Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad International
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
6 มี.ค. 2020 เวลา 05:28 • สุขภาพ
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่พบในสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โรคสามารถแพร่จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว ไปสู่คนได้จากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสกัดหรือข่วน หลังได้รับเชื้อมักไม่ปรากฏอาการใดๆ โดยอาการมักเกิดหลังจากถูกกัดประมาณ 7 วันหรือเป็นเดือน
ตัวอย่างอาการที่เกิด ได้แก่ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มีไข้ หงุดหงิด กระวนกระวาย และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
bumrungrad.com
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า | โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่พบในสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โรคสามารถแพร่จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว ไปสู่คนได้จากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสกัดหรือข่วน
ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ในปี 2561 พบตัวอย่างส่งตรวจที่ติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าถึงร้อยละ 15 ซึ่งพบในสุนัขมากที่สุด รองลงมาคือโคและแมวตามลำดับ
ท่านสามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร?
การป้องกันตนเองที่สามารถทำได้ง่ายที่สุดคือ การไม่ถูกสัตว์กัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ไม่รู้จัก นอกจากนี้ ท่านสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาล
เมื่อไหร่ที่ท่านควรรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า?
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามี 2 วัตถุประสงค์ คือ ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคก่อนการถูกสัตว์กัด และฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหลังถูกสัตว์กัด การฉีดวัคซีนทั้ง 2 แบบ มีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้
1. ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค (ยังไม่ได้สัมผัสสัตว์หรือถูกสัตว์กัด)
2. ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหลังสัมผัสหรือถูกสัตว์กัด
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีอะไรบ้าง?
พบในผู้ป่วยบางราย แบ่งตามอาการแสดงได้ดังนี้
อาการไม่รุนแรงและพบได้บ่อย
ปวด บวม คันบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ
อาการปานกลาง
ลมพิษ ปวดข้อ มีไข้ (พบ 6% ในการฉีดเข็มกระตุ้น)
อาการรุนแรง
พบได้น้อยมาก เช่น ไข้สูง หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ด โดยเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่กี่นาทีถึง 2-3 ชั่วโมงหลังได้รับวัคซีน หากพบอาการเหล่านี้ควรแจ้งแพทย์หรือพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ทันที
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง
Contact information: Drug Information Service
ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Tel: +66(0) 2 011 3399
บันทึก
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Bumrungrad Pharmacy - เกร็ดความรู้เรื่องยา
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย