1 เม.ย. 2020 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
• หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยาม •
‘จดหมายเหตุบางกอก Bangkok Recorder’
1
เจาะเวลาหาอดีตพาย้อนไปในยุคที่หนังสือพิมพ์สยามฉบับแรกได้กำเนิดขึ้น
กิจการหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศนั้นได้เจริญ
ก้าวหน้าแพร่หลายมาเป็นเวลานานมากแล้ว แต่เหตุด้วยในสยามนั้นไม่มีเครื่องพิมพ์ ใช้วิธีการเขียนมาอย่างยาวนาน การเสนอสื่อสิ่งพิมพ์ในปริมาณมากแก่ประชาชนจึงเป็นไปได้ยากในยุคนั้น
แดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley)
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันที่ชาวไทยเรียกว่า “หมอบรัดเลย์” หรือ “ปลัดเล” ได้นําเครื่องพิมพ์เข้ามาในประเทศไทย และได้พิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรกเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ชื่อว่า
จดหมายเหตุบางกอก Bangkok Recorder ถือเป็นหนังสือพิมพ์ ฉบับแรกของสยาม
หลังจากหมอบรัดเลย์เข้ามาอาศัยในประเทศ
ไทยเป็นเวลานาน ได้กราบบังคมทูลพระบาท
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทาน
พระบรมราชานุญาตจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ โดย
ออกฉบับแรกในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2387
ชื่อว่า “Bangkok Recorder”
บางกอกรีคอร์เดอร์หรือจดหมายเหตุบางกอก ถือเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย และเป็นสิ่งแปลกสําหรับชาวสยามในขณะนั้น จึงไม่มีผู้ใดรู้ว่าจดหมายเหตุบางกอกเป็นหนังสือพิมพ์ เพราะชาวไทยส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคย
มีการจัดพิมพ์ขึ้นทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ออกปักษ์ละ 2 ใบ มี 4 หน้า โดยในฉบับที่เป็นภาษาไทยจะมีขนาด 6” x 9”
ส่วนฉบับภาษาอังกฤษจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าคือ 12” x 18” มีรูปแบบในการจัดหน้าแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ ในนั้นมีทั้งภาพประกอบ คือภาพวาดขยายปลีกใบละสลึงเฟื้อง แต่ถ้าซื้อแบบพิมพ์เป็นเล่มรวมปลายปีขายเล่มละ 5 บาท เล่มหนึ่งจะมี 26 ใบ โดยมีโรงพิมพ์อยู่แถววัดซานตาครูส ตำบลกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี
วัดซานตาครูส ฝั่งธนบุรี
เนื้อหาภายในจะเป็นลักษณะตำรา ข่าวทั้งต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งการเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งหมอบรัดเลย์ต้องการให้คนเห็นว่า หนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรและมีคุณค่าต่อบ้านเมืองอย่างไร
บางกอกรีคอร์ดเดอร์ออกพิมพ์อยู่ได้ระยะเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่เดือนก็ต้องปิดตัวลงไป เหตุด้วยปัญหาหลายประการทั้งเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล สร้างความไม่พอใจให้กับขุนนางและข้าราชสำนักที่เป็นผู้อ่านส่วนใหญ่ จึงทำให้เกิดปัญหากับรัฐบาลและปัญหาส่วนตัวทั้งการจัดระบบเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในสยามและปัญหาครอบครัว
หลังจากต้องปิดตัวไประยะเวลาหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 หมอบรัดเลย์ได้ออกบางกอกรีคอร์ดเดอร์อีกครั้ง
ซึ่งในครั้งหนึ่งทางหนังสือพิมพ์มีเนื้อหาบางส่วนที่โจมตีพระพุทธศาสนา ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปของชาวตะวันตก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ตอบโต้ แม้ไม่ลงพระปรมาภิไธยแต่ก็เป็นที่ทราบโดยทั่วกันในเวลานั้น ต่อมาบางกอกรีคอร์เดอร์ต้องปิดตัวอีกครั้งเพราะเนื้อหาที่ดูถูกคนไทยและยกย่องตนเองทำให้มีสมาชิกยกเลิกเป็นจํานวนมาก จนต้องปิดกิจการลงหลังออกได้เพียง 2 ปีเศษเท่านั้น
1
เครื่องพิมพ์ยุคเก่า
หลังจากนั้นเมื่อหมอบรัดเลย์ออกหนังสือพิมพ์ก็มีชาวต่างประเทศออกหนังสือตามบ้าง รวมระหว่างรัชกาลที่ 3-4 มีถึง 6 ฉบับ ได้แก่
- สยามไทม์ (Siam Time)
- บางกอกเพรส (Bangkok Press) ออกในปี พ.ศ.2407 และได้ปิดกิจการลงในปีนั้นทั้ง 2 ฉบับ ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2410
- หนังสือพิมพ์สยามวีคลีมอนิเตอร์ (Siam Weekly Monitor) ได้ปิดตัวลงในวันที่ 25 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้นหนังสือพิมพ์เล่มนี้ได้นําเสนอเรื่องของนายฮูต กงสุลอเมริกัน ที่ได้รับเรื่องเลวร้ายไว้จนกงสุลผู้นี้ต้องขายทรัพย์สมบัติและหนีกลับประเทศไปแต่เนื่องจากไม่ได้รับการตอบรับมากเท่าไรนักในที่สุดก็ต้องปิดตัวลงในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2411
- หนังสือพิมพ์ฉบับสุดท้าย คือ บางกอกซัมมารี (Bangkok Summary) เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่ออกในปี พ.ศ.2411 ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ออกได้ไม่ถึงปีก็ต้องปิดการลงไป
แม้ว่าบางกอกรีคอร์เดอร์เป็นหนังสือพิมพ์
ของชาวต่างประเทศ แต่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่
ทําให้ชาวไทยได้รู้จักและเห็นความสําคัญของ
หนังสือพิมพ์ที่มีต่อสังคมและบ้านเมือง จนต่อมาได้ทําให้เกิดหนังสือพิมพ์ของชาวไทยตามมาหลังจากนั้น
❤️กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
โฆษณา