25 ก.พ. 2020 เวลา 12:41 • ประวัติศาสตร์
☠️ว่าด้วยเรื่อง “ประตูผี” และบทวิเคราะห์ตำแหน่งในปัจจุบันว่าอยู่จุดใด☠️
’เจาะเวลาหาอดีต’ พาย้อนไปดูประตูผี ที่เราคุ้นหูกัน ประตูผีอยู่ตรงไหน และมีที่มาอย่างไร
ภาพอุโบสถพระแก้วมรกตหันหน้าสู่ทิศประตูผี
คติความเชื่อกันตามประเพณีแต่โบราณ
เมืองราชธานีนั้นมีพระราชวังเปรียบได้กับเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง โดยมีกำแพงเมืองเปรียบดังเขาสัตบริภัณฑ์กับคูเมืองเปรียบเหมือนมหานทีสีทันดรตามคติไตรภูมิโลกสัณฐาน
ทำให้ภายในเขตอาณาเขตของกำแพงเมืองถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามประกอบพิธีอวมงคลและการอัปมงคลต่างๆ เช่น การปลงศพหรือเผาศพ เว้นแต่พระบรมศพกับพระศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ที่สามารถจัดการพระเมรุในกำแพงเมืองได้
8
ภาพเก่าริมกำแพงเมือง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อศพของสามัญชนไม่สามารถทำการฌาปนกิจได้ในกำแพงเมือง เมื่อมีการก่อสร้างพระนคร จึงมีคติว่าต้องทำประตูพิเศษไว้ที่กำแพง เรียกกันว่า “ประตูผี”
เป็นประตูสำหรับนำศพของสามัญชนที่เสียชีวิตในเมืองขนผ่านออกไปประกอบพิธีกรรมนอกเมือง
ภาพเก่าสันนิษฐานว่าใกล้บริเวณประตูผี
โดยมีกฎหมาย ’ตราสามดวง’ บัญญัติว่า
“...ผู้ใดทนงองอาจ์หามผีข้ามแขวงข้ามด่านข้ามแดนไปฝังไปเผาก็ดี ผีนอกพระนครเอาเข้าไปในพระนครก็ดี ผู้ใดทำดั่งนี้เลมิดให้’ไหม’ทังพวกจงทุกคน..”
•ขยายความ•
คำว่า’ไหม’ ขยายความได้เกี่ยวกับบทลงโทษตามโทษทั้ง 8 สถานระบุไว้ดังนี้
- สถานหนึ่งให้ฆ่าผู้ร้ายนั้นเสีย
- สถานหนึ่งให้ตัดตีนตัดมือแล้วประจาน
- สถานหนึ่งให้ทวนด้วยลวดหนังไม้หวาย50ที่
- สถานหนึ่งให้จําไว้แล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง
- สถานหนึ่งให้ไหมจัตุระคูนแล้วเอาตัวลงเป็นไพร่
- สถานหนึ่งให้ไหมตรีคูน
- สถานหนึ่งให้ไหมทวิคูน
- สถานหนึ่งให้ไหมลาหนึ่ง
และการปรับไหม หมายถึง การบังคับเอาเงินจากผู้กระทําผิดมีหลายระดับ เช่น จัตุรคูณ ตรีคูณ ทวีคูณ ลาหนึ่ง เป็นต้น
☠️กลับเข้าเนื้อหากันต่อนะครับ☠️
ด้วยประการเช่นนี้ บรรดาเมืองสำคัญขนาดใหญ่อย่างเมืองราชธานีจึงมักมีประตูผี
สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากนครธมของกัมพูชาแล้วส่งต่อคติดังกล่าวมาสู่เมืองต่างๆ เช่น สุโขทัย เชียงใหม่ กรุงศรีอยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์
ภาพเก่าวิถีชีวิตริมกำแพงเมือง
**สำหรับกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าประตูเมืองด้านใดเป็นประตูผี แต่มีเอกสารซึ่งบันทึกจากหอหลวง คำให้การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรมไว้ว่า “ประตูที่กำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ทีมีชื่อว่า ‘ประตูหมูทลวง’ เป็นประตูสำหรับอัญเชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ ลงเรือขบวนแห่ไปถวายพระเพลิงที่เมรุวัดไชยวัฒนาราม” จึงคาดว่าประตูนี้น่าจะเป็นประตูผีของกรุงศรีอยุธยา
วัดไชยวัฒนาราม
แผนที่เก่า:กรมแผนที่ทหาร
>>จากข้อมูลแผนที่ของกรมแผนที่ทหาร
ระบุพิกัดของ’ป้อมหมูทะลวง’
(ใช้ชื่อเดียวกับประตูผีในกรุงศรีอยุธยา)
ประตูผีน่าจะอยู่ทางเหนือใกล้กับป้อมหมูทะลวง สังเกตุจะพบเส้นทางลากข้ามคลองคูเมือง ตรงตำแหน่งเลข 5
ภาพเก่าสันนิษฐาน เหตุการณ์ โรคห่าระบาด
+ บทวิเคราะห์ +
• บทวิเคราะห์ 1 •
การกำหนดที่ตั้งของประตูผีในแต่ละเมือง ไม่น่าจะมีกำหนดตายตัวว่าจะตั้งอยู่ด้านใด สุดแล้วแต่ที่ตั้งของสถานที่ประกอบฌาปนกิจว่าจะอยู่นอกเมืองทางทิศใด ดังเช่น ประตูผีของกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เนื่องจากมีวัดสะเกศซึ่งอยู่ริมคลองคูเมืองชั้นนอกหรือคลองรอบกรุง ทั้งยังเป็นสุสานประกอบพิธีศพสำหรับพระนคร โดยมีประตูผีและสะพานข้ามคูเมืองไปยังบริเวณวัด
รูปภาพจาก นายมั่นคง จาก https://forum.munkonggadget.com
> สังเกตุแนวเส้นสีเขียว อันนี้จะเป็นแนวกำแพงป้อมพระกาฬ จะเห็นว่าแนวสีเขียวนี้จะลากยาวไปจนถึงหน้าวังบูรพา
>> ส่วนแนวสีฟ้านั้น เป็นแนวกำแพงเช่นกัน
จนมาเหลือแนวกำแพงป้อมตรงบริเวณวัดราชนัดดา และวัดเทพธิดาราม
1
>>> จุดที่บริเวณที่วงสีแดงไว้ คือสี่แยกสำราญราษฎร์ การขนศพผ่านบริเวณใดและทางไหนน่าจะเป็นประตู กำแพงสีฟ้าที่ถูกรื้อออกและถูกตัดตรงเป็นถนนบำรุงเมือง จากเสาชิงช้ามุ่งหน้าตรงมาก็จะเป็นสี่แยกสำราญราษฎร์ ทางที่น่าจะเป็นทางผ่านไปทางเดียวก็คือสี่แยกสำราญราษฎร์นั่นเอง
ภาพจาก คุณบอยจ๊อด https://men.mthai.com/rush
• บทวิเคราะห์ 2 •
> จากเหตุการณ์โรคห่าระบาดมีการนำศพของผู้เสียชีวิตจำนวนมากจนเป็นตำนาน แร้งวัดสระเกศเปรตวัดสุทัศ “ยกศพพขนบนเกวียนออกทางประตูผี ข้ามคลองโอ่งอ่างไปที่วัดสระเกศจนเผาไม่ทัน แร้งมารอกิน”
>> เนื่องจากกำแพงถูกรื้อออกไปและถูกตัดตรงเป็นถนนบำรุงเมืองจากเสาชิงช้ามุ่งหน้าตรงมาก็จะเป็นประตูผีซึ่งทางที่น่าจะเป็นทางผ่านไปทางเดียวก็คือ
‘สี่แยกสำราญราษฎร์’ นั่นเอง
กลางแยกสำราญราษฎร์ “ประตูผี”
ข้ามคลองโอ่งอางเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบริพัตร สู่ วัดสระเกศ
>>> จากประตูผีมุ่งหน้าตรงขึ้นไปจะเป็นสะพานเล็กๆข้ามคลองโอ่งอ่างซึ่งถ้าหามศพผ่านออกไปก็น่าจะผ่านตรงสะพานนี้ และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบริพัตรไปที่บริเวณวัดสระเกศ
(โปรดใช้วิจารณญาณ)
การที่นำศพออกทางประตูผีไปประกอบพิธีกรรมนอกกำแพงพระนครได้นั้น เพราะประตูผีเป็นประตูเดียวที่ไม่มีการลงยันต์คาถาอาคมไว้ที่ช่องประตูซึ่งต่างจากประตูเมืองอื่นๆ
ทั้งนี้เพื่อให้ศพที่ยังไม่ประกอบพิธีกรรมสามารถออกไปจากเมืองได้ทั้งสองสภาวะ คือ ศพร่างกายและวิญญาณ
ดังนั้นหากประตูผีไม่มีการลงคาถาอาคมเป็นเครื่องป้องกันเมืองจากสิ่งที่มองไม่เห็นหรืออัปมงคล จึงต้องมีสิ่งศักดิสิทธิ์คอยระวังรักษาภายในเมืองแนวเดียวกับประตูผี
“กรุงรัตนโกสินทร์มีพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกตหันหน้าตรงไปยังประตูผี เพื่อสะกดไว้แต่สิ่งอัปมงคล”
ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ ช่วยกดติดตามเป็นกำลังใจด้วยนะครับ 🙏🙏❤️❤️
อ้างอิง:
- จดหมายเหตุเล่าเรื่องอนุสาวรีย์เมืองบางกอก สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
โฆษณา