ชุดคำถามที่คิดขึ้นโดย "Alan Turing" (นักคณิตศาสตร์ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์) ในปี 1950 เมื่อใดก็ตามที่ AI จะเทียบเคียงมนุษย์ได้ก็คือ การที่เรานั่งสนทนากับ AI โดยไม่รู้ตัวว่าเรากับลังคุยอยู่กับ AI
ในการทดสอบนั้นผู้ทดสอบจะทำการป้อนชุดคำถามให้กับ AI และคนจริง ๆ และประเมินว่าฝั่งไหนคือ AI หรือคนจริง ๆ จากคำตอบที่ได้รับกลับมา
แต่ชุดคำถามของ Turing นี้ไม่ใช่เครื่องเตือนภัยได้แน่ ๆ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ผลทดสอบออกมาว่าเราแยกระหว่างมนุษย์กับ AI ไม่ออกแล้วนั้นหมายความว่า AI ได้พัฒนาถึงระดับที่เทียบเคียงมนุษย์เราได้แล้ว นั่นคือ AI สามารถคิดซับซ้อนจนอาจจะเป็นภัยกับเราได้แล้ว
** งั้นประเมินจากความสามารถของ AI ในเกมส์ต่าง ๆ หรือ AI ที่เอาชนะแชมป์หมากรุกหรือแชปม์โกะได้ละ?? **
เป็นข่าวลือลั่นไปทั้งโลกเมื่อ AI นั้นสามารถเล่นเกมส์กระดานที่ต้องใช้ความคิดอย่างลุ่มลึกอย่างหมากรุกและโกะชนะมนุษย์ฝีมือระดับแชมป์โลกได้
แต่นั่นยังไม่พอ เพื่อทีมพัฒนาได้สร้าง AI ตัวใหม่ที่ใช้การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Machine Learning) ผลที่ได้คือ Alpha Zero สามารถเอาชนะ AlphaGO ตัวเดิมไปได้อย่างราบคาบหลังจากที่มันเรียนรู้เองแค่ 4 ชั่วโมง
ผลงานของ AlphaZero ไล่ถล่มทุกสำนัก AI
รวมถึงยังเอาชนะ AI ตัวอื่น ๆ ในการแข่งหมากรุกได้อย่างรวดเร็ว
หนาวเลยมั้ยครับ?? เจ้า Zero ได้เปิดกะลาของมนุษย์ให้ได้เห็นถึงตาเดินหมากที่ไม่มีใครเคยจินตนาการมาก่อน นี่เรากำลังจะซวยกันแล้วใช่ไหม??? 😣
แต่ทั้งนี้ความสามาถอันน่าตื่นตะลึงของ Zero ก็ยังขึ้นอยู่กับทีมงาน Deepmind ที่อยู่เบื้องหลังการเขียนอัลกอลิทึมอย่างชาญฉลาดให้กับ Zero
3
และการจะให้ AI เปลี่ยนไปทำงานอื่นที่แตกต่างออกไปนั้นยังต้องใช้เวลาเป็นปี ลองนึกถึงว่าถ้าให้ Zero ไปขับรถยนต์อัตโนมัติละคิดว่ามันจะต้องใช้เวลากี่ปีในการเรียนรู้
และที่สำคัญถ้าไม่มีมนุษย์ปรับแก้อัลกอลิทึมให้แล้ว Zero จะสามารถเรียนรู้ที่จะขับรถเองได้หรือไม่?
นั่นคือความสามารถอันล้ำเลิศของ AI ยังต้องพึ่งพามนุษย์หรืออย่างน้อยก็การแทรกแซงจากมนุษย์
ปัจจุบันยังไม่มี AI ตัวไหนที่สามารถปรับเปลี่ยนไปเรียนรู้สิ่งใหม่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ได้
ความสามารถในการคำนวนอันล้ำเลิศของ AI นั้นกลับกลายเป็นสิ่งท้าย ๆ ที่ปัญญาควรจะต้องมี
นี่คงพอจะเป็นแนวทางในการสังเกตว่า AI จะพัฒนาศักยภาพได้เทียบเคียงหรือเป็นภัยต่อเราได้ งั้นเรามาดูกันว่าเรามีตัวชี้วัดอะไรบ้างที่จะแจ้งเตือนเราได้ก่อนภัยจะมาถึงตัว
** ตัวชี้วัดอย่างแรก **
ก็คือเมื่อไหร่ก็ตามที่ AI สามารถมีการเรียนรู้ที่จะระบุปัญหาของการเรียนรู้และหาแนวทางปรับแก้ได้เองเพื่อตอบโจทย์ของการที่พวกมันจะได้มาซึ่งความสามารถใหม่ นั่นแหละพวกมันมีความสามารถที่เทียบเคียงกับเราแล้ว
ถ้าเมื่อไหร่ที่ Zero อยากจะแต่งเพลงให้ปังในยูทูป และมันหาทางศึกษาพัฒนาตัวเองจนสามารถทำเพลงฮิตติดชาร์ทได้ นั่นแหละเรากำลังจะซวยแล้วจริง ๆ (ปัจจุบันก็มีเพลงที่แต่งโดย AI แล้วนะครับ)
** AI สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ **
ปัจจุบันมีผู้พัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมากมายในตลาด ซึ่งก็ยังมีประเด็นเรื่องความน่าเชื่อถือของระบบอย่างเช่น กรณีอุบัติเหตุที่ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของรถ Tesla ชนคน
ทั้งนี้เจ้า AI สำหรับระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ควบคุมยานพาหนะเหล่านี้ยังมีปัญหาเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของเหล่าผู้พัฒนา และความสามาถในการควบคุมยานพาหนะของ AI นี้น่าจะเป็นชี้วัดถึงศักยภาพของพวกมันได้ว่าก้าวหน้าถึงระดับต้องระวังภัยแล้วหรือยัง
ทั้งนี้หาก AI นี้สามารถนำมาใช้งานแล้วพิสูจน์ได้ว่าช่วยลดอุบัติเหตุได้มากกว่าที่คนขับ นั่นแหละพวกมันถือได้ว่ามีศักยภาพสูงมากพอแล้ว
ซึ่ง AI นั้นยังมีปัญหาในการทำความเข้าใจภาษาของมนุษย์ รวมถึงเข้าใจในแรงจูงใจเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ของมนุษย์ นั่นก็คือหมอ AI ยังไม่อาจสัมภาษณ์โรคผู้ป่วยได้เหมือนหมอที่เป็นคนจริง ๆ
ปัจจุบัน AI นั้นยังไม่มีความสามารถในการทำความเข้าใจกับคำถามเชิงอุปมาหรือเปรียบเทียบง่าย ๆ ได้
เช่น ลองถามพวก AI Assistance อย่าง SIRI หรือ Alexa ว่า "เอาถุงกอล์ฟใส่รถไม่ได้เพราะมันใหญ่เกินไป จะทำไงดี??" AI พวกนี้จะตอบว่าไม่รู้เพราะ AI นั้นไม่รู้ว่าคำว่า "มัน" นั้นหมายถึงถุงกอล์ฟหรือว่ารถกันแน่ 🤔
** AI Assistance ที่เริ่มพูดเป็นต่อยหอย **
ถ้าหากพวก AI Assistance เริ่มมีความเข้าใจภาษาและความหมายเชิงอุปมาจนมามารถคุยได้หลายเรื่องมากขึ้น นั่นจะเป็นตัวชี้วัดอย่างที่ 4 ที่เราต้องระวัง
แต่ถ้าปล่อยให้พัฒนาถึงขั้นปล่อยมุกได้หรือมีตั้งค่าความจริงใจในการพูดคุยแบบ CASE กับ TARS ในเรื่อง Interstellar ได้นี่ผมว่าเราคงจะระวังกันไม่ทันแล้วหละ 😅
และนี่ก็คือ 4 ตัวชี้วัดที่เราอาจใช้ประเมินติดตามศักยภาพของ AI ที่มีอยู่ว่าพวกมันเริ่มจะมีขีดความสามารถที่เป็นภัยกับเราแล้วหรือไม่