10 มี.ค. 2020 เวลา 11:37 • การศึกษา
Ep.12🌙
“กระดาษทิชชู่” ทำเป็น “หน้ากากอนามัย”
เนื่องจากลักษณะของกระดาษนั้นเกิดการประสานกันของเส้นใยเซลลูโลส ซึ่งก็จะมีช่องว่างอุดด้วยสารเติมแต่ง เพื่อเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ อีกทั้งกระดาษอเนกประสงค์และกระดาษทิชชู่ยังมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำด้วย ซึ่งเมื่อมีละอองเข้ามาเกาะจะถูกดูดซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อกระดาษ โดยความสามารถในการดูดซึมขึ้นอยู่กับกระดาษอเนกประสงค์หรือกระดาษทิชชู่ที่นำมาใช้
นอกจากนี้กระดาษอเนกประสงค์และกระดาษทิชชู่บางเกรดมีการเติมสารฟอกนวลเพื่อช่วยให้สีดูขาวขึ้น หากใส่เป็นหน้ากาก มีความอับชื้นเป็นเวลานาน บางคนอาจแพ้และเกิดการระคายเคือง และเส้นใยอาจหลุดจากพื้นผิวเมื่อถูกเสียดสีขุยกระดาษที่สูดเข้าปอดไปก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
ดังนั้นหน้ากากผ้าจึงทางออกที่ดีที่สุดเมื่อหน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้งขาดแคลน ถือเป็นทางเลือกของผู้ที่ไม่ป่วยได้ โดยสามารถทำหน้ากากผ้าเองได้ ด้วยการใช้ผ้าฝ้าย ผ้าใยสังเคราะห์ และผ้าสาลู ซึ่งแม้ว่าจะช่วยได้ไม่ 100% แต่รองรับได้ 54-59%
ข้อมูล: กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ฝากกดติดตาม กดไลค์ คอมเม้นต์ เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ ❤️❤️
#ohmygod
โฆษณา