17 มี.ค. 2020 เวลา 12:24 • ประวัติศาสตร์
”ตะแลงแกง” จุดประหารชีวิตนักโทษกบฏคิดล้มราชบัลลังก์และเสียบประจานในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ภาพจาก:ภาพยนตร์เรื่อง’สุริโยทัย’
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาบริเวณแห่งนี้ใช้เป็นที่ประหารชีวิตเสียบหัวประจานนักโทษในคดีล้มล้างราชบัลลังก์ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลที่คิดจะทำการใหญ่ต่อไปในภายภาคหน้า
ภาพจาก:ภาพยนตร์เรื่อง’สุริโยทัย’
•หลักฐานจากพงศาวดาร•
ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111)
ผู้สมคบคิดร่วมมือกับพระศรีศิลป์ คิดทำการกบฏล้มราชบัลลังก์ ถูกพระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจับตัวได้ จากนั้นนำตัวไปประหารชีวิตและเสียบหัวประจานที่’ตะแลงแกง’
ภาพจาก:ภาพยนตร์เรื่อง’สุริโยทัย’
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
(พ.ศ.2172-2194)
พระอาทิตยวงศ์ได้คบคิดกับกลุ่มขุนนางที่ยังจงรักภักดีก่อการกบฏขึ้น นำกำลังบุกเข้าพระราชวังหมายจับสมเด็จพระเจ้าปราสาททองปลงพระชนม์ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงรู้ทันถึงแผนการณ์ จึงหนีขึ้นเรือมาลอยลำอยู่บริเวณฉนวนน้ำฟากแม่น้ำลพบุรี ต่อมาพระองค์ทรงบัญชาให้ไพร่พลเข้าจับกุมพระอาทิตยวงศ์พร้อมพวกสมคบคิด คุมตัวไปประหารชีวิตและเสียบหัวประจานที่’ตะแลงแกง’
ด้วยเหตุที่ย่านนี้อยู่ใจกลางพระนครใกล้กับ ศาลหลักเมือง จึงมีผู้คนหนาแน่น มีตลาด และเป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนในสมัยนั้น บริเวณนี้จึงเหมาะที่จะทำการเสียบประจานให้ผู้คนเกิดความกลัวและไม่กล้าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
ภาพจากกูเกิ้ลแมพและหนังสืออยุธยาที่ไม่คุ้นเคย
รวมทั้งตะแลงแกงอยู่ใกล้กับคุ้มขุนแผนหรือคุกเก่า จากภาพ จึงสะดวกในการนำนักโทษมาทำการประหารในบริเวณแห่งนี้
ย่านตะแลงแกงในปัจจุบัน ภาพจากกูเกิ้ลแมพ
แม้ในอดีตจะมีเรื่องราวอันน่าสยดสยองกับย่านตะแลงแกง แต่ในปัจจุบันบริเวณนี้ก็ไม่หลงเหลือความน่ากลัวอีกแล้ว เป็นเพียงแยกปกติลักษณะสี่แพร่งหรือสี่แยกมีวงเวียนตรงกลาง ซึ่งผู้คนใช้สัญจรกันไปมา แต่หากใครลองมาเดินเล่นช่วงกลางดึก ก็อาจไม่แน่นะครับบ...
❤️กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบคุณครับ🙏
อ้างอิง:
- หนังสืออยุธยาที่ไม่คุ้นเคย
โฆษณา