11 มี.ค. 2020 เวลา 14:13 • ประวัติศาสตร์
รู้จัก ”ศาสนาพราหมณ์” ผ่านเลนส์ประวัติศาสตร์ ทำไมหนอ! ในราชสำนักถึงต้องมีพราหมณ์มาแต่โบราณ
1
‘เจาะเวลาหาอดีต’นำพาท่านผู้อ่านย้อนบรรพกาลไปดูในอดีตว่าด้วยเรื่องของ”พราหมณ์”
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน ในดินแดนนี้เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์จนได้รับการเรียกขานว่า "สุวรรณภูมิ" หรือ "แผ่นดินทอง"
1
มีการตั้งถิ่นฐานและก่อเกิดอารยธรรมมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน แต่ละบ้านแต่ละเมืองแต่ละอาณาจักร มีพัฒนาการที่เจริญรุ่งเรือง และดับสูญไปตามกาลเวลา
1
เนื่องจากที่ตั้งของดินแดนสุวรรณภูมิเป็นทำเลที่เหมาะแก่การเป็นจุดแวะพักของเรือสินค้า ทั้งที่มาจากทางด้านตะวันออกและด้านตะวันตก ทำให้สุวรรณภูมิเป็นชุมทางแห่งการค้าขาย ไม่เพียงเท่านั้นลัทธิความเชื่อทางศาสนาจากแดนไกล โดยเฉพาะจากอินเดียแหล่งอารยธรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้แพร่หลายเข้ามาตามเมืองท่าต่างๆ จนเกิดการหลอมรวมเข้ากับความเชื่อที่มีมาแต่ดั้งเดิมของดินแดนนี้
ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งหลอมรวมลัทธิความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา โดยมี
ศาสนาพุทธเป็นแกนหลักที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตมากที่สุด นั้นก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าลัทธิเคารพธรรมชาติ ผีบรรพบุรุษ และผีสางเทวดา อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมยังคงอยู่
รวมไปถึงคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่มาจากอินเดียก็ยังคงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของพิธีกรรมเพื่อความศักสิทธิ์ ยังคงมีให้เห็นดังเช่นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับราชสำนักและสถาบันพระมหากษัตริย์
อิทธิพลลัทธิความเชื่อและศาสนาที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียแพร่หลายเข้ามายังดินแดนที่เป็นประเทศไทยในอดีต โดยมากมักจะมาพร้อมกับเรือสินค้าที่เข้ามายังเมืองท่าต่างๆ
ดังนั้นบ้านเมืองที่เป็นเมืองท่าสำคัญที่มีการติดต่อกับภายนอกไม่ว่าจะเป็นเมืองนครปฐม เมืองตรัง เมืองไชยา และเมือนครศรีธรรมราช
จึงเป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญ โดยเฉพาะเมืองนครศรีรรมราชนั้น ในปัจุบันยังคงมีโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนพราหมณ์ และยังคงมีตระกูลที่สืบเนื่องมาจากพราหมณ์อยู่หลายตระกูล
นครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ และอาจจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองก่อนพุทธศตวรรษที่ 15-16 ขึ้นไป ถือได้ว่านครศรีธรรมราชมีฐานะเปรียบเสมือนเมืองหลวงของเมืองใหญ่น้อยในคาบสมุทรมลายูเป็นเมืองประวัติศาสตร์และเมืองที่มีวัฒนธรรม
และมีอิทธิพลด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปกรรมต่อเมืองต่างๆในภูมิภาคนี้
หอพระอิศวร เทวสถาน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตลอดจนราชอาณาจักรที่เติบโตขึ้นมาภายหลัง เช่น สุโขทัย และอยุธยา ด้วยเหตุที่นครศรีธรรมราชมีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ และมีตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
อันเหมาะสมคือ ตั้งอยู่กึ่งกลางคาบสมุทรมลายู มีชายฝั่งทะเล และมีอ่าวที่เหมาะแก่การจอดเรือสินค้า
จึงพัฒนาขึ้นเป็นเมืองท่าทางการค้าที่สำคัญ การค้าขายติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเลอันได้แก่ จีนและอินเดีย ทำให้ชุมชนพื้นเมืองได้รับอิทธิพลทางอารยธรมและศาสนาจากภายนอก ผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม
จนกระทั่งมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์
การติดต่อค้าขายระหว่างดินแดนสุวรรณภูมิกับอินเดียมีมาเป็นเวลาช้านาน ดังมีหลักฐานเป็นโบราณวัตถุ อันเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ เทวรูป และศิวลึงค์ และในปัจจุบันนครศรีธรรมราชยังคงมีเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ มีเสาชิงช้า ตลอดจนมีตระกูลพราหมณ์ที่สืบสายสกุลมาจากพราหมณ์อินเดียฝ่ายใต้สืบทอดศาสนาพราหมณ์และวัฒนธรรมประเพณีมายาวนาน
• ศาสนาพราหมณ์ที่มาแห่งคติเทวราชา •
1
อิทธิพลความเชื่อของศาสนาพราหมณ์มีส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบการปกครองของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชิดชูความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในฐานะผู้ปกครองตามลัทธิเทวราชา เพราะถือว่ากษัตริย์เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า ซึ่งสอดคล้องกับฐานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชอำนาจในการปกป้องและคุ้มครองให้อาณาประชาราษฎร์อยู่ร่มเย็นเป็นสุข อันเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
แต่เดิมนั้นพระมหากษัริย์ทรงมีพระราชภารกิจในการเช่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่บนภูเขานอกเมืองเพื่อให้คุ้มครองเมืองไม่ให้เกิดภัยอันตราย ดังที่พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยบูชาพระขพุงผีที่สถิตอยู่บนภูเขานอกเมือ
เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขแก่บ้านเมือง
3
เมื่อพราหมณ์ที่นับถือพระอิศวรเข้ามาเผยแผ่ศาสนาและความเชื่อเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ จึงไม่ขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่มีอยู่ และปรัชญาแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ยังให้ความศักดิ์สิทธิ์แก่สถาบันกษัตริย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข
1
จึงเกิดการหลอมรวมแนวคิคทั้งสองเข้าด้วยกัน ทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทวราช ถือว่า พระมหากษัตริคือตัวแทนของเทพเจ้าในโลกมนุษย์ แนวคิดเทวราชาจึงปรากฎเป็นรูปรรรมอย่างชัดเจนในสมัยอยุธยา
1
ในสมัยอยุธยาพราหมณ์จึงมีความสำคัญมากในราชสำนักและเป็นผู้ที่รับใช้ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ หน้าที่หลักของพราหมณ์คือ การเป็นปุโรหิต ให้คำปรึกษาราชการ เป็นครูผู้สอนศิลปวิทยาการ เป็นโหราจารย์ถวายคำพยากรณ์และถวายพระฤกษ์ในการประกอบพระราชพิธีต่างๆ
และเนื่องจากพราหมณ์เป็นผู้รอบรู้เชี่ยวชาญคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ พราหมณ์ราชสำนักในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงมีหน้าที่เป็นผู้พิจารณา
ชี้ตัวบทกฏหมายในคดีต่างๆ แต่ไม่มีอำนาจในการบังคับคดี พราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีทั้งสิ้น 12 คน
โดยมีพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรเป็นหัวหน้า
1
ความสำคัญของพราหมณ์เห็นได้จากการกำหนดศักดินาให้แก่พระมหาราชครู ซึ่งมีอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ
- “พระมหาราชครูพระครูมหิธรรรรมราชสุภาวดีศรีวิสุทธิคุณวิบูลธรรมวิสุทธิพรมจาริยาธิบดีศรีพุทธาจารย์”(ชื่อและยศยาวมากครับ)
เป็นพระมหาราชครูฝ่ายลูกขุน ณ ศาลหลวง
1
- ”พระมหาราชครูพระราชประโรหิตาจารย์ราชสุภาวดีศรีบรมหงษองคบุริโสดพรหมญาณวิบุลสิลสุจริตวิวิทธเวทพรหมพุทธาจารย์”
(ชื่อและยศยาวมากครับ) ซึ่งเป็นพระมหาราชครูฝ่ายพราหมณ์ปุโรหิต
2
ทั้งสองตำแหน่งมีศักดินา 10,000 เท่ากัน
ซึ่งเทียบท่ากับ ออกญา หรือ พระยา ตำแหน่งสูงสุดของเสนาบดีชั้นสูงของสมัยอยุธยาเลยทีเดียว
• พิธีกรรมแห่งพราหมณ์ •
ลัทธิความเชื่อในตามศาสนาพราหมณ์มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้พระมหากษัตริมีสถานะที่สูงส่งดุจดังเทพเจ้า ทำให้พราหมณ์มีอิทธิพลต่อพิธีกรรมในราชสำนักเป็นอย่างมาก โดยรับแบบอย่างมาจากอาณาจักรขอมที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนหน้าและอาจจะเนื่องด้วยพิธีกรรมที่ประกอบขึ้น เนื่องในวาระสำคัญต่างๆ ล้วนเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ เต็มไปด้วยขั้นตอนและพิธีการที่เข้มงวด
1
ทำให้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมฐานะของพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นพระราชพิธีที่สำคัญที่สุดในบรรดาพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นการสถาปนาบุคคลให้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นองค์สมมุติเทพที่จะรับภาระแทนทวยเทพ ในการเป็นเสาหลักและ
ที่พักพิงแก่สรรพสัตว์บนโลกมนุษย์ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
2
นอกจากนี้แล้วยังมีพิธีกรรมในพระราชประเพณีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธีขึ้นพระอู่ พระราชพิธีโสกันต์ (ตัดจุก) และพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ตลอดจนพระศพของเจ้านายในพระราชวงศ์
พิธีกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพิธีกรรมซึ่งมีที่มาจากศาสนาพราหมณ์ และมีระเบียบขั้นตอน ตลอดจนองค์ประกอบที่สืบเนื่องมาจากเทพปกรณัมในศาสนาพรหมณ์ เช่น การสร้างเขาพระสุเมรุเพื่อประกอบในพระราชพิธี
การใช้สิ่งอันเป็นมงคลต่างๆ ตามคติพราหมณ์ประกอบในพิธี เช่น ใช้สังข์ในการรดน้ำในพิธีกรรมต่างๆ ใช้หญ้าคาในการปูลาดพระที่นั่งภัทรบิฐในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
นอกจากพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของพระมหากษัริย์และพระราชวงศ์แล้ว ในแต่ละเดือนมีพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ที่ราชสำนักจะต้องปฏิบัติเป็นพิธีกรรมแห่งรัฐ เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง
ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมด้านกำลังขวัญกำลังใจ ในคราวที่บ้านเมืองจะต้องรบเพื่อรักษาเอกราชจากอริราชศัตรู และในบางเดือนเมื่อไม่มีกิจอันเกี่ยวเนื่องกับคติพราหมณ์
ได้มีการประกอบพระราชพิธีอันเนื่องมาจากพุทธศาสนาแทน พระราชพิธีแห่งรัฐเหล่านี้ ได้แก่ "พระราชพิธี 12 เดือน"
พระราชพิธีทั้ง 12 เดือน ปรากฎในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราขึ้นในสมัยอยุธยา
พระราชพิธีตรียัมปวาย
พระราชพิธีหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากทั้งต่อศาสนาพราหมณ์ และคติความเชื่อที่มีต่อ
ความมั่นคง และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง คือพระราชพิธีตรียัมปวาย เป็นต้น
พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีในเดือนอ้ายอันถือเป็นเดือนแรกของปีตามคติพราหมณ์ และเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหาเทพ 3 องค์ ซึ่งเป็นที่นับถือสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ คือ
- พระพรหม (ผู้สร้าง)
- พระนารายณ์(ผู้ปกปักรักษา)
- พระอิศวร (ผู้ทำลาย เพื่อสร้างใหม่)
• ความเชื่อ •
ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่าความหลุดพ้นคือ
“ปรมาตมัน” คล้ายกับการนิพพานแต่ต่างกันตรงที่ปรมาตมันคือ การกลับไปหาองค์พรหม หมายถึง จักรวาลผู้ให้กำเนิดองค์พรหมนั้นคู่กับพระแม่สรัสวดี ซึ่งเป็นพระแม่แห่งศาสตร์และความรู้ทั้งปวงโดยใช้ “ยชุรเวท” หมายถึงการร่ายมนต์หรือการสั่งสอน การคู่กันของพระพรหมและพระแม่สรัสวดีในที่นี้หมายถึงการสร้างสมดุลเพื่อให้เกิด “ปรมาตมัน”
คือการกลับไปสู่จักรวาลหรือการกลับคืนสู่ความว่างเปล่า
พราหมณ์นั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกนั้นจะแบ่งแยกเป็นนิกายคือ “พวกไศวนิกาย” จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน
อีกนิกายหนึ่งคือ “ไวษณวะนิกาย” จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆ ตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน
พราหมณ์ในอินเดียนั้นต่างกับพราหมณ์ในประเทศไทยหลายประการ เพราะพราหมณ์ในประเทศไทยไม่เข้มงวดในระบบวรรณะ ไม่ได้วางตนว่าอยู่ในวรรณะสูงกว่าแต่อย่างใด เป็นต้น โดยเฉพาะพราหมณ์ในราชสำนักไทยมีหน้าที่ถวายงานแด่พระมหากษัตริย์
• ประเภทของพราหมณ์ในราชสำนัก •
พราหมณ์ในพระราชสำนักมีการแบ่งประเภทตามความชำนาญในด้านต่าง ๆ ตามความรู้ในคัมภีร์พระเวทตามศาสนาพราหมณ์ดังนี้
1. พราหมณ์โหรดา เป็นพราหมณ์ที่มีความชำนาญในคัมภีร์ฤคเวท ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำนายทายทักเรื่องราวต่างๆ รวมถึงโชค ลาง และฤกษ์งามยามดี
1
2. พราหมณ์อรรถวรรยุ เชี่ยวชาญคำภีร์ยชุรเวท
1
3. พราหมณ์อุทาคาดา เชี่ยวชาญคัมภีร์สามเวท ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสดุดีสังเวย และเครื่องดนตรีสำคัญในพระราชพิธี
1
4. พราหมณ์พรหมหมัน เชี่ยวชาญคัมภีร์อาถรรพเวท
1
พราหมณ์ในราชสำนักสมัยกรุงศรีอยุธยามีการแบ่งประเภทของพราหมณ์ตามความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่
สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. พราหมณ์โหราจารย์ ทำหน้าที่บูชา และทำนายโชคลาง ฤกษ์ เป็นต้น
2. พราหมณ์อุทาคาดา ทำหน้าที่สวดและขับดุษฎีสังเวย หรือสวดคาถาในพระราชพิธี
3. พราหมณ์อรรถธวรรยุ ทำหน้าที่ประกอบพิธี
4. พราหมณ์พรหมา คือผู้เชี่ยวชาญในการประกอบพิธีกรรม และคำสอนของศาสนา
โดยแบ่งหน้าที่ในราชสำนักดังนี้
- พราหมณ์ในศาล
- พราหมณ์ผู้ประกอบพระราชพิธี
- พราหมณ์ในกรมคชบาล
พราหมณ์ในราชสำนักกรุงรัตนโกสินตอนต้นแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1. พราหมณ์พระราชพิธี ทำหน้าที่สืบทอดธำรงรักษาและประกอบพระราชพิธีต่างๆ ในราชสำนัก คือพวกที่มาจากนครศรีธรรมราช
2. พราหมณ์โหรราจารย์ หรือพราหมณ์ปุโรหิต ทำหน้าที่เป็นโหรประจำราชสำนักถวายฤกษ์ยามที่ดีในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ รวมทั้งถวายคำทำนายทางโหราศาสตร์
1
3. พราหมณ์พฤฒิบาศ คือพราหมณ์ที่ทำหน้าที่ดูแลกรมช้าง และพิธีกรรมเกี่ยวกับการคล้องช้าง มาจากเมืองเขมร
• มหาเทพ •
พระพรหม
มหาเทพองค์แรก คือ”พระพรหม”
เทพผู้สร้าง ประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งทั้งสี่นี้มีประจำอยู่ในองค์พระพรหม ทางพระพุทธศาสนาจึงได้เรียกว่าพรหมวิหาร 4 คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม ใครจะตั้งความเพียรบำเพ็ญตบะแล้วขอพรต่อพระพรหมจะได้รับพรเสมอ
มหาเทพองค์ที่สอง คือ “พระวิษณุ” หรือ
“พระนารายณ์” ในสมัยพระเวทพระองค์เป็นภาคแสดงของพลังดวงอาทิตย์ ได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้ก้าวไปมาระหว่าง 7 โลกธาตุของจักรวาลด้วยการก้าวเท้าเพียง 3 ก้าว
ได้รับการกล่าวถึงในการต่อสู้กับอำนาจชั่วต่างๆ
พระนารายณ์
เมื่อใดที่โลกถูกอำนาจที่ไม่เป็นธรรมเข้าครอบงำ พระวิษณุจะอวตารลงมาในโลกมนุษย์ในรูปของปางต่างๆ เพื่อปราบสิ่งชั่วร้ายเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ได้ทรงอวตารมาเป็นพระรามเพื่อปราบทศกัณฐ์
มหาเทพองค์ที่สามในตรีมูรติ คือ
“พระอิศวร” ในคัมภีร์ศิวปุราณะ พรรณนาคุณลักษณะของพระอิศวรว่าเป็นมหาเทพผู้ทำลาย ผู้ทำให้เกิดใหม่ หรือผู้สร้างสรรค์ เป็นมหาโยคี และเป็นนาฎราช
พระอิศวร
การทำลายของพระอิศวร หมายถึง การที่ทรงมีพลังอำนาจทำให้สิ่งทั้งหลายแตกสลายหรือ
เปลี่ยนแปลงจากรูปลักษณ์หนึ่งไปสู่อีกรูปลักษณ์หนึ่ง
ศิวนาฎราช
นอกจากนั้นในศาสนาพราหมณ์ยังถือว่าพระองค์เป็นต้นกำเนิดของนาฏศิลป์ ท่าร่ายรำต่างๆ ที่เป็นท่ามาตรฐานในวัฒนธรรมอินเดีย ดังที่ปรากฏเป็นเทวรูปพระอิศวรเรียกว่า
‘ศิวนาฎราช’ กรณีศิวนาฎราชนี้อีกตำนานหนึ่ง
เกิดจากเมื่อพระอิศวรทรงตีกลองทำให้โลกสะเทือนเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ เมื่อพระองค์ทรงเคลื่อนไหวพระวรกายไปตามจังหวะกลองระบบสุริยจักรวาลจึงเกิดขึ้น การที่พระอิศวรผู้ร่ายรำหรือศิวนาฏราช จึงเป็นแหล่งพลังงานของจักรวาล
นาฏศิลป์อินเดีย
เมื่อพระพรหมสร้างโลก สร้างมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ในโลกแล้ว พระอิศวรทรงประสงค์
จะตรวจสอบด้วยพระองค์เองว่าโลกที่สร้างขึ้นนั้นแข็งแรงหรือไม่ โดยการเสด็จมายังโลก แต่ทรงเกรงว่าโลกนั้นจะยังไม่แข็งแรงพอ ไม่อาจทานทนต่อฤทธานุภาพของพระองค์ได้ จึงเสด็จลงเหยียบโลกด้วยพระบาทเดียว
จากนั้นจึงทรงให้พญานาคอันทรงฤทธิ์ใช้ลำตัวยึดขุนเขาทั้งสองที่คั่นตัวด้วยหาสมุทร แล้วไกวตัวเพื่อทดสอบความแข็งแรงของโลก
โล้ยื้อฉุดขุนเขาสองฝั่งมหาสมุทรดู
ผลปรากฎว่าเมื่อพญานาคไกวตัวพระอิศวรยังทรงยืนอยู่ได้ แสดงว่าโลกมีความมั่นคงแข็งแรงดี ยังความโสมนัสแก่พระอิศวร พญานาคทั้งหลายพากันยินดี ต่างลงสู่สาครใหญ่
เล่นน้ำเฉลิมฉลองเป็นที่สนุกสนานนี่คือที่มาของการโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย
พราหมณ์ได้สร้างเสาชิงช้าขึ้น
โดยสมมุติว่าเสาชิงช้าคือขุนเขาทั้งสอง แล้วตั้งขันสาครบรรจุน้ำเบื้องหน้าเสาชิงช้าระหว่างกลางเสาทั้งสองแทนมหาสมุทร มี’นาลิวัน’
สวมครื่องประดับศีรษะรูปพญานาค สมมุติเป็นตัวแทนพญานาค ขึ้นไปโล้กระดานที่ขึง
ไว่กับเสาชิงช้า ดุดังพญานาคกำลังไกวระหว่างขุนเขาทั้งสอง มีเจ้าพระยาพลเทพ เป็นพระยายืนชิงช้า สมมุติว่า คือพระอิศวร เป็นประธานของการไกวชิงช้า
1
มีการรำเสนงรอบชันสาครโดยผู้ที่รำเสนงถือเขาโควักน้ำจากขันสาครและทำการสาดไปรอบๆ เปรียบเสมือนพญานาคมาแสดงความยินดี พ่นน้ำถวายพระอิศวร เหล่าเทพก็มาเข้าเฝ้าพระอิศวร มีการสร้างแผ่นไม้หลักภาพพระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระอาทิตย์ พระจันทร์ ขุดหลุมปักแผ่นไม้ สมมุติว่าเทพเหล่านั้นลงมาเฝ้าพระอิศวร
• เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ •
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2327 ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ก่ออิฐถือปูนมีกำแพงล้อมรอบ เทวสถานทั้ง 3 หลังประกอบด้วย สถานพระอิศวร สถานพระพิฆเณศ และสถานพระนารายณ์
รวมทั้งสร้างเสาชิงช้า ขึ้นเมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำเดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ. 2327 ตามโบราณราชประเพณี
สถานพระอิศวร มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อสูงด้วยอิฐถือปูน มีเทวรูปปูนปั้นพระอิศวรและพระอุมาประทับอยู่ในวิมาน และมีเครื่องมงคลอันได้แก่ สังข์ กลศ กุมภ์ ภายในเทวสถานประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรสำริด ประทับยืนขนาด 1.87 เมตร ปางประทานพร ด้านหลังเบญจามีศิวลึงค์ 2 องค์ ทำด้วยหินสีดำ สองข้างแท่น มีเทวรูปพระอิศวรทรงโคนันทิ และพระอุมาทรงโคนันทิ ตรงกลางโบสถ์มีเสาชิงช้าขนาดเล็ก สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมปวาย
ภาพจาก: https://siamrath.co.th/n/46071
สถานพระพิฆณศวร (โบสถ์กลาง) สร้างด้วยอิฐถือปูนมีพาไล(โถงต่อจากเรือนเดิม)
ทั้งหน้าและหลัง หลังคา 1 ชั้น ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฒเณศวร 5 องค์ สร้างด้วยหินแกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว
2 องค์ และสำริดอีก 1 องค์ ประทับนั่งทุกองค์ ประดิษฐานบนแท่นเบญจา
สถานพระนารายณ์ (ด้านในสุด) สร้างด้วยอิฐถือปูนมีพาไล(โถงต่อจากเรือนเดิม)ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเช่นเดียวกับ
สถานพระพิฆณศวร ภายในเป็นชั้นยกตั้งบุษบก 3 หลัง หลังกลางประดิษฐานพระนารายณ์ทำด้วยสำริด ประทับยืน เป็นประธาน บุษบกอีก 2 ข้าง ประดิษฐานพระลักษมีและพระมเหศวรี ทำด้วยปูน ประทับยืน ซึ่งเป็นองค์จำลองของเดิม ซึ่งได้ย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตรงกลางโบสถ์มีเสาชิงช้าขนาดย่อมสำหรับประกอบพิธีช้าหงส์
หลัง พ.ศ.2475 พระราชพิธีของพราหมณ์ได้ถูกยกเลิกไปแทบทั้งหมด จะเห็นได้จากสื่อเพียงพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญและพระราชพิธีบางอย่างเท่านั้น ส่วนพระราชพิธีตรียัมปวาย บริเวณเสาชิงช้าไม่ได้ถูกยกเลิกไป เพียงแต่เปลี่ยนสถานที่ไปทำพิธีในเทวสถานเเทน ปัจจุบันประชาชนจึงไม่มีโอกาสได้เห็นพิธีโล้ชิงช้า หรือ พระราชพิธีตรียัมปวาย อันยิ่งใหญ่เหมือนครั้งในอดีต
2
กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังให้กัน
🙏🙏❤️❤️ขอบคุณครับ❤️❤️
โฆษณา