4 มี.ค. 2020 เวลา 03:27 • ธุรกิจ
ลงทุนเพื่อลูกอย่างไร ?? ให้เข้าใจตอนยื่นภาษี
สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ท่านใด ที่กำลังวางแผนการออมเงินเพื่อลูกอยู่ วันนี้ธรรมนิติมีข้อมูลเรื่องภาษีมา Update ให้คุณผู้อ่านครับ
การวางแผนการออมเงินเพื่อลูกมีหลายวิธี เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากในชื่อพ่อ/แม่/หรือชื่อพ่อแม่ร่วมกัน เพื่อบุตรผู้เยาว์ไม่ว่าจะเป็น..
- การฝากเงินประเภทออมทรัพย์
- การฝากเงินประเภทฝากประจำ
- การซื้อพันธบัตรรัฐบาลให้แก่บุตร
- ทำธุรกรรมต่างๆ เช่น จดทะเบียนสิทธิเก็บกินในบ้านที่เช่าให้แก่บุตร
- ซื้อหุ้นสามัญในบริษัทแห่งหนึ่ง โดยให้บุตรมีสิทธิได้รับเงินปันผล
และวิธีอื่นๆ อีกมากมาย
โดยการลงทุนในแต่ละวิธี จะมีประเด็นภาษีมาเกี่ยวข้อง
ซึ่งดอกเบี้ยหรือประโยชน์จากการลงทุนนั้น..
- บางรายการถือเป็น เงินได้ของพ่อ แม่
- บางรายการถือเป็น เงินได้ของบุตรผู้เยาว์
ความสับสนนี้อาจส่งผลให้ยื่นแบบฯ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ถูกต้อง ทำให้ต้องมายื่นแบบฯ กันเพิ่มเติม และเสียค่าเบี้ยปรับเงินเพิ่มอีกด้วย
**การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการลงทุนเพื่อผู้เยาว์**
>> การฝากเงินเพื่อผู้เยาว์
กรมสรรพากรมีแนววินิจฉัยที่ กค 0702/10466 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ว่า
ดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีพ่อ แม่ เพื่อบุตรผู้เยาว์ = เป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์
ซึ่งพ่อ แม่ หรือผู้แทนโดยชอบธรรม มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีในนามบุตร ตามมาตร 56 และมาตร 57 แห่งประมวลรัษฎากร
>> การซื้อหุ้นสามัญในบริษัท โดยให้บุตรผู้เยาว์เป็นผู้ได้รับเงินปันผล
มาตรา 40 (4) (ข) วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า
(กรณีที่บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะและมีเงินปันผล)
ถ้าความเป็นสามีภริยาของพ่อแม่ได้มีตลอดปีภาษี = เงินได้ของบุตรเป็นของบิดา
ถ้าความเป็นสามีภริยาของพ่อแม่ไม่ได้มีตลอดปีภาษี = เงินได้ของบุตรเป็นของ
บิดาหรือมารดาที่เป็นผู้ดูแลบุตร (หากดูแลบุตรร่วมกัน เงินได้จะเป็นของบิดา)
ดังนั้น เงินได้ของบุตรเมื่อเป็นของใคร บุคคลนั้นต้องนำเงินปันผลดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีของตนเอง รวมทั้ง มีสิทธินำบุตรผู้เยาว์มาหักลดหย่อนได้ตามมาตรา 47 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร
วางแผนลงทุนเพื่อลูกอย่างเข้าใจ
สบายใจตอนยื่นแบบฯ เสียภาษี
อ่านเพิ่มเติมได้ใน.. คอลัมน์ Tax How To
เอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนมกราคม 2563
เรื่อง “ลงทุนเพื่อผู้เยาว์ ใครมีหน้าที่เสียภาษี”
โฆษณา