11 มี.ค. 2020 เวลา 01:23 • ข่าว
Morning News and Analytics : สรุปประเด็นสำคัญเช้านี้
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
1. สหรัฐฯ กำลังเร่งช่วยเหลือเศรษฐกิจที่ถูกโจมตีโดย coronavirus
สหรัฐมีรายงานว่าโรค coronavirus เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำเนียบขาวและสภาคองเกรส ได้มีการเรียกประชุมด่วนเพื่อปรึกษาเรื่องมาตรการต่าง ๆ ในการหนุนเศรษฐกิจสหรัฐและค่าจ้างของชาวอเมริกัน เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาด
ตัวเลขผู้ป่วยในสหรัฐขณะนี้อยู่ที่ 975 ราย มากเป็นอันดับที่ 8 ของโลก และมีผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 30 ราย โดยข้อมูลล่าสุดระบุว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 271ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 4 รายจากวันก่อนหน้า
ข้อมูลที่น่าตกใจคือตอนนี้ Coronavirus ได้แพร่ระบาดถึงพื้นที่ 3 ใน 4 ของรัฐทั้งหมดในอเมริกา (เกือบทั้งประเทศ) ซึ่งทางรัฐบาลวอชิงตันออกมาย้ำเตือนว่าจะมีผู้ติดเชื้ออีกหลายพันคนถ้ายังไม่มีมาตรการจัดการอย่างจริงจัง. (คำถาม : ตอนนี้ยังไม่จริงจังกันอีกหรือ ?)
ตอนนี้ได้มีการปรึกษาหารือกันอย่างจริงจังในทำเนียบขาว โดยสมาชิกพรรคทั้งสองฝ่าย เพื่อหาแนวทางออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากกว่าเดิม (คำถาม : เอาแค่ในช่วงไม่นานที่ผ่านมานี้ อเมริกากระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วกี่ครั้ง ?)
Steven Mnuchin รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวว่า "แน่นอนว่าตอนนี้ไม่ว่าจะพรรคฝ่ายค้านพรรครัฐบาลต่างร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มที่ในการทำให้ทุกอย่างดีขึ้นโดยเร็ว เพื่อที่จะเยียวยาชาวอเมริกัน รวมถึงบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดในวิกฤตครั้งนี้"
(ข้อสังเกต : อันนี้ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน แต่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอเมริกาหลุดปากยอมรับออกมาเองแล้ว ว่าคนที่เดือดร้อนที่สุดก็คืออเมริกา โป๊ะ!)
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นทันทีหลังจากมีข่าวออกมา ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2561 ด้วยความหวังของนักลงทุนว่าจะมีการออกมาตรการต่าง ๆ มาช่วยเหลือเศรษฐกิจในขณะนี้ ดัชนี 3 ตัวหลักของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกือบ 5% หลังจากก่อนหน้านั้นร่วงมามากที่สุดตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
(ข้อควรคิด : จะเห็นได้ว่าในช่วงนี้ตลาดหุ้นผันผวนสุด ๆ จากเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้น ผลกระทบทางเศรษฐกิจตอนนี้ซับซ้อนมากในการประมาณความเสียหายที่กำลังจะเกิดขึ้น)
ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ฝ่ายค้านกำลังท้าทายความสามารถในการบริหารของทรัมป์อย่างเต็มที่ ด้วยความกดดันที่ว่าผู้คนกำลังได้รับผลกระทบจาก Coronavirus ซึ่งมาตรการใด ๆ ก็ตามที่จะปรับใช้ต้องได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกทั้ง 2 ฝ่ายก่อนที่จะส่งให้ทรัมป์เซ็นต์
โดยมาตรการที่ว่านี้อาจรวมถึง "การลดหย่อนภาษีเงินเดือน" มากถึง 300 Billion Dollar หรือ 3 แสนล้านดอลลาร์ (เยอะมาก ๆ) โดยกล่าวว่ามาตรการนี้จะช่วยให้ผู้คนสามารถจ่ายค่าเช่า ค่าจำนอง ค่ารักษาพยาบาล และผลกระทบอื่น ๆ จาก Coronavirus
2. บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ กำลังเดือดร้อนจากนโยบายภาษีของทรัมป์
10 อันดับแรกของประเทศที่ส่งออกอุปกรณ์ก่อสร้างไปยังสหรัฐฯ ได้รับส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 9% ในช่วงปีที่ผ่านมา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันสำหรับผู้ผลิตในสหรัฐฯ เนื่องจากการขึ้นภาษีนำเข้าของทรัมป์ ทำให้ต้นทุนชิ้นส่วนที่นำเข้าและเหล็กเพิ่มขึ้น ตามรายงานของ Reuters ในวันอังคารโดยกลุ่ม IHS
ข้อสังเกตุ : สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า หมายถึงรัฐบาลมีรายได้มากขึ้น แต่ประเทศตัวเองต้องใช้ Supply จากประเทศอื่น คนที่เดือดร้อนที่สุดกลายเป็นผู้ผลิตภายในประเทศตัวเอง)
Source : Reuters
ผลการศึกษาพบว่าตัวเลขการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เติบโตเพียง 1.2% ในปี 2019 ซึ่งน้อยกว่าปีที่แล้วอย่างมากที่ 5.9% นักเศรษฐศาสตร์ของ IHS กล่าวว่า อัตราการจ้างงานที่ชะลอตัวลงนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของภาคก่อสร้างและภาคการผลิต และอีกส่วนหนึ่งมาจากเรื่องภาษี ซึ่งผลการศึกษาระบุว่า "ภาษี" ทำให้การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 3,400 ตำแหน่ง
Terex Corp. เป็นหนึ่งในผู้ที่เลิกจ้างเมื่อปี 2019 ซึ่งมีการปลดทั้งพนักงานชั่วคราวและพนักงานประจำหลายตำแหน่งออกจากบริษัท ซึ่ง CEO ของบริษัท นาย John Garrison ให้เหตุผลว่าการตัดสินใจครั้งนี้เป็นผลมาจากเศรษฐกิจในภาคการผลิตที่อ่อนแอลง
"จากการขึ้นภาษีครั้งนี้ เราทุกคนมองเห็นผลกระทบที่ได้รับรวมกัน เมื่อคู่แข่งต่างชาติมียอดขายสูงกว่าเรา" นาย John Garrison กล่าว "เราจำเป็นต้องกระจายภาษีนี้ออกไป บ้างก็สำเร็จ บ้างก็ไม่ มันนำมาซึ่งความยากลำบากระหว่างเราและลูกค้า"
สำหรับประเทศที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด 2 ประเทศก็คือ Mexico และญี่ปุ่น ซึ่งมีการเติบโตของส่วนแบ่งการตลาดถึง 16% และ 15% จากปีที่แล้วตามลำดับ
นาย Rod Schrader ผู้บริหารของ Komatsu America Corp. ที่มีโรงงานขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ กล่าวว่าบริษัทของเขารักษาลูกค้าไว้ได้โดยการกินต้นทุนของตัวเอง เพื่อแข่งขันในเรื่องการนำเข้า เขากล่าวเพิ่มเติมว่า "มีราคาที่เราต้องแข่งขันในตลาด ดังนั้นเราจึงสั่งให้ภาคการผลิตเร่งลดต้นทุนโดยด่วน"
บริษัทหลายแห่งได้ย้ายฐานการผลิตออกจากสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ตัวอย่างเช่น Husco International Inc. ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อก่อนเป็นผู้นำเข้าและส่งออกไปยังบราซิล จากโรงงานในสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันได้ย้ายฐานการผลิตไปที่ประเทศอินเดียและค่อยส่งออกไปที่บราซิล ซึ่ง Austin Ramirez ซึ่งเป็น CEO ของบริษัทให้เหตุผลสั้น ๆ ว่า "เป็นเพราะภาษี"
3. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ขยายใบอนุญาต Huawei ถึง 15 พฤษภาคม
ทรัมป์กล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่าได้มีการขยายใบอนุญาต ทำให้บริษัท สหรัฐฯ สามารถทำธุรกิจกับ Huawei ของจีนได้จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม (อยู่ ๆ เอาใจจีนซะงั้น)
Source : Reuters
โดยล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาได้ออกใบอนุญาตเพิ่มเติมชั่วคราวและได้ขยายเวลาจนถึงวันที่ 1 เมษายน ให้แก่ Huawei ซึ่งเป็นผู้ผลิต Smart Phone ที่กินส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจาก Samsung)
ก่อนหน้านั้น ในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้ขึ้นบัญชีดำ Huawei โดยอ้างว่าเทคโนโลยีของ Huawei ไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ
แต่ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ กลับต้องขอความเห็นจากภาคเอกชนว่าควรขยายเวลาต่อออกไปอีกหรือไม่ และจะมีผลกระทบอะไรกับบริษัทหรือองค์กรของพวกเขาบ้างหากใบอนุญาตไม่ได้รับการขยายออกไป นอกจากนั้นยังสอบถามเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากใบอนุญาตนี้สิ้นสุดลง (ดูเหมือนเค้าจะเริ่มเครียด ๆ กันแล้วนะครับเนี่ย)
4. ปูตินรับรองข้อเสนอแก้รัฐธรรมนูญ อาจดำรงตำแหน่งได้ถึงปี 2579 !
Vladimir Putin ผู้ซึ่งได้มีข่าวสะเทือนวงการครั้งใหญ่ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่าจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เขาสามารถดำรงอยู่ในตำแหน่งได้นานขึ้น ซึ่งล่าสุด Reuters รายงานว่า ปูตินได้ลงชื่อรับรองข้อเสนอแก้รัฐธรรมนูญต่อสภาล่างรัสเซีย ซึ่งอาจเปิดช่องให้ตัวเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้จนถึงปี 2579
ข้อเสนอแก้รัฐธรรมนูญล่าสุดนี้จะทำให้วาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ผ่านมาทั้งหมดของปูตินเป็น 0 แม้ว่าขณะนี้เขาจะกำลังดำรงตำแหน่งเป็นวาระต่อเนื่องสมัยที่ 2 และเป็นวาระที่ 4 จากวาระทั้งหมดของเขาก็ตาม จากที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ปูตินต้องลงจากตำแหน่งหลังสิ้นสุดวาระในปี 2567
"ในสภาวะที่ประเทศกำลังประสบกับปัญหาและอุปสรรคเช่นนี้ ความมั่นคงมีความสำคัญอย่างมากและจะต้องเป็นเรื่องสำคัญ” เขากล่าวพร้อมเสริมว่ารัสเซียยังคงฟื้นตัวจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปี 2534
นักวิเคราะห์มองว่า หากข้อเสนอล่าสุดผ่านการรับรองจากศาลรัฐธรรมนูญ และผ่านประชามติในเดือนเมษายนนี้ ปูตินอาจเป็นประธานาธิบดีต่อจากวาระปัจจุบันได้อีก 2 สมัย สมัยละ 6 ปี ซึ่งหากชนะการเลือกตั้งได้ทุกครั้ง เขาอาจเป็นประธานาธิบดีได้ถึงปี 2579 ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น เขาจะมีอายุ 83 ปี
Valentina Tereshkova สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติจากพรรค United Russia กล่าวว่า "ประชาชนได้บอกเราในการประชุมเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าพวกเขาต้องการให้ปูติน ดำรงตำแหน่งต่อไป ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญจะเป็นเช่นไรก็ตาม" (คนรักแกเยอะนะครับปูติน)
อย่างไรก็ตามนักการเมืองฝ่ายค้านบางกลุ่มมองว่านี่เป็น "แผนการสืบทอดอำนาจตลอดชีพ" ของชนชั้นสูงอย่างปูติน และการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญ
ปูตินไม่ได้บอกว่าแผนการต่อไปของเขาคืออะไร แต่เขาได้กล่าวว่า "ผมไม่ได้ต้องการให้สหภาพโซเวียตมีผู้นำที่สืบทอดอำนาจ จนตายในห้องทำงาน"
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา