24 ก.พ. 2020 เวลา 12:38 • ประวัติศาสตร์
การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ครั้งสุดท้าย ณ หลักประหาร “วัดปทุมคงคา”
‘เจาะเวลาหาอดีต’พาท่านผู้อ่านย้อนไปดูการประหารด้วยท่อนจันทน์ครั้งสุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดปทุมคงคา รูปภาพจาก kapook.com
“วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฝั่งพระนคร ถนนทรงวาดติดต่อกับถนนสำเพ็ง เดิมชื่อ’วัดสำเพ็ง’
วัดปทุมคงคา ภาพจาก wongnai.com
เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะเป็นสถานที่ประหารชีวิตแห่งแรกในกรุงเทพมหานครยุคกรุงรัตนโกสินทร์ใช้ประหารชีวิตเจ้านายและนักโทษทั่วไป
1
ทั้งด้วยวิธีทุบด้วยท่อนจันทน์และตัดหัว
การแบ่งชั้นวรรณะระหว่าง ‘เจ้า’ กับ ‘ไพร่’
เมื่อที่ยังมีชีวิตก็แตกต่าง หากพูดถึงตอนประหารจะให้เหมือนกันคงไม่ได้ พวกไพร่นั้นต้องตายด้วยคมดาบ หาก เจ้า นั่น ต้องถูกทุบด้วยท่อนจันทน์
ตามกฏมณเฑียรบาลในสมัยโบราณ จะมีนายแวง ขุนดาบ และ หมื่นทะลวง(เพชรฆาต)
เจ้าที่ถูกตัดสินประหารชีวิต จะถูกนำตัวมายังที่ประหารให้นั่งในท่าขัดสมาธิ ส่วนนายแวงนั้น จะทำการนั่งบนตักเจ้าที่จะถูกประหาร หันหน้าเข้าหากันใช้แขนกอดรัดเจ้าไม่ให้เอนไปข้างใดข้างหนึ่ง
ขณะเดียวกันเพชรฆาตจะทำการใช้ท่อนจันทน์ ตีเจ้านายตรงต้นคอให้คอหัก หลังจากก้มกราบ 3 ครั้งแล้ว เจ้าที่สิ้นใจก็จะซบลงตรงอกของนายแวง แล้วนำลงหลุม ส่วนขุนดาบนั้นเป็นสักขีพยาน
1
การประหารชีวิตด้วยการตัดหัว
ตามประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เจ้าที่ถูกประหารด้วยท่อนจันทน์ คนสุดท้ายคือ ‘กรมหลวงรักษ์รณเรศร์’ หรือ ‘พระองเจ้าไกรสร’
โอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งประสูติจากเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว
‘กรมหลวงรักษ์รณเรศร์’ทรงมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งในทางการตัดสินคดีความ กำกับกรมวัง ดูแลการจ่ายเบี้ยหวัดประจำปีของพระราชวงศ์และขุนนาง
กรมหลวงรักษ์รณเรศร์ ถูกประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา เมื่อวันพุธ เดือน1 แรม3ค่ำ ตรงกับวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 3
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
รัชกาลที่ 3
เหตุด้วยข้อกล่าวหาที่ทั้งทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ทั้งประพฤติองค์ในทางเล่นเพื่อนและกบฏ ซึ่งในเรื่องนี้มีการบันทึกไว้ว่า
นางละคร
“...จึงรับสั่งให้เอาพวกละครมาแยกย้ายกันไต่ถาม ได้ความสมกันว่า เป็นสวาทไม่ถึงชำเรา แค่เอามือเจ้าละครและมือท่านมากำคุยหฐานด้วยกันทั้งสองฝ่ายให้สำเร็จภาวะธาตุเคลื่อนพร้อมกัน เป็นแต่เท่านั้น...แล้วโปรดให้ตระลาการถามกรมหลวงว่า เป็นเจ้าใหญ่นายโตเล่นการเช่นนี้ สมควรอยู่แล้วหรือ กรมหลวงรักษ์รณเรศร์ให้การว่า การที่ไม่อยู่กับลูกกับเมียนั้นไม่เกี่ยวข้องกับแผ่นดิน...”
•ขยายความ•
มูลเหตุอีกอย่างหนึ่งที่พระองค์เจ้าไกรสรถูกถอดอิสริยยศคือ ทรงเลี้ยงโขนผู้ชายไว้มากมาย บรรทมอยู่แต่กับพวกโขนละคร ไม่บรรทมกับพวกหม่อมในวัง รัชกาลที่ 3 มีรับสั่งให้เอาพวกโขนละครมาไต่สวน ได้ความที่เหมือนกันเกี่ยวกับการเล่นสวาท
"...ทรงเป็นสวาทกับพวกละคร ไม่ถึงกับชำเรา แต่เอามือพวกละครและมือของพระองค์ท่านกำคุยหฐานของทั้งสองฝ่ายจนภาวธาตุเคลื่อน..."
ที่สำคัญกว่านั้นคือการประพฤติที่จะเป็นกบฏ พระเจ้าอยู่ให้ตระลาการถามอีกว่า
“...เกลี้ยกล่อมเจ้าขุนนายขุนนางให้เป็นพรรคพวกมาก จะคิดกบฏหรือ กรมหลวงให้การว่า มิได้คิดกบฏ คิดอยู่ว่าสิ้นแผ่นดินไปก็มิยอมเป็นข้าใคร ตระลาการจึงถามอีกข้อว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วจะเอาผู้ใดเป็นวังหน้า กรมหลวงให้การว่าคิดไว้จะเอากรมขุนพิพิธภูเบนทร์...”
เมื่อการชำระความถึงตอนนี้ก็เท่ากับกรมหลวงรักษ์รณเรศร์ประกาศอย่างเปิดเผยว่าจะตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อไป
“...จึงมีการกราบทูลจากพระราชวงศานุวงศ์และเหล่าเสนาบดี หากพระเจ้าอยู่หัวไม่เอาโทษจะเลี้ยงไว้ก็ไม่เป็นที่วางใจเหมือนตีอสรพิษหลังหัก ระวังยาก..”
ด้วยเหตุนี้กรมหลวงรักษ์รณเรศร์จึงถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ณ วัดปทุมคงคา และภายหลังถูกลดพระอิสริยศักดิ์ให้เป็นหม่อม
1
ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศร์
หากวิเคราะห์แล้ว เหตุการนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรมในสมัยนั้น ทั้งมีตุลาการ(ตระลาการ)และเหล่าเสนาบดีร่วมกันซักถามพิจารณาข้อกล่าวหาก่อนการตัดสินของพระเจ้าแผ่นดิน
แม้ว่าการประหารด้วยท่อนจันทน์จะเหลือเพียงแต่ตำนานไว้ แต่เรื่องราวต่างๆที่ถูกบันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ยังคงมีการพูดถึงสืบต่อมากระทั่งปัจจุบันนี้
กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจด้วยนะครับ❤️❤️🙏
อ้างอิง:
- หนังสือพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา