรงของผมเอง
คำโกหกจะมีคุณหรือโทษ ขึ้นอยู่กับเจตนาครับ ถ้าการพูดความจริงแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ก็โกหกเถอะครับ มันเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการเอาตัวรอดในยุคปัจจุบัน แต่อย่าโกหกจนเป็นนิสัย เพราะก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะทำอยู่ดี ผู้มีสัจจะถึงจะเป็นผู้น่าเชื่อถือ และน่าคบหา
หากชอบใจกดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ ขอคุณทุกท่านมากครับ by ชนดิเรก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา