21 ก.พ. 2020 เวลา 09:42 • ประวัติศาสตร์
สถานที่สำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การวิเคราะห์ตามพงศาวดาร
ถึงสถานที่ แท้จริงว่าอยู่แห่งใด?
ภาพวาดจำลอง การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
สวัสดีท่านผู้อ่าน ‘เจาะเวลาหาอดีต’ ขอนำทุกท่านย้อนเวลาไปพบกับสถานที่ในอดีต ซึ่งใช้เป็นสถานที่สำเร็จโทษเจ้านายชั้นสูงสมัยอยุธยา
ป้ายทางเข้าบริเวณหน้าวัดโคกพระยา
“วัดโคกพระยา”
เป็นสถานที่สำหรับนำพระมหากษัตริย์ซึ่งถูกถอดออกจากราชสมบัติและเจ้านายในพระราชวงศ์ไปกระทำการสำเร็จโทษ
โดยพระมหากษัตริย์ที่ถูกถอดราชสมบัติส่วนใหญ่เกิดจากเหตุรัฐประหารผลัดแผ่นดิน
ภาพจากภาพยนตร์ ‘สุริโยไท’
จากหลักฐานจากพงศาวดารหลายฉบับ กล่าวว่ากษัตริย์ที่ถูกปราบดาภิเษกเกือบทุกพระองค์จะโดนสำเร็จโทษ ณ วัดโคกพระยา
3
เริ่มต้นตั้งแต่การปราบดาภิเษกของพระราเมศวร ซึ่งสำเร็จโทษพระเจ้าทองลัน ครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์แย่งชิงบัลลังค์ระหว่างสองราชวงศ์คือ ราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณภูมิ ในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น
พระราเมศวรโปรดให้นำสมเด็จพระเจ้าทองลันไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยาและนับเป็นกษัตริย์องค์แรกในประวัติศาสตร์ที่ถูกลงโทษโดยท่อนจันทน์ตามราชประเพณี
1
วัดโคกพระยา
—หลักฐานและการวิเคราะห์แหล่งที่ตั้ง —
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวัดโคกพระยาหลายครั้ง ซึ่งจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาว่า
“วัดโคกพระยา” ที่แท้จริงควรจะอยู่ ณ ที่ใดในพระนครศรีอยุธยา ได้แก่
ครั้งที่ 1 ในแผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร พงศาวดารระบุว่า “สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแด่เมืองลพบุรีเข้าในพระราชวัง กุมเอาเจ้าทองลันได้ ให้พิฆาตเสีย ณ วัดโคกพระยา”
1
ครั้งที่ 2 ในแผ่นดินขุนวรวงศาธิราช พ.ศ.2072 ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดินคิดกับเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา
3
ครั้งที่ 3 กล่าวถึง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยกพยุหโยธาทวยหาญ ออกไปดูกำลังข้าศึก ณ ทุ่งภูเขาทองเสด็จยืนพระคชาธารประมวลพลและคชพยุห โดยตั้งอยู่ ณ โคกพระยา
ครั้งที่ 4 ปลายแผ่นดินสมเด็จพระศรีเสาวภาค พ.ศ.2145 พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดระฆัง ไดัสมณฐานันดรเป็นพระพิมลธรรม สึกออกเข้าพระราชวังได้คุมเอาพระเจ้าแผ่นดินไปให้พันธนาการไว้มั่นคง รุ่งขึ้นให้นิมนต์พระสงฆ์บังสุกุล 100 รูป ให้ธูปเทียนสมาธิแล้วก็ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เอาพระศพไปฝัง ณ วัดโคกพระยา แล้วเสด็จขึ้นผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรม
ครั้งที่ 5 บรรดาเหล่าเสนาพฤฒามาตย์ราชปุโรหิตาจารย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เป็นประธาน อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเชษฐาธิราช พระราชโอรส องค์ปฐมของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขึ้นราชาภิเษก พระพันปีศรีศิลป์ผู้เปนพระอนุชาลอบหนีไปซ่องสุมผู้คนที่เมืองเพชรบุรี จะยกเข้ามา สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตรัสทราบเหตุให้แต่งกองทัพออกไปจับกุมพระพันปีศรีศิลป์ได้ เอาตัวมาประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา
ครั้งที่ 6 เจ้าฟ้าชัยได้ครองราชสมบัติ ครั้นอยู่มาสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า คบคิดด้วยพระศรีสุธรรมราชา ซ่องสุมผู้คนพร้อมแล้วก็ยกเข้ามาในพระราชวัง กุมเอาเจ้าฟ้าชัยไปสำเร็จโทษเสีย ณ โคกพระยา
ครั้งที่ 7 เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้าเข้าไปในพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระราชมณเฑียรพระวิหารสมเด็จในวันเดียวกันนั้น เสนาบดีก็ไปตามสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชได้ ณ วังหลัง ก็ให้ไปสำเร็จโทษ ณ โคกพระยาตามประเพณี
1
ครั้งที่ 8 ศักราช 1064 ปีวอก จัตวาศก
(พ.ศ.2245) สมเด็จพระเจ้าเสือให้ชาวที่เชิญเจ้าพระขวัญเข้ามาถึงตำหนักหนองหวาย แล้วก็ประหารเสียด้วยท่อนจันทน์ เสร็จแล้วก็ให้เอาพระศพใส่ถุงแล้วใส่ลงในแม่ขันให้ข้าหลวงเอาออกไปฝังเสีย ณ วัดโคกพระยา
เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในพระราชพงศาวดารมีตั้งแต่แผ่นดินของสมเด็จพระราเมศวร เรื่อยลงมาจนถึงแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าเสือ
รวม 8 ครั้ง
จำแนกได้ว่า ทั้ง 7 ครั้ง เป็นเรื่องการสำเร็จโทษ แต่อีก 1 ครั้ง เป็นเรื่องการตั้งทัพ
3
ข้อถกเถียงกันถึงสถานที่ตั้งที่แท้จริง
- กรณีที่1 จากการสำรวจทำแผนที่วัดร้างในพระนครศรีอยุธยาในภายหลัง ได้ปรากฏชื่อวัดโคกพระยาขึ้นถึง 2 แห่ง จึงได้สร้างความสับสนขึ้นเเก่ นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ว่า’วัดโคกพระยา’ ที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่แท้จริง เพราะต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเองมาเป็นเครื่องประกอบในการพิจารณา เช่น เหตุผลที่ว่าวัด ’โคกพระยา’ ตามแผนที่กำหนดตำแหน่งว่าอยู่เหนือ’วัดหัสดาวาส’และ’วัดหน้าพระเมรุ’
1
วัดโคกพระยา
ซึ่งวัดทั้งสองเป็นวัดที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองไม่มาก หากมีการนำพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศานุวงศ์ไปสำเร็จโทษ ณ ที่นั้น จะสะดวกและเป็นที่ปลอดภัยจากการแย่งชิงตัวนักโทษ
วัดโคกพระยา
แต่ถ้าหากนำไปประหารที่โคกพระยาซื่งอยู่ถึงกลางทุ่งภูเขาทองห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นการเสี่ยงกับการเเย่งชิงตัวนักโทษ
1
จึงวิเคระห์กันถึงความไม่สมเหตุสมผลที่กล่าวว่าวัดโคกพระยาอยู่ที่ทุ่งภูเขาทอง
- กรณีที่ 2
ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งที่มีการอ้างถึงเหตุการณ์ตอนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกกองทัพออกมาจากพระนครศรีอยธยา (ข้อมูลจากพงศาวดาร ครั้งที่ 3)
พระมหาจักพรรดิตั้งทัพรอฤกษ์อยู่ที่วัดโคกพระยา ถ้าวัดโคกพระยา ตั้งอยู่เหนือวัดหัสดาวาส ก็น่าจะไม่สมเหตุสมผลเพราะขบวนกองทัพจำนวนมากจะมาตั้งทัพกระจุกกันอยู่ ณ สถานที่ไม่ห่างไกลเมืองไป ข้าศึกต้องรับรู้ได้เป็นการแน่ “โคกพระยา” ที่กล่าวถึงในเหตุการณ์นี้จึงควรจะมีตำแหน่งอยู่ ณ กลางทุ่งภูเขาทองจึงจะเหมาะสมแก่เหตุผลที่จะรบกันได้
โคกพระยาบริเวณ ทุ่งภูเขาทอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์เหตุผลต่างๆ แล้ว สถานที่สำเร็จโทษกษัตริย์และเจ้านายไม่น่าจะเป็นสถานที่อยู่ห่างไกลพระราชวังมากนัก ด้วยเหตุของปัญหาที่ว่าการนำกษัตริย์หรือเจ้านายไปสำเร็จโทษนั้น ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหาการแย่งชิงตัวกษัตริย์หรือเจ้านายที่ต้องโทษ และเป็นเรื่องที่ต้องกระทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้กษัตริย์พระองค์ใหม่สามารถปราบดาภิเษกขึ้นมาระงับเหตุได้ทันท่วงที และจัดการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองต่อไป
จึงสันนิษฐานว่า “วัดโคกพระยา”
สถานที่สำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาควรจะตั้งอยู่ ณ บริเวณ เหนือ วัดหัสดาวาสและวัดหน้าพระเมรุ
กดติดตามเพื่อให้กำลังใจด้วยนะครับ 🙏❤️
อ้างอิงจาก:http://www.qrcode.finearts.go.th (อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร)
1
โฆษณา