11 มี.ค. 2020 เวลา 04:31 • การศึกษา
"10 จังหวัดที่มีคนจนมากที่สุดในประเทศไทย และเคล็ดวิธีในการจัดการเรื่องการเงินเพื่อตัวเอง"
หากเราจะพูดถึงเรื่องผลการจัดอันดับ 10 จังหวัดที่มีคนยากจนมากที่สุดของประเทศไทย อ้างอิงจากการนับจำนวนจากคนที่ได้รับการสำรวจว่าจน จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และเป็นคนที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐในแต่ละจังหวัด ซึ่งได้รับข้อมูลจาก บิ๊กดาต้า ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
และในวันที่ 5 มีนาคม 2563 ธนาคารโลกแถลงข่าวภาวะความยากจนและความเลื่อมล้ำของประเทศไทย จาก รายงานความยากจนและความไม่เท่าเทียมในประเทศไทย Taking the Pulse of Poverty and Inequality in Thailand ซึ่งได้วิเคราะห์ความยากจนและแนวโน้มความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากสถิติอย่างเป็นทางการของภาครัฐ โดย ดร. เบอร์กิท ฮานส์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของธนาคารโลก และ ดร.จูดี้ หยาง นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกและผู้เขียนรายงานฉบับนี้
ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการลดความยากจนในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ในปี 2560 ประเทศไทยมีอัตราความยากจนสูงที่สุดเพียง 0.03% และจำนวนของคนจนที่รุนแรงที่สุดในขณะนี้มีอยู่เป็นหลักพันคน เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้วอาจมองได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
ในความเป็นจริง ภัยแล้งที่ผ่านมาและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศไทยได้ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ต่างๆ และรายงานข้อมูลล่าสุดแสดงถึงอัตราความยากจนของประเทศไทยท่ามกลางบริบทสภาพแวดล้อมใหม่ และความท้าทายต่างๆที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันด้วย
โดยแบ่งแยกความยากจนออกเป็น 5 มิติ คือ
1.คนจนสุขภาพ
1
2.คนจนความเป็นอยู่
3.คนจนการศึกษา
4.คนจนรายได้
5.คนจนการเข้าถึงบริการของภาครัฐ
โดยแต่ละคนอาจจมีปัญหาได้มากกว่า 1 มิติ มาดูกันว่าจังหวัดไหนจะมีคนจนมากที่สุดกันครับ
1
1.เชียงใหม่
2
2.นครราชสีมา
3.เชียงราย
4.น่าน
5.ศรีสะเกษ
6.บุรีรัมย์
7.อุบลราชธานี
1
8.พิษณุโลก
1
9.อุดรธานี
10.นครศรีธรรมราช
"ผลสำรวจจากสถิติจังหวัดที่มีความสุขมากที่สุด"
ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน แห่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยผลการจัดอันดับจังหวัดแห่งความสุขของประเทศไทย โดยศึกษาตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 12,429 คน ผลการจัดอันดับค่าร้อยละของประชาชนที่อยู่อาศัยในแต่ละจังหวัด พบว่า จังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุด 3 จังหวัด มีดังนี้
อันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
อันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดพังงา
อันดับที่ 3 ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ
2
ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ประชาชนเลือกอยู่ในจังหวัดแห่งความสุขของประเทศไทย เช่น ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ, วิถีชีวิตชาวบ้าน, เป็นเมืองที่สงบ, ผู้คนมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พบว่า จังหวัดที่มีอยู่แล้วความสุขน้อย รั้ง 3 อันดับสุดท้ายของประเทศ มีดังนี้
1
อันดับที่ 75 ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต
อันดับที่ 76 ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ
อันดับที่ 77 ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
4
สำหรับปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้จังหวัดเหล่านี้รั้งท้ายในเรื่องความสุข ได้แก่ มีลักษณะวัตถุนิยมระดับมากถึงมากที่สุด, มีคดีอาชญากรรมสูง, ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนอยู่ในขั้นวิกฤต, มีปัญหายาเสพติด, เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งรุนแรงแตกแยก และสาธารณชนไม่มีความวางใจต่อรัฐบาลและการเมืองท้องถิ่นที่มากพอ เป็นต้น
2
"ผังภาพการจัดอันดับจังหวัดที่มีความสุขมากที่สุด"
"เรามาดู 9 เคล็ดวิธีการออมเงินง่ายๆ สำหรับคนเก็บเงินไม่เก่งบ้างดีกว่า"
1
ข้าวของราคาแพง ค่าใช้จ่ายมีแต่จะเพิ่มขึ้น สินค้าก็มีแต่ขึ้นราคา แต่เงินเดือนไม่ยักขึ้นตาม สุดท้ายก็ต้องกู้หนี้ยืมสิน มีหนี้บัตรเครดิตพ่วงยาวเป็นวา เงินออมไม่ต้องพูดถึงจริงๆ แล้วการออมเงินไม่ได้เป็นเรื่องยากนะครับ บางคนเป็นหนี้อยู่ก็ยังออมเงินได้ เพียงแต่ว่าเราจะต้องตั้งใจทำนิดนึงครับ วันนี้เรามาดู 9 วิธ๊การออมเงินง้ายง่าย เป็นคนเก็บเงินไม่เก่งก็ทำได้
"เก็บก่อนใช้"
วิธีนี้ เป็นวิธีการเริ่มต้นง่ายๆ ของคนอยากมีเงินออมครับ ใครๆ ก็ทำได้ เห็นผลง่าย แต่ต้องบังคับตัวเองไม่ให้เอาเงินส่วนนี้ไปใช้นะครับวิธีการ: เมื่อเงินเดือนออก แบ่ง 10% ของเงินเดือนเพื่อเป็นเงินออมทันที และเงินก้อนนี้เพื่อการออมอย่างเดียวเท่านั้นนะครับ ห้ามเอาออกมาใช้เด็ดขาดส่วนที่เหลือ ก็แบ่งเป็นส่วนๆ เพื่อจ่ายหนี้ จ่ายค่าใช้จ่ายรายเดือนต่างๆ และใช้จ่ายประจำวัน วิธีการออมเงินแบบนี้เป็นวิธีที่จะสามารถช่วยเราสร้างวินัยในการออมเงินได้ครับ
1
"พกเงินน้อยลง"
หากเราเป็นอีกคนที่ใช้เงินเก่ง เก็บเงินไม่เก่ง มีเท่าไหร่ใช้ได้หมดเท่านั้น แปลว่าเราเป็นคนพกเงินเยอะ ก็ใช้เยอะ แล้วถ้าพกเงินน้อยล่ะ? วิธีการ: พกเงินติดตัวจำนวนน้อยกว่าที่เคย อาจจะใช้ระบบการคำนวณค่าใช้จ่ายรายวัน ว่าเราใช้เงินต่อสัปดาห์เท่าไหร่ แล้วพกพอดีเท่านั้น และคอยเตือนตัวเองว่านี่คือเงินที่เราต้องใช้ทั้งสัปดาห์นะ ไม่ใช่ใช้หมดใน 1 วัน แล้วถอนเงินเป็นรายสัปดาห์แทนที่จะถอนเมื่อเงินหมด ก็จะสามารถช่วยคุณออมเงินได้เช่นกันครับ
"งดใช้บัตรเครดิต"
1
จำกัดการใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระค่าใช้จ่ายประจำเดือนเท่านั้น แทนที่จะใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าครับวิธีการ: ใช้บัตรเครดิตเพื่อการชำระค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ผ่อนสินเชื่อ หรือหากต้องซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ ราคาแพง เช่นต้องซื้อตู้เย็นใหม่ เครื่องซักผ้า ฯลฯ ถึงใช้บัตรเครดิต
4
ไม่ใช้บัตรเครดิตในการช็อปปิ้งสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าจุกจิกครับ เพราะแบบนั้นจะทำให้เราเผลอใช้บัตรเครดิตบ่อยมาก ทำให้มียอดจุกจิกเต็มไปหมด แต่ยอดจุกจิกเนี่ยล่ะครับ รวมๆ กันแล้วมันกลับเยอะ เผลอๆ จะจ่ายไม่ไหวเอา ก็จ่ายได้แค่ขั้นต่ำ ทำให้เราต้องเสียดอกเบี้ยตามมา ใช้แต่พอดีนะครับ จะได้มีเงินออมกันครับ
"เก็บแบงค์ 50 บาท"
เป็นวิธีออมเงินที่ง่ายอีกอย่างที่เราสามารถทำได้วันนี้เลยนะครับ เก็บแต่แบงก์ 50 บาทครับ วิธีการ: ได้แบงก์ 50 บาทมาเมื่อไหร่ เก็บเมื่อนั้น ซุกไว้ในมุมมืดของกระเป๋าตังค์ กลับบ้านก็เอาไปหยอดใส่กระปุก หรือกระป๋องที่เราเตรียมไว้ พอกระปุกเต็ม หรืออาจจะครบระยะเวลาที่เรากำหนด ก็นำเงินส่วนนี้ไปฝากธนาคาร ง่ายม้๊ยล่ะครับ
2
สมัยนี้แบงก์ 50 บาทก็เรียกได้ว่ายังเป็นแบงก์ที่ได้ไม่บ่อย คนใช้ไม่เยอะ คิดซะว่าเป็นของหายาก ต้องเก็บรักษา ถึงเดือน หรือทุก 2-3 เดือนก็เอาไปฝากธนาคาร บางคนใช้วิธีนี้เก็บเงินได้เป็นหมี่นๆ นำเงินเก็บไปเที่ยวต่างประเทศได้เลยก็มีครับ
"เปิดบัญชีฝากประจำระยะยาว"
หากเราเป็นคนที่ใจอ่อนกับตัวเอง วิธีการบังคับตัวเองให้ออมเงินอีกอย่าง คือการเปิดบัญชีเงินฝากประจำระยะยาว อาจจะเริ่มที่ 5 ปีก่อน แล้วค่อยขยับขยายก็ได้ วิธีการ: เปิดบัญชีเงินฝากประจำ เริ่มต้นที่ฝากประจำเป็นเวลา 5 ปี แล้วฝากเงินจำนวนเท่าๆ กันในบัญชีนั้น ทุกๆ เดือน โดยใช้ระบบการตัดยอดเงินอัตโนมัติตามจำนวน และระยะเวลาที่เราต้องการ แล้วนำฝากเข้าบัญชีฝากประจำทุกเดือน
เพราะว่าบัญชีเงินฝากประจำเราจะไม่สามารถนำเงินออกมาได้จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลา การตั้งให้มีการตัดเงิน โอนเงินอัตโนมัติจะทำให้เราไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องไปโอนเงิน หรือฝากเงินด้วยตัวเอง ไม่ต้องทำบัตร ATM ด้วยครับ แค่นี้เราก็มีเงินเก็บทุกๆ เดือนแน่นอนแล้วครับ
"หยอดกระปุกออมสิน"
หยอดกระปุก เรื่องเด็กๆ แต่บางคนหยอดกระปุกก็จริงแต่ก็แคะกระปุกมาใช้ตลอด แบบนี้ก็เก็บเงินไม่อยู่เหมือนกันนะครับ จริงๆ แล้วการหยอดกระปุก จะให้ดี เราควรทำการแบ่งกระปุกออกเป็นหลายๆ จุดประสงค์ แต่ละกระปุกก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกันไปครับ
วิธีการ: หากระปุกออมสินมาหลายๆ ใบ นำกระดาษเขียนจุดประสงค์การเก็บเงินของแต่ละกระปุกมาแปะไว้ที่กระปุก เช่น สำหรับเที่ยวสงกรานต์ปี 59 ซื้อนาฬิกาใหม่ ซื้อโทรศัพท์ใหม่ ซื้อแล็บท็อปใหม่ เป็นต้น อย่าลืมแบ่ง 1 กระปุกไว้สำหรับการออมเงินด้วยนะครับ
คุณอาจจะแบ่งหยอดกระปุก วันละ 10-20 บาทต่อกระปุก หยอดโดยแบ่งจากจำนวนเงินที่เหลือใช้รายวัน รายสัปดาห์ก็ได้ครับ ทีนี้ก็มีเงินสะสมเพื่อใช้ซื้อโน่นนี่แล้วยังมีแล้วแบ่งเงินหยอดกระปุกสำหรับการออมเงินอีกด้วยครับ ได้ประโยชน์รอบตัวเลย
"เอาชนะใจตัวเอง"
สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการออมเงิน คิดว่าคงเป็นการเอาชนะใจตัวเอง ไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่เอาเงินในกระปุกออกมาใช้จ่าย แต่จะทำยังไงล่ะถึงจะบังคับตัวเอง สร้างวินัยในการออมเงินใหม่ได้? วิธีการ: สร้างเป้าหมายระยะยาวสำหรับการออมเงินให้ตัวเอง ว่าเราต้องการออมเงินเพื่ออะไร ซื้อบ้าน ซื้อรถ ดูแลครอบครัว ซื้อคอนโด ฯลฯ มีเป้าหมายชัดเจนในการออมเงิน แล้วใช้เป้าหมายนี้เตือนตัวเองว่าเราต้องออมเงินไปเพื่ออะไร
หากเรามีเป้าหมายชัดเจนสำหรับการออมเงิน ว่าเราต้องการออมเงินไปเพื่ออะไร แม้ว่าจะเป็นการออมเงินเพื่อการมีเงินสะสม เพื่ออนาคตที่สุขสบาย ก็ยังเป็นเป้าหมายที่ดีครับ แล้วเราก็ใช้เป้าหมายเหล่านี้แหละมาเตือนตัวเองเวลาเราคิดจะแคะกระปุกเอาเงินไปใช้ ว่าเราอุตส่าห์อดทนออมเงินเพื่ออะไรกันแน่ พอเรานึกถึงเป้าหมายแล้ว รับรองว่าสามารถเอาชนะใจตัวเองได้แน่นอนครับ
1
"ไม่ยึดติดแบรนด์เนม"
พวกเสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ของแบรนด์เนมก็ได้นะครับ เลือกยี่ห้อที่ราคาดี คุณภาพดี คุ้มค่ากับราคา ใช้งานได้นานๆ จะดีกว่าเลือกของแพงๆ เพราะจะได้ใช้แล้วดูดีครับ วิธีการ: เลือกสินค้า ของใช้ที่คุณภาพ และความเหมาะสมของคุณภาพและราคา โดยใช้จุดประสงค์ที่เราต้องการซื้อเป็นหลัก
หากเราเป็นนักธุรกิจ อาจจะลงทุนเพื่อสั่งตัดชุดทำงานชุดเก่งสัก 2 ชุดที่ดูดี เวลาเราต้องออกไปพบลูกค้า หรือหุ้นส่วน หรือเข้าประชุม ส่วนนอกจากนั้น อาจจะซื้อเสื้อโปโล หรือเสื้อเชิ้ตที่ดูดี ไม่ได้ต้องแพงใส่วันทำงานธรรมดาแทนก็ได้ครับ ของแบบนี้มิกซ์แอนด์แมทช์ได้อยู่แล้ว ทีนี้ก็มีเงินเก็บได้อีกเพียบเลยครับ
"ลดค่าใช้จ่าย"
วันๆ หนึ่ง คนทำงานต้องกินต้องใช้ กาแฟ ชา ขนม นม เนย ของขบเคี้ยวแก้ง่วง ถ้าซื้อบ่อย ซื้อประจำ ก็เปลืองเงิน อะไรลดได้ก็ลดดีกว่าครับ ถือซะว่าเป็นการลดน้ำหนักไปในตัวด้วยเลยวิธีการ: ลดการซื้อชา กาแฟ เปลี่ยนมาซื้อชาเป็นกล่อง กาแฟผงชงเอง ลดปริมาณขนมขบเคี้ยวที่รับประทานประจำวัน วางแผนอาหารการกินของตัวเอง
จริงๆ แล้วหากเราทำกับข้าวเองอยู่แล้ว เราก็สามารถทำกับข้าวเพิ่มตอนกลางคืน แล้วนำที่เหลือใส่กล่องมารับประทานที่ออฟฟิศแทนก็ได้นะครับ เป็นการลดค่าใช้จ่าย แถมได้กินคลีน กินอาหารดีๆ อีกด้วย แล้วก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มสิ่งที่เราทำประจำวันแต่อย่างใดเลยด้วยครับ
จริงๆ แล้วคนทุกคนสามารถเก็บออมเงินได้ทุกคนนะครับ เพียงแค่เราจะต้องตั้งใจสร้างวินัยในการออมเงินของเราให้ได้เสียก่อน ตั้งใจว่าจะเก็บเงินจริงจัง ตั้งเป้าหมายการออมเงินให้ตัวเอง แล้วใช้เป้าหมายนี้ล่ะครับในการเตือนตัวเอง เราก็จะสามารถเก็บออมเงินได้อย่างแน่นอน ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จกับการออมเงินนะครับ
สุดท้ายนี้ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนเพื่อก้าวกันต่อไปและฉลาดในการใช้เงินนะครับ
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอบทความโดย :
"สาระหลากด้าน"
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านนะครับขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านนะครับ ขอบคุณครับ😊🙇"
โฆษณา