22 ก.พ. 2020 เวลา 04:07 • บันเทิง
คลีโอพัตรานางพญารักบันลือโลก ตอนที่3
ประวัติก่อนครองบังลังก์
นอกจากดินแดนไอยคุปต์ ที่มีสตรีขึ้นครองราชย์ หลายต่อหลายพระองค์ ก็ได้มาถึงจุดสิ้นสุดของดินแดนที่มีความรุ่งเรืองมากกว่า 3,000 ปี ก็ได้มาหยุดลงที่ ราชวงศ์ปโตเลมี (305 ปี ก่อนคริสตกาล) โดยฟาโรห์หญิงผู้เลอโฉม “คลีโอพัตราที่7”
1
ราชวงศ์ปโตเลมีเริ่มตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อนายพลคนสนิทของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ นั่นก็คือฟาโรห์ปโตเลมีที่ 1 แห่งอียิปต์โบราณ พระองค์ยังคงให้รักษาการบูชาเทพเจ้าของอียิปต์โบราณไว้คงเดิม แต่ในการสร้างวิหารต่างๆ เพื่อบูชาเทพเจ้าของอียิปต์ ก็จะมีการผสมผสานศิลปะกรีกเข้าไป เช่น วิหารเอ็ดฟู วิหารคอม-ออมโบ วิหารเดนเดรา ที่อยู่ทางตอนใต้ของอียิปต์ ก็ล้วนแล้วแต่สร้างในช่วงราชวงศ์ปโตเลมี ทั้งสิ้น และยกให้เมืองท่า
อเล็กซานเดียร์ ให้เป็นเมืองหลวงของ อาณาจักรอียิปต์โบราณช่วงสุดท้าย
วิหารคอม-ออมโป- googel.com
หลังจากนั้น 200 ปีให้หลัง อียิปต์โบราณ มีฟาโรห์พระนามปโตเลมี ขึ้นครองราชย์มากกว่า 10 พระองค์ จนมาถึง 80 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 12 ขึ้นครองราชย์ และได้อภิเษกกับน้องสาวตัวเองที่ชื่อว่า ปโตเลมีที่ 5 ทีฟาเอนา ทั้ง 2 มีพระโอรสด้วยกัน ชื่อว่า ปโตเลมีที่ 13,ปโตเลมีที่ 14,พระนางเบเรนีเซที่ 4,พระนางอาซิโนเอที่ 4,พระนางคลีโอพัตราที่ 6 และ พระนางคลีโอพัตราที่ 7
ในสมัยฟาโรห์ปโตเลมีที่ 12 ขึ้นปกครองอาณาจักรอียิปต์ ก็ไม่ได้มีความสุข และความเกรียงไกรมากเท่าไหร่ เนื่องด้วยความเกรียงไกรของจักรวรรดิโรมันที่แผ่ขยายออกไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้อียิปต์เอง ก็ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของโรมัน การขึ้นครองราชย์ของปโตเลมีที่ 12 จะต้องได้รับความเห็นชอบ ทั้งฝ่ายอียิปต์ และ ฝ่ายโรมัน หลังจากที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ประมาณ 22 ปี ก็เกิดความวุ่นวายขึ้นในราชสำนัก ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เกิดความไม่พอใจกับตัวฟาโรห์ พระองค์จึงต้องลี้ภัยไปยังกรุงโรมชั่วคราว ทำให้ช่วงนั้นอาณาจักรอียิปต์ต้องขาดกษัตริย์ พระนางเบเรเนซีที่ 4 จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อ แต่ปกครองไปได้แค่เพียง 4 ปีเท่านั้น ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 12 ก็ได้หวนกลับมาที่อียิปต์เพื่อทวงบัลลังก์อีกครั้ง พร้อมทั้งนำทัพกองใหญ่มาจากกรุงโรม เพื่อมายึดบัลลังก์คืนจากลูกสาว เบเรเนซีที่ 4 หลังจากนั้นได้รับชัยแล้วจึงได้สั่งประหาร และผู้สมรู้ร่วมคิด หลังจากนั้นทำให้อียิปต์กลับมาสู่ความสงบสุขอีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้น
1
ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 12 ก็ครองราชย์ต่อได้เพียง 4 ปี เท่านั้น ก็ได้สิ้นสุดลง และเริ่มต้นใหม่กับ ฟาโรห์หญิงองค์สุดท้าย...คลีโอพัตราที่ 7 ซึ่งขึ้นครองราชย์เพียงอายุ 17 พรรษา และนางได้อภิเษกสมรสกับน้องชายของนางเองซึ่งก็คือ ปโตเลมีที่ 13 แต่ด้วยว่าพระองค์ยังทรงพระเยาว์ จึงถูกเหล่านักบวชในราชสำนักนามว่า
“โพธีนุส” บงการอยู่เบื้องหลัง โดยการที่ยุให้ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 13 ถือสิทธิโดยชอบธรรมในการครองราชย์ไว้เพียงพระองค์เดียวแล้วขับไล่พระนางคลีโอพัตราที่ 7 ออกจากแผ่นดินอียิปต์ออกไปเสีย
2
เทพธิดากามาในร่างมนุษย์
นอกจากเป็นราชธิดาฟาโรห์แล้ว คลีโอพัตรายังมีตำแหน่งเป็นนักบวชหญิงลำดับสูงสุดของอียิปต์ หรือจะกล่าวว่าเป็นเทพธิดาในร่างมนุษย์ก็ได้ เทพธิดาสูงสุดของอียิปต์คือ ไอซิส
ไอซิส คือเทพธิดาแห่งสรรพสิ่ง เป็นมารดรแห่งธรรมชาติ อำนาจของนางคือ พลังขับเคลื่อนแห่งกาม
อารยธรรมอียิปต์โบราณบูชากาม กามารมณ์เป็นแกนแห่งความเชื่อศรัทธา ไม่ต่างกับกรีกหรือโรมันที่รับอิทธิพลอู่อารยธรรมบูชากามผ่านเทพเจ้าเช่นเดียวกัน
นักบวชหญิงที่รับการสถาปนาให้เป็นเทพธิดาไอซิสในร่างมนุษย์ ก็ย่อมต้องรับกามาในทางปฏิบัติมากกว่าผู้หญิงธรรมดามากมายเป็นสิบเท่าร้อยเท่า นางจะอยู่ประจำที่มหาวิหารเทพธิดาไอซิสทั้งวันทั้งคืน รับการบูชาจากบุรุษที่สัมผัสความศักดิ์สิทธิ์ของเทพธิดาไอซิสผ่านร่างของนาง
การแต่งกายโบราณ
อวัยวะเพศของนักบวชหญิงผู้ดุจเทพธิดากามาคือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เปิดรับการถวายพลีด้วยศรัทธาของบุรุษดุจบ่อที่ไร้ก้น ยิ่งได้รับน้ำรักถะถั่งให้มากมายปานใด ก็ยิ่งเท่ากับว่า ตัวเองได้ทำหน้าที่ส่งผ่านเครื่องบูชาสู่เทพธิดาไอซิส ให้โปรดปรานให้พร ให้ความเป็นมงคลต่อผู้ศรัทธา
มีบันทึกอียิปต์กล่าวถึงตำแหน่งนักบวชหญิงระดับสูง อะเซต ว่า นางจะต้องมีประสบการณ์กามากับบุรุษ (ที่ไม่ซ้ำหน้ากัน) ผ่านผู้ชายอย่างน้อยหนึ่งพันคน ถึงจะได้สวมชุดสีบ่งบอกถึงสถานะ อันจะได้รับการยกย่องอย่างสูงและเป็นที่เชื้อเชิญในทุกสังคม (มีบันทึกว่า คลีโอพัตราได้สวมชุดนักบวชหญิงอะเซต ในเวลาเพียง 10 วันเท่านั้น และครั้งที่นางเข้าพบ มาร์ก แอนโทนี เป็นครั้งแรก ก็ได้แต่งชุดนักบวชนี้)
จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมประวัติศาสตร์ถึงจารึกว่า คลีโอพัตรา คือนางพญาร่านสวาท ผู้หญิงที่เก่งกาจเชิงกามาที่สุดคนหนึ่งของโลก บุรุษชายชาติทหารที่สามารถเลือกผู้หญิงคนไหนก็ได้ในครึ่งซีกโลก อย่าง จูเลียส ซีซาร์ หรือ มาร์ก แอนโทนี ทำไมถึงหลงพระนางอย่างหัวปักหัวปำ กระทั่งแลกชีวิตก็ยอม
อ่านตอนต่อไป
บันทึกประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ หอสมุดแห่งชาติ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา