1 มี.ค. 2020 เวลา 08:49 • สุขภาพ
"วิตามินดี" มีดีกว่าที่คิด
จากข้อมูล พบว่าคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมีระดับวิตามินดีต่ำกว่าคนไทยในภูมิภาคอื่น ๆ โดยกว่าร้อยละ 60 ของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเกือบร้อยละ 50 ของคนในตัวเมืองแต่ละจังหวัดต่าง ๆ มีภาวะพร่องวิตามินดีมากกว่าคนในพื้นที่ชนบท
ทั้ง ๆ ที่ร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากผิวหนังเมื่อโดนแสงแดด แต่จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คนส่วนใหญ่อยู่ในห้องหรืออาคาร และออกมาสัมผัสแสงแดดลดลง จึงทำให้เกิดภาวะที่เราเรียกว่า ภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี
ภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี (Vitamin D insufficiency or deficiency) คืออะไร
ภาวะที่ระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำกว่าค่าปกติ พบในคนทั่วไป ทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลงส่งผลให้มวลกระดูกลดลงจนนำไปสู่ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนได้
เราสามารถวินิจฉัยได้จากการวัดระดับค่า 25-hydroxy-vitamin D เพื่อแสดงระดับวิตามินดีในเลือด แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
ภาวะขาดวิตามินดี มีสาเหตุจากอะไร
การได้รับวิตามินดีจากอาหารไม่เพียงพอ
การได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
การดูดซึมวิตามินดีผ่านทางเดินอาหารบกพร่อง
การรับประทานยาบางชนิด
วิตามินดีมีความสำคัญอย่างไร
ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร และรักษาระดับแร่ธาตุดังกล่าวในเลือดให้เป็นปกติ
ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์อันเป็นสาเหตุให้เกิดการสลายกระดูก
เมื่อขาดวิตามินดีแล้ว ควรทำอย่างไร
หากท่านได้รับการตรวจวินิจฉัยว่า มีภาวะพร่องหรือขาดวิตามินดี เรามีคำแนะนำดี ๆ ให้ท่านได้นำไปปฏิบัติดังนี้
1. ทำกิจกรรมที่ได้รับแสงแดด อย่างน้อย 15 นาที จำนวน 2-4 ครั้ง/สัปดาห์ ช่วงเวลาที่ไม่ร้อนจนเกินไป
2. รับประทานอาหารที่ให้ปริมาณวิตามินดีสูง
3. การรับประทานวิตามินดีเสริม
4. ตรวจติดตามระดับวิตามินดีในเลือดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของทางโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Contact information: Drug Information Service
ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Tel: 02 011 3399

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา