10 มี.ค. 2020 เวลา 14:07 • ประวัติศาสตร์
รู้จัก “ศาสนาซิกข์” แบบรวบรัด ผ่านเลนส์ประวัติศาสตร์ ( Sikhism or Sikhi )
ณ ย่านการค้าถนนพาหุรัด ย้อนไปร้อยกว่าปี
‘เจาะเวลาหาอดีต’ พาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับกลุ่มคนต่างชาติ กลุ่มพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในประเทศไทย เรียกตัวเองว่า “คนซิกข์”
ศาสดาทั้ง 10 พระองค์
ได้มีข้อมูลการบันทึกเกี่ยวกับชาวซิกข์
บนประวัติศาสตร์ไทย คือ ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4
ชาวซิกข์เคยเป็นเจ้าหน้าท่ีตำรวจชุดแรกๆ
ที่เดินตรวจตราถนนหนทางในพระนคร
เพื่อรักษาความปลอดภัยของประชาชน
พลตระเวณ(ตำรวจ)
หลักฐานอีกสองชิ้นจากจดหมายกราบบังคมทูลของกรมหลวงนเรศร์วรฤทธ์ิทรงมีการกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแจ้งจำนวนชาวอินเดียท่ีเข้ามารับราชการในสยาม และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะเสด็จประพาสเมืองภูเก็ต
ได้ทรงบันทึกถึงตำรวจซิกข์ท่ีมารับเสด็จ
แสดงให้เห็นว่า ชาวซิกข์เข้ามาในประเทศไทยมากกว่า 100 ปีมาแล้วและเข้ามาเป็นพลตระเวณ(ตำรวจ)ก่อนและอีกส่วนก็เข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย
และในสมัยรัชกาลที่ 5 นี่เองที่ ชาวซิกข์จากภูมิภาคปัญจาบ ประเทศอินเดียได้เข้ามาอีกครั้งหน่ึงในฐานะพ่อค้าและอีกประการหน่ึงคือ การลี้ภัยอพยพมาจากความยากลำบากในประเทศของตนเอง
โดยเข้ามาอาศัยบริเวณด้านหลังตึกแถวซึ่งเป็นเรือนไม้ให้เช่าบนถนนพาหุรัดและบริเวณโดยรอบสี่แยกพาหุรัด ชาวซิกข์ได้ประกอบ อาชีพค้าผ้าและสินค้านำเข้าจากอินเดีย
ภาพเก่าย่านพาหุรัด
นอกจากมีร้านค้าแล้วบางส่วนก็ทำการค้าแบบพ่อค้าเร่ ขายสินค้าผ้า ไปตามแหล่งต่าง ๆ การค้านั้นมีแบบเงินสดและเงินผ่อน เมื่อมีชาวซิกข์เพิ่มขึ้นจึงมีการสร้างศาสนสถานในปี พ.ศ. 2456 โดยการเช่าบ้านไม้หลังหนึ่ง บริเวณถนนพาหุรัด
ภาพเก่าย่านพาหุรัด
จากนั้นซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างเป็นศาสนสถานถาวร ใน พ.ศ. 2475 และให้ชื่อว่า
“ศาสนสถานคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา”
คุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา ที่พาหุรัด
ศาสนาซิกข์ถือเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่ มี
ต้นกำเนิดในแควันปัญจาบ ประเทศอินเดีย เมื่อราว 500 ปีก่อน โดยคุรุนานักเทพ
ศาสดาองค์แรกของศาสนาชิกข์เป็นผู้ก่อตั้ง
คำว่า "ชิกข์" เป็นภาษาปัญจาบี ตรงกับ
ภาษาสันสกฤตว่า ศิษยะ แปลว่า ”ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์” และมีความหมายใกล้เคียงกับคำภาษาบาลีว่า ‘สิกขะ’ ชึ่งหมายถึงการศึกษา เล่าเรียน
คุรุนานัก ศาสดาองค์แรก
โดยรวมแล้วคำว่า ‘ชิกข์’ จึงหมายถึง
ศิษย์ หรือ ผู้ศึกษาเล่าเรียน ดังนั้นชาวซิกข์จึงมีฐานะเป็นศิษย์ของคุรุหรือศาสดาของศาสนาซิกข์ทุกองค์ ซึ่งมีทั้งสิ้น 10 องค์
ศาสดาทั้ง 10 พระองค์
เรียงตามลำดับได้แก่
- คุรุนานักเทพ
- คุรุอังคัดเทพ
- คุรอมัรคาส
- คุรุรามดาส
- คุรุอัรยันเทพ
- คุรุฮัรโควินท์
- คุรุฮัรหราย
- คุรุฮัรกิษัน
- คุรุตกบฮาคูร
- ศาสดาองค์สุดท้าย คุรุโควินท์สิงห์
1
เมื่อสิ้นศาสดาคุรุโควินท์สิงห์แล้ว ก็มิได้มี
การแต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นศาสดาอีก แต่ให้ถือเอา ’พระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ชาฮิบ’ เป็นพระศาสดานิรันดรแห่งศาสนาซิกข์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
พระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ชาฮิบ
พระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ชาฮิบ (เดิมชื่อพระคัมภีร์อาทิครันถ์) จัดทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1604 (พ.ศ. 2147) โดยศาสดาองค์ที่ 5 คุรุอัรยันเทพ นับเป็นคัมภีร์เล่มแรกของศาสนาชิกข์ ภายในรวบรวมคำสอนของศาสดาองค์ก่อนๆ ตั้งแต่ศาสดาคุรุนานักเทพจนถึงตัวท่านเอง
ภายหลังศาสดาองค์ที่ 10 คุรุโควินท์สิงห์ได้รวบรวม’พระมหาคัมภีร์อาทิครั้นถ์’ เพิ่มเติมอีกครั้ง โดยเพิ่มเติมหลักธรรมคำสอนและบทสวดพระวัจนะของศาสดาองค์ที่ 9 คุรุตกบฮาดูร ผู้เป็นบิดา ส่วนหลักธรรมคำสอนและบทสวดพระวัจนะของตนนั้น ถูกรวบรวมไว้ในพระคัมภีร์อีกเล่มหนึ่ง ชื่อว่า ‘พระคัมภีร์สมครันถ์’
นอกจากนี้องค์ศาสดาคุรุโควินท์สิงห์ยัง
ได้บัญญัติข้อปฏิบัติหรือศีล 5 ประการสำหรับผู้นับถือศาสนาชิกข์ ได้แก่
ภาพจาก: https://medium.com/mistreatment-of-sikhs/who-are-the-sikhs-41767e704834
1.เกศา (Kesh) การไว้ผม หนวดและเครา จะ
โกนไม่ได้
2.กังฆา (Kangha) คารพกหวีเสียบหรือปักไว้ที่ผมเสมอ ขาดไม่ได้เพราะเป็นของคู่กันกับผม
3.การา (Kara) การสวมกำไลเหล็กที่ข้อมือ
4.กิรปาน (Kirpan) การพกดาบประจำตัว
5.กฉา (Kachehra) การนุ่งกางเกงขาสั้นไว้ข้างในเป็นประจำ
ปัจจุบันศาสนาชิกข์มีศูนย์กลางอยู่ที่
เมืองอมฤตสรา แคว้นปัญจาบ ประเทศ
อินเดีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ "สุวรรณวิหาร"
สุวรรณวิหาร ภาพจาก: https://travel.thaiza.com/foreign/244831/
ส่วนชาวซิกข์นั้นก็มีถิ่นฐานกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ สิงคโปร์ ฮ่องกง และรวมทั้งประเทศไทยด้วย
ภาพจาก: http://www.banglamungdistrict.go.th/?page=activity&no=775
สำหรับชาวชิกข์ในประเทศไทย เมื่อวันสำคัญทางศาสนาเวียนมาถึง ชาวซิกข์ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดมักจัดศาสนกิจเฉลิมฉลอง ณ ‘ศาสนสถานคุรุดวรา’
ประกอบด้วยการสวดภาวนาพระมหาคัมภีร์
คุรุครันถ์ชาฮิบ เวลาเช้าและค่ำมีการชุมนุมเจริญธรรม (ขับร้องสวดภาวนาสรรเสริญคุณพระผู้เป็นเจ้า และบรรยายพระธรรมโดย ศาสนาจารย์) ภายในคุรุดวารา และเลี้ยงอาหารแก่ศาสนิกชนทุกศาสนาที่มาร่วมชุมนุมเจริญธรรม
เผื่อผู้สนใจหลักคำสอนของศาสนาซิกข์นะครับลิงค์ด้านล่างครับผม
ในตอนหน้าๆ นู้นๆ ‘เจาะเวลาหาอดีต’
จะนำบทความเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ บนหน้าประวัติศาสตร์ไทยแบบรวบรัด มาฝากให้ท่านผู้อ่านเรื่อยๆนะครับ อย่าลืมติดตามกันนะครับ
กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังใจด้วยนะ
🙏🙏❤️❤️
โฆษณา