Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เจาะเวลาหาอดีต
•
ติดตาม
15 มี.ค. 2020 เวลา 10:57 • ประวัติศาสตร์
• ขุนหลวงหาวัด •
พระเจ้าอุทุมพรทรงเป็นวีรบุรุษที่ถูกลืม หลังเสียกรุงทรงพระผนวชประทับอยู่กรุงอมรปุระ ประเทศพม่าและสวรรคตในสมณเพศ
พระราชพงศาวดารพม่า ปรากฏนามพระเจ้าอุทุมพร
กษัตริย์ผู้เสียสละราชบัลลังก์ ทรงเป็นเชลยศึกถูกต้อนไปยังประเทศพม่า และ มรณะภาพในต่างแดน หนึ่งชีวิตที่หายไปในประวัติศาสตร์ไทย
ความสำคัญของพระเจ้าอุทุมพรถูกลดทอนลงด้วยพระองค์ถูกตัดสินว่าไม่เป็นผู้เห็นแก่ประโยชน์ของชาติบ้านเมือง เพราะไม่ยอมลาพระผนวชออกมารบป้องกันพระนคร
จนดูประหนึ่งว่าการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่กรุงปราศจากพระเจ้าอุทุมพรมาช่วยบัญชาการรบ
แม้จะมีขุนนางข้าราชชาวบ้านมากมาย ขอร้องให้พระเจ้าอุทุมพรทรงลาพระผนวชเพื่อมาช่วยบัญชาการรบ แต่พระภิกษุผู้นั้นปฎิเสธและไม่ขอเข้าร่วมกิจการบ้านงานเมืองอันใดอีก
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
1
หนึ่งปีก่อนพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคตนั้น พระองค์ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าอทุมพร ซึ่งครั้งนั้นดำรงค์พระอิสริยยศเป็น’กรมขุนพรพินิต’ พระอนุชาของเจ้าฟ้าเอกทัศ ทรงแต่งตั้งให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้าหรือพระมหาอุปราช)
แต่เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตทูลว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี(พระเจ้าเอกทัศ) พระเชษฐา ยังคงอยู่ควรพระราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลน่าจะสมควรกว่า
1
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงตรัสว่า กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้น เป็นวิสัยพระทัยปราศจากความเพียร ถ้าจะให้ดำรงฐานานุศักดิ์อุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่ง ก็จะเกิดวิบัติฉิบหายเสีย เห็นแต่กรมขุนพรพินิจที่ประกอบไปด้วยสติปัญญาฉลาดเฉลียว ควรจะดำรงเศวตฉัตรรักษาแผ่นดินได้ แล้วรับสั่งกับกรมขุนอนุรักษ์มนตรีว่า "จงไปบวชเสีย อย่าอยู่ให้กีดขวาง"
• ทรงพระผนวชครั้งที่ 1
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2301 พระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ ระหว่างนั้นกรมขุนอนุรักษ์มนตรี(พระเชษฐา) ขอทรงรีบลาพระผนวช เสด็จกลับมาประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์อย่างกระหายในราชบัลลังก์
ต่อมาพระเจ้าอุทุมพรก็เข้าใจอย่างแน่แท้ว่าผู้เป็นพระเชษฐาทรงมีพระทัยต้องการในราชบัลลังก์อย่างมาก จึงเสด็จถวายราชสมบัติแก่กรมขุนอนุรักษ์มนตรีให้เป็นสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แล้วเสด็จออกผนวช ประทับ ณ วัดประดู่ทรงธรรม
หลังจากเจ้าฟ้าอุทุมพรเสด็จพระราชดำเนินออกไปทรงผนวชแล้ว เหล่าขุนนางผู้ใหญ่บางคน เช่น เจ้าพระยาอภัยราชา และพระยาเพชรบุรี ไม่เห็นด้วย ถ้าปล่อยให้พระเจ้าเอกทัศบริหารบ้านเมือง จะเป็นภัยนำประเทศชาติสู่ความฉิบหาย
1
ด้วยความรักต่อพระเชษฐา พระเจ้าอุทุมพรจึงเสด็จไปในพระราชวังแล้วนำความกราบทูลพระเชษฐา ด้วยเกรงว่าเมื่อทำการสำเร็จแล้วผู้ก่อการอาจจับทั้งพระเชษฐาและพระองค์สำเร็จโทษ ขึ้นครองราชย์เสียเอง จากนั้นเสด็จกลับไปยังวัดประดู่ทรงธรรม
จนเมื่อ พ.ศ. 2302 พม่ายกทัพเข้ามาใกล้พระนคร บรรดาขุนนางราษฎรทั้งหลายจึงพากันไปกราบทูลวิงวอนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรให้ลาพระผนวชออกมาเพื่อช่วยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศป้องกันพระนครศรีอยุธยา โดยสัญญาว่าหากรบพม่าชนะจะให้พระเจ้าอุทุมพรกลับมาเป็นกษัตริย์
พระเจ้าอทุมพรทรงลาผนวชมาทรงบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง โดยการปรับปรุงการตั้งรับข้าศึก จนพม่าไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ ต้องยอมเลิกทัพกลับไป เพราะพระเจ้าอลองพญาทรงประชวรระหว่างศึกและสวรรคตทำให้ทัพพม่าล่าถอยกลับไป
• ทรงพระผนวชครั้งที่ 2
เมื่อพม่าเลิกทัพไปจากกรุงศรีอยุธยา
วันหนึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์(พระเจ้าเอกทัศ)โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าอุทุมพรเข้าเฝ้าในพระราชวัง
ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงถอดพระแสงดาบพาดไปบนพระเพลา (ชักดาบออกจากฝักเตรียมไว้)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทอดพระเนตรเห็นดังนั้นก็เสียใจพระทัยเป็นอย่างมาก
1
จึงเสด็จออกไปทรงพระผนวชยังวัดโพธิ์ทองหยาด ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดอ่างทอง และไปประทับที่พระตำหนักคำหยาด ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศผู้เป็นพระราชบิดาสร้างไว้เป็นที่ประทับแรมเมื่อเสด็จประพาสเมืองอ่างทอง ราษฎรจึงพากันขนานพระนามพระองค์ว่า "ขุนหลวงหาวัด" จากนั้นเสด็จฯ กลับมาประทับ ณ วัดประดู่ทรงธรรมตามเดิม
2
พระตำหนักคำหยาด ภาพจาก: https://www.sanook.com/travel/1418657/
ครั้นเมื่อ พ.ศ.2309 มังมหานรธาและเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่ายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา การยกกองมาตีครั้งนี้ได้เตรียมพร้อมตั้งแต่ พ.ศ. 2307 และมีการกำหนดเส้นทางการเข้าตีมาอย่างดี โดยแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางใต้ และเส้นทางเหนือ
1
เมื่อกองทัพของกรุงศรีอยุธยาที่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศให้ออกไปรับศึก พ่ายแพ้ถอยทัพกลับมายังกรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าก็ยกทัพเข้าประชิดพระนคร
เวลานั้นสมเด็จพระเจ้าเอกทัศจึงพระราชตรัสให้นิมนต์พระราชาคณะจากวัดต่าง ๆ นอกพระนครให้เข้ามาอยู่ในพระนครศรีอยุธยา รวมถึงพระเจ้าอุทุมพรซึ่งทรงพระผนวช จึงได้เสด็จฯ เข้ามาประทับ ณ วัดราชประดิษฐาน
วัดราชประดิษฐาน ภาพจาก: https://www.edtguide.com/travel/89813/wat-rat-praditthan
ขุนนางและราษฎรจึงชวนกันไปกราบทูลให้ลาพระผนวชมาช่วยรบพม่า แต่ครั้งนี้เจ้าฟ้าอุทุมพรทรงไม่ยอมลาพระผนวช แม้ราษฎรจะเขียนหนังสือใส่บาตรจนเต็มตอนออกบิณฑบาตรก็ไม่ยอมทรงลาพระผนวช
1
จนกระทั่ง วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 พม่าเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา พม่าได้เผาทำลายเมืองและกวาดต้อนผู้คนไปยังค่ายพม่า พระเจ้าอุทุมพรซึ่งทรงพระผนวชอยู่และประทับอยู่ที่วัดราชประดิษฐานตามข้อสันนิษฐานน่าจะถูกพม่ากวาดต้อนไปไว้ที่ค่ายพร้อมกับพระวงศานุวงศ์
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระเจ้าอุทุมพรได้ทรงถูกบังคับให้ลาพระผนวช และถูกกวาดต้อนไปที่พม่าพร้อมด้วยเจ้านายและเชลยชาวไทยอื่น ๆ สำหรับเส้นทางกวาดต้อนเชลยชาวกรุงศรีอยุธยาไปยังรัตนปุระอังวะนั้น มีการกวาดต้อน 2 เส้นทาง คือเส้นทางเมืองอุทัยธานีกับเส้นทางเมืองกาญจนบุรี เพื่อไปบรรจบกันที่เมืองเมาะตะมะ
พระเจ้าอุทุมพรและพระราชวงศานุวงศ์ รวมทั้งเชลยชาวอยุธยาและหัวเมืองใกล้เคียง ได้ถูกกวาดต้อนไปยังกรุงรัตนปุระอังวะ ก่อนถูกส่งไปอยู่ตามเมืองต่าง ๆ
1
• ทรงพระผนวชครั้งที่ 3 (สุดท้าย)
เมื่อเดินทางไปถึงเมืองอังวะ เนเมียวเสนาบดีได้นำเข้าเฝ้าพระเจ้ามังระ พระเจ้ามังระใด้ให้พระราชวงศ์ของกรุงศรีอยุธยา ย้ายไปยังพระราชวังแห่งใหม่ในกรุงอมรปุระ ส่วนพระเจ้าอุทุมพรไปประทับจำพรรษาที่ ปองเลไต๊ (ตึกปองเล) ปัจจุบันคือ วัดปองเล ในย่านตลาดระแหง กรุงอมรปุระ
กรุงอมรปุระ ภาพจาก: https://www.hippoontour.com/program/face/7286?curr=
พระเจ้าอุทุมพรทรงพระผนวชและประทับอยู่กรุงอมรปุระจนถึง พ.ศ. 2339 จึงสวรรคตในสมณเพศ
ส่วนสถานที่สวรรคตและสถานที่ถวายพระเพลิง เอกสารการบันทึกราชสำนักของพม่า พร้อมด้วยภาพเขียน บันทึกโดยราชเลขาราช‘จอว์เทง’ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าปดุง มีภาพที่บรรยายเป็นภาษาพม่า ระบุว่า พระบรมศพนั้นได้ถวายพระเพลิงที่ ลินซินกง หรือ สุสานล้านช้าง ซึ่งเป็นบริเวณที่พระเจ้ามังระพระราชทานให้เชลยชาวยวน (เชียงใหม่) และชาวอยุธยา(พม่าจะเรียกคนอยุธยาว่า โยเดีย yodia) รวมระยะเวลาที่ทรงพระผนวชอยู่ในกรุงรัตนปุระอังวะและกรุงอมรปุระจนสวรรคต เป็นเวลา 19 ปี
• การค้นพบหลักฐาน
ภาพจาก: https://www.ryt9.com/s/prg/1895439
ไม่นานมานี้ทีมนักโบราณคดีไทยและพม่าลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณสุสานที่ประดิษฐานพระสถูป บริเวณสุสานล้านช้าง อมรปุระ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
หลักฐานเหล่านี้นักโบราณคดีค้นพบสถูปเจดีย์เมื่อพิจารณารูปพรรณสัณฐานไม่ได้เป็นแบบมอญ หรือพม่า คนเฒ่าคนแก่ในย่านนั้นก็เรียกสถูปนี้ว่า "โยเดียเซดี" (Yodia Zedi) แปลว่า สถูปอยุธยา
ภาพวาดหมูบ่านโยเดีย
เชื่อว่าเป็นของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ข้อชี้ชัดเรื่องสถูปบรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร เพราะ พบหลักฐานที่บ่งชี้ได้คือสุสานลินซินกง เป็นสุสานสำหรับชนชั้นสูงชาวต่างชาติเท่านั้น มีอิฐที่ใช้สร้างสถูปเป็นชนิดเดียวกับสร้างเมืองอมรปุระ ภาชนะทรงบาตรที่ใช้บรรจุพระบรมอัฐินั้น เป็นเครื่องเคลือบดินเผายุคอมรปุระ ซึ่งเป็นยุคที่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสวรรคต
ลินซินกง
พบหมู่บ้านที่อยู่รอบเมืองมัณฑะเลย์ ในปัจจุบัน มีชื่อว่า "มินตาซุ" แปลว่า "เยี่ยงเจ้าชาย" และก็ยังคงมีหลักฐานปรากฏถึงวัฒนธรรมไทยอยู่ เช่น ประเพณีการขนทรายเข้าวัดในวันสงกรานต์ หรือการตั้งศาลบูชาพ่อปู่ หรือ หัวโขน เป็นต้น แม้ผู้คนในหมู่บ้านนี้จะไม่สามารถพูดไทยหรือมีวัฒนธรรมไทยเหลืออยู่แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นที่รับรู้กันว่าบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นเชลยมาจากอยุธยา ปัจจุบันคนไทยกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า "โยเดีย" (Yodia)
ต่อมาเมื่ออังกฤษยึดพม่าในปี พ.ศ. 2492 พบหนังสือพงศาวดารเล่มนี้อยู่ในหอหลวงพระราชวังมัณฑะเลย์ มีชื่อว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" ต้นฉบับเดิมเป็นภาษามอญ ได้นำมาไว้ที่หอสมุดเมืองย่างกุ้ง ต่อมาหอวชิรญาณได้ขอคัดลอกมาแปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยใช้ชื่อว่า “คำให้การชาวกรุงเก่า”เพราะเห็นว่าเป็นคำให้การของคนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปหลายคน ไม่ใช่พระเจ้าอุทุมพรเพียงพระองค์เดียว
สรุปคือ พงศาวดารพม่าที่อยู่ในหอหลวงพระราชวังเมืองมัณฑะเลย์ หนังสือ’คำให้การของขุนหลวงหาวัด’ และหนังสือ’คำให้การชาวกรุงเก่า’ ก็คือบันทึกชิ้นเดียวกันนั่นเอง
❤️กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏🙏ขอบคุณครับ🙏🙏
อ้างอิง
- ขุนหลวงหาวัด กษัตริย์ผู้เสียสละราชย์
- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
-
https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_832654
-
https://www.ryt9.com/s/prg/1895439
เครดิต:ภาพจากละครศรีอโยธยา
39 บันทึก
160
26
31
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อยุธยายอยศยิ่งฟ้า
39
160
26
31
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย